นิทรรศการภาพวาดประกอบพิธีกรรมของชาวเผ่าเย้า "ต้ม ต้อง เมี้ยน"
นิทรรศการภาพวาดประกอบพิธีกรรมของชาวเผ่าเย้า "ต้ม ต้อง เมี้ยน" โดยสำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดแสดงระหว่างวันที่ 9 ตุลาคม 2566 - 10 มกราคม 2567 ณ นิทรรศสถาน อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นิทรรศการ ภาพวาดประกอบพิธีกรรมของชาวเผ่าเย้า "ต้ม ต้อง เมี้ยน"
ผู้รับผิดชอบนิทรรศการ สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ
ระยะเวลาที่จัดแสดง วันที่ 9 ตุลาคม 2566 – 10 มกราคม 2567
ห้องนิทรรศการ นิทรรศสถาน อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแนวความคิด
สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ ขอเชิญชมนิทรรศการภาพวาดประกอบพิธีกรรมของชาวเผ่าเย้า "ต้ม ต้อง เมี้ยน" ณ นิทรรศสถาน อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างวันที่ 9 ตุลาคม 2566 – 10 มกราคม 2567ชาวเย้ามีคติความเชื่อทางศาสนาที่ได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิเต๋า ทั้งในเรื่องของเทพเจ้าและพิธีกรรม ในนิทรรศการครั้งนี้จัดแสดงภาพวาดประกอบพิธีกรรมในเชิงสุนทรียศาสตร์ทางศิลปะ เพื่อเข้าใจชีวิต พิธีกรรม ความเชื่อทางศาสนาของชาวเย้า ภาพวาดแสดงให้เห็นรูปแบบศิลปะที่ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศจีนซึ่งภาพเหล่านี้เป็นดังตัวแทนที่จะเล่าเรื่องประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและศาสนา
"ภาพวาดเทพเจ้าที่ชาวเย้าเคารพนับถือ...จะถูกนำแขวนเฉพาะเมื่อมีการประกอบพิธีกรรมสำคัญเท่านั้น เนื่องจากมีความเชื่อว่าเทพเจ้าได้สถิตอยู่ในภาพเหล่านั้น"
เนื้อหาภายในนิทรรศการเสนอตำนาน ลายปักผ้า พิธีกรรมทางศาสนา และที่สำคัญคือภาพวาดเทพเจ้าที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมที่จะสื่อให้เราเห็นถึงภาพรวมของชีวิตและพิธีกรรมของชาวเย้าที่ได้ใช้ ภาพเหล่านี้เพื่อสื่อสารกับโลกที่เราไม่สามารถมองเห็นโดยผ่านนักบวชผู้ทำพิธี เพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้าย นำความเจริญมาสู่ครอบครัวและเป็นการดำเนินตามเส้นทางจิตวิญญาณอันเป็นผลดีแก่สมาชิกในครอบครัวของตน ทั้งนี้ นิทรรศการยังจะแสดงให้เห็นถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในพิธีกรรมอีกด้วย
เปิดให้เข้าชมทุกวัน จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 17.00น.
ปิดให้บริการ เสาร์,อาทิตย์ และวันหยุดราชการ
ข่าวประชาสัมพันธ์ : Chula Museum