^ Back to Top

นิทรรศการ ເບິ່ງຮູບແຕ້ມ ແນມຮູບເງົາ ເລົ່າສັງຄົມ : เบิ่งรูปแต้ม แนมรูปเงา เล่าสังคม

นิทรรศการ ເບິ່ງຮູບແຕ້ມ ແນມຮູບເງົາ ເລົ່າສັງຄົມ : เบิ่งรูปแต้ม แนมรูปเงา เล่าสังคม

นิทรรศการ ເບິ່ງຮູບແຕ້ມ ແນມຮູບເງົາ ເລົ່າສັງຄົມ : เบิ่งรูปแต้ม แนมรูปเงา เล่าสังคม : Art and Social History in Laos from the 1960s to the Present ผลงานโดยศิลปินลาว กงพัด หลวงลาด (Kongphat Luangrath), ไซสงคาม อินดวงจันที (Xaisongkham Induangchanthy), บุนโปน โพทิสาน (Bounpaul Photyzan), มาย จันดาวง (May Chandavong) และ อานูโลม สุวันดวน (Anoulom Souwandouane) จัดแสดงระหว่างวันที่ 3 - 25 เมษายน 2562 ณ ห้องนิทรรศการหมุนเวียน ชั้น1 พิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : CU. Museum

นิทรรศการ ເບິ່ງຮູບແຕ້ມ ແນມຮູບເງົາ ເລົ່າສັງຄົມ
          เบิ่งรูปแต้ม แนมรูปเงา เล่าสังคม

ศิลปะกับประวัติศาสตร์สังคมลาวตั้งแต่ทศวรรษ 1960 - ปัจจุบัน
ผู้จัด ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
          Mekong Contemporary Art Foundation
          Mekong Art Initiative
ศิลปิน กงพัด หลวงลาด
          ไซสงคาม อินดวงจันที
          บุนโปน โพทิสาน
          มาย จันดาวง
          อานูโลม สุวันดวน
ลักษณะงาน จิตรกรรมและภาพถ่าย
ระยะเวลาที่จัดแสดง วันที่ 3-25 เมษายน พ.ศ.2562
ห้องนิทรรศการ ห้องนิทรรศการหมุนเวียน ชั้น1 อาคารพิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แนวความคิด
“ความพร่ามัวที่ชิดใกล้” เป็นคำที่นักปรัชญาชาวอิตาเลียนนามจิออร์จิโอ อกัมเบนใช้บรรยายด้านกลับของภาวะสมัยใหม่ ซึ่งศิลปินร่วมสมัยอย่างแท้จริงเท่านั้นจึงจะแลเห็น ศิลปินในโลกสมัยใหม่เหล่านี้ไม่ได้เพ่งมองแสงสว่างแห่งศตวรรษใหม่ แต่กลับมุ่งพิจารณาเงามืดของความรุ่งโรจน์

ผลงานของศิลปินลาวทั้ง 5 คนในนิทรรศการนี้ชี้ชวนให้เราพิจารณา “เงา” ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในบริบทประวัติศาสตร์ของการต่อสู้ฝ่าฟันสู่ความเป็นสมัยใหม่ของลาว (ดังในคำภาษาลาวที่ว่า “ทันสมัย” หรือการตามให้ทันห้วงเวลาของปัจจุบันขณะ) ภาพการ์ตูนลายเส้นของอานูโลม สุวันดวนให้ภาพร่างของสังคมลาวภายใต้เงื้อมเงาของจักรวรรดินิยมอเมริกาในช่วงทศวรรษที่ 1970 ด้วยน้ำเสียงยั่วล้อเสียดสี ขณะที่ภาพเขียนของกงพัด หลวงลาดหวนย้อนกลับไปเล่าฉากชีวิตในเขตปลดปล่อยตลอดจนผลพวงสงครามและการปฏิวัติ ภาพเขียนของมาย
จันดาวงนำเสนอภาพอุดมคติของผู้หญิงและภูมิทัศน์ชนบทเพื่อตอบสนองอารมณ์โหยหาอดีตในโลกยุคใหม่ ขณะงานของศิลปินรุ่นใหม่ก็พบว่าอดีตยังคงทอดเงาอยู่บนวิถีการสร้างสรรค์ศิลปะของพวกเขา ดังปรากฏชัดในภาพถ่ายของบุญโปน โพทิสานที่บันทึกภาพซากปรักสงครามจากการทิ้งระเบิดของสหรัฐอเมริการะหว่างปีค.ศ. 1964-1973 และสารคดีของไซสงคาม อินดวงจันทีซึ่งนำเสนอความทรงจำทางโสตสัมผัสของการขับลำในราชสำนักหลวงพระบาง เมื่อพิจารณาในภาพรวมแล้ว ผลงานศิลปะเหล่านี้ได้ประกอบกันขึ้นเป็นจดหมายเหตุของประวัติศาสตร์สังคมลาวที่ชักชวนให้ผู้ชมสนใจประสบการณ์ผ่านพบจากอดีตและร่องรอยอันเลือนลางของอดีตในปัจจุบัน

เปิดให้เข้าชมทุกวัน จันทร์ – ศุกร์ เวลา 9.00 – 16.30น.
ปิดให้บริการวันเสาร์,อาทิตย์ และวันหยุดราชการ

...................................................

นิทรรศการ ເບິ່ງຮູບແຕ້ມ ແນມຮູບເງົາ ເລົ່າສັງຄົມ
          Art and Social History in Laos from the 1960s to the Present

Organizer Department of Thai Language, Faculty of Arts, Chulalongkorn University
          Mekong Contemporary Art Foundation
          Mekong Art Initiative
Artists Kongphat Luangrath
          Xaisongkham Induangchanthy
          Bounpaul Photyzan
          May Chandavong
          Anoulom Souwandouane
Artwork Type Contemporary Art
Exhibition Period April 3 – 25, 2019
Venue 1 st Floor exhibition area, Chulalongkorn University Museum

Concept
An “intimate obscurity” is a word the Italian philosopher Giorgio Agamben uses to describe the flip side of modernity discerned by the genuine contemporary. Artists in the contemporary world, according to Agamben, see not the lights of the new century but the shadows of its glory.

Artworks by all five Lao artists featured in this exhibition offer an intimate look at such shadows in the course of the country’s struggles to become modern (than samai or “keeping up with the present time” in a Lao expression). Anoulom  Souwandouane’s hand-drawn comics provide a satirical sketch of Lao society under American imperialism in the early 1970s, while Kongphat Luangrath’s paintings retrospectively depict lives in the liberated zone and the consequences of war and revolution. In between, May Chandavong’s paintings portray an idealized version of Lao femininity and landscape as a response to modern-day nostalgia. For the younger generation of Lao artists, the historical past continues to cast a shadow over their artistic practices, as evident in Bounpaul Photyzan’s photographic mediation of war debris in the wake of the U.S. bombing from 1964-1973 and Xaisongkham Induangchanthy’s documentation of aural memories of Luang Prabang court performance. Together, these artworks constitute an archive of Lao social history that brings our attention to the lived experience of the past and its spectral trace in the presen t.

Chulalongkorn University Museum open, free of charge.
From Mondays to Fridays, 9.00 a.m. to 4.30 p.m.

ข่าวประชาสัมพันธ์ : พิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : CU. Museum

Exhibition date: 
3 Apr 2019 - 09:00 to 25 Apr 2019 - 16:30