^ Back to Top

นิทรรศการ “The Santiniketan Inspiration”

นิทรรศการ “The Santiniketan Inspiration”

นิทรรศการ “The Santiniketan Inspiration” ผลงานโดยอดีตศึกษิตมหาวิทยาลัยวิศวภารตี จำนวน 20 ท่าน ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ จัดแสดงระหว่างวันที่ 17 ตุลาคม - 21 ธันวาคม 2559 และจะมีพิธีเปิดในวันที่ 14 ตุลาคม 2559 เวลา 17.00 น. ณ นิทรรศสถาน อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นิทรรศการ  “The Santiniketan Inspiration”
ศิลปิน ผลงานศิลปะของอดีตศึกษิตมหาวิทยาลัยวิศวภารตี จำนวน 20 ท่าน ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
         อาทิ FUA HARIPITAK, JOGEN CHOWDHURY, ALONGKORN LAUWATTHANA,
         ARGHYA PRIYA MAJUMDAR, ARKOM THONGPRONG, GOUTAM DAS,
         JATUPORN KERDPIBOON, JUSTIN MILLS, KIM INSOOK, KRISANA CHAVANAKUNAKORN,
         NAWAT LERTSAWAENGKIT, PRADAB TEMDEE, SISIR SAHANA, SIVADOL SITIPOL,
         SUCHART TAOTONG, TAWATCHAI SOMKONG, THATREE MUANGKAEW,
         THIRAWUT BUNYASAKSERI, VERAPAT SITIPOL, WASANA SRISANG
ลักษณะงาน จิตรกรรม ประติมากรรม สื่อมัลติมีเดีย
พิธีเปิดนิทรรศการ วันที่ 14 ตุลาคม 2559 เวลา 17.00 น.
                        H.E. Mr. Bhagwant Singh Bishnoi (เอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย) 
                        ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด
ระยะเวลาที่จัดแสดง วันที่ 17 ตุลาคม ถึง 21 ธันวาคม 2559
ห้องนิทรรศการ ณ นิทรรศสถาน อาคารศิลปวัฒนธรรม

แนวความคิด
เนื่องในปีมหามงคล ที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมายุครบ 84 พรรษา ในวันที่ 12 สิงหาคม 2559 ที่ผ่านมา เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ และเพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระแม่เจ้าแห่งปวงชนชาวไทย ผู้ทรงมีบทบาทยิ่งยวดในการอุปถัมภ์และพัฒนาต่อยอดงานศิลปะหลากหลายสาขา ทั้งวิจิตรศิลป์ หัตถกรรม และนาฏศิลป์ทุกแขนง เพื่อสืบสานและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า ให้เจริญรุ่งเรืองและประดิษฐานมั่นคงในแผ่นดินไทยตราบชั่วลูกหลาน

สถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย ร่วมกับศูนย์อินเดียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม นิตยสาร Fine Art Magazine และหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกจุฬาฯ จึงได้จัดนิทรรศการ “The Santiniketan Inspiration” ซึ่งเป็นการรวบรวมผลงานศิลปะของอดีตศึกษิตมหาวิทยาลัยวิศวภารตี จำนวน 20 ท่าน ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ รวมทั้งศิลปินชั้นครูอย่างอาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ ผู้ได้เคยฝากผลงานอันมีชื่อเสียงประดับวงการศิลปะไทยไว้แล้วมากต่อมาก และยังคงเป็นที่กล่าวขวัญถึงในปัจจุบัน แม้ว่าท่านจะล่วงลับไปแล้ว

อนึ่ง เมื่อกล่าวถึงศิลปะ/สถาบันศิลปะ ย่อมปฏิเสธไม่ได้เลยว่า หน่วยงานหนึ่งที่ได้ธำรงและเผยแพร่ศิลปะแขนงต่าง ๆ มาอย่างยาวนานจนมีชื่อเสียงในระดับโลก คือมหาวิทยาลัยวิศวภารตี ศานตินิเกตัน ประเทศอินเดีย ก่อตั้งในปี 1921 โดยมหากวีคุรุเทพรพินทรนาถ ฐากูร ผู้เป็นปราชญ์แตกฉานหลายแขนงทั้งวรรณศิลป์ สังคีตศิลป์ ดุริยางคศิลป์ วิจิตรศิลป์ อย่างยากจะหาผู้ใดเสมอเหมือน ตลอดช่วงเวลาเกือบศตวรรษ มหาวิทยาลัยวิศวภารตีแห่งนี้ได้อบรม ขัดเกลา และเพาะพืชพันธุ์แห่งศิลปินมาแล้วนับไม่ถ้วน ศึกษิตจากมหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้จบการศึกษาออกมาและผลิตผลงานศิลปะมากมายอันเป็นที่นิยมยกย่องในระดับสากล บางท่านก็ประสบความเจริญก้าวหน้าเป็นถึงวิศิษฏบุทคลระดับประเทศก็มี

นิทรรศการดังกล่าวจะจัดขึ้น ณ นิทรรศสถาน อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีพิธีเปิดในวันที่ 14 ตุลาคม 2559 อนึ่ง ศิลปินมีชื่อเสียง 2 ท่านคือ Professor Jogen Chowdhury ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งสมาชิกราชยสภาแห่งสาธารณรัฐอินเดีย และ Professor Goutam Das แห่งศานตินิเกตันจะเข้าร่วมพิธีและแสดงปาฐกถาด้วย และจะเปิดให้สาธารณะเข้าชมนิทรรศการได้ตั้งแต่ 17 ตุลาคม – 21 ธันวาคม 2559

เปิดให้เข้าชมทุกวัน จันทร์ – ศุกร์ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๗.๐๐น.
ปิดให้บริการ เสาร์,อาทิตย์ และวันหยุดราชการ

ข่าวประชาสัมพันธ์ : นิทรรศสถาน อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Exhibition date: 
17 Oct 2016 - 09:00 to 21 Dec 2016 - 17:00