^ Back to Top

นิทรรศการ "Drawing out the best in me"

นิทรรศการ "Drawing out the best in me"

นิทรรศการ "Drawing out the best in me" ผลงานโดยศิลปินสาวชาวออสเตรเลีย เอลิช่า เร (Elysha Rei) จัดแสดงระหว่างวันที่ 16 มกราคม – 17 กุมภาพันธ์ 2558 และจะมีพิธีเปิดในวันศุกร์ที่16 มกราคม 2558 เวลา 19.00 น ณ Use Space

Drawing out the best in me (ดึงสิ่งที่ดีที่สุดในตัวฉันออกมา )
นิทรรศการภาพวาดดรออิ้ง จาก Elysha Rei ศิลปินสาวชาวออสเตรเรีย และเคยเป็นศิลปินในพำนักของ Sam Rit Resideency อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ที่หยุดพักการทำงานตัดกระดาษที่ชื่นชอบกลับมาสร้างสรรค์ผลงานศิลปะด้วยเทคนิคดรออิ้งอีกครั้ง
โดยนำเอาใบหน้าคนรวมถึงวัฒนธรรมที่เธอได้ไปสัมผัสพบเจอจากสถานที่ต่างๆ มาถ่ายทอดเรื่องราว ลงในผลงานที่มีลักษณะเฉพาะตัว

สามารถร่วมรับชมนิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกในเมืองไทยของเธอได้ที่ Use Space ซอยสามเสน18 ถนนสามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0814580116 https://www.facebook.com/UseSpaceBkk
ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 16 มกราคม 2558 – 17 กุมภาพันธ์ 2558
เปิดงานวันศุกร์ ที่16 มกราคม 2558 เวลา 19.00 น.
เปิดให้เข้าชม อังคาร-อาทิตย์ 10:00น.-17:00น. ปิดวันจันทร์

ดึงสิ่งที่ดีที่สุดในตัวฉันออกมา โดย เอลิช่า เร (Elysha Rei)
ทุกอย่างมันเริ่มต้นจากการกำหนดเวลา รางวัลทางศิลปะที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลทำให้ฉันได้กลับไปยังสื่อกลางของการวาดภาพที่หายไปนาน และการหยุดพักจากงานตัดกระดาษที่ทำอยู่ประจำของฉัน ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมานี้ ฉันรู้สึกกระหายที่จะทำงานสร้างสรรค์ ซึ่งฉันก็มัวแต่พลักความคิดเกี่ยวกับความชอบของการเคลื่อนไหว การศึกษาและโครงงานต่างๆ ออกไปอยู่นั่น จนในที่สุดตอนนี้ฉันก็ได้ข้อแก้ตัวที่สุดเฟอร์เฟคที่จะหันมาทำงานศิลปะอีกครั้งหนึ่ง

ฉันวาดใบหน้าของผู้หญิง โดยใช้หน้าของฉันเป็นแบบเอง แต่ก็ยังไม่ได้ออกมาเป็นรูปเป็นร่าง การใช้หน้าของฉันเป็นแบบเองเนี่ยเป็นอะไรที่สะดวกมาก เพราะว่าฉันสามารถมองหน้าตัวเองเมื่อไรก็ได้ ซึ่งก็สอดคล้องกับความงามแบบญี่ปุ่นตามประวัติของฉัน ฉันรู้อยู่แล้วว่า ทรงผมแบบไมโกะ เกอิชา จะต้องเข้ากับใบหน้านี้ได้อย่างเหมาะเจาะที่สุด ส่วนนกพิราบบนศีรษะของเธอนั้นได้รับแรงบันดาลใจจากครอบครัวของนกที่อาศัยอยู่แถวบ้านของฉัน การติดนกเข้าไปอยู่ในก้อนผมของเธอนั้นมันช่างทำให้งานชิ้นนี้เสร็จสมบูรณ์ที่สุด

ไม่กี่วันถัดมา ฉันก็เริ่มที่จะวาดอีกครั้ง - อีกครั้งหนึ่งกับการจัดเตรียมใบหน้า, เครื่องประดับศีรษะและตัวนก ซึ่งคราวนี้จะไม่มีการกำหนดเวลา มีเพียงแต่การยกย่องสัญชาตญาณล้วนๆ ที่นำไปยังความคิดที่มองเห็นได้ ซึ่งติดอยู่ทางด้านหลังในหัวของฉันมานานเกินไปแล้ว ภาพวาดที่สองก็ใช้ใบหน้าของฉันอีกเช่นกัน แต่เน้นไปในส่วนของรายละเอียดมากขี้นในครั้งนี้ ฉันเริ่มที่จะมีความซื่อสัตย์กับลักษณะบนใบหน้าของฉันมากขี้นมาอีกนิด เพราะเช่นนั้นเอง จึงเกิดเป็นภาพวาดที่นำฉันให้เข้าไปใกล้กับความคล้ายคลึงที่แท้จริงมากยิ่งขี้นไปอีก และแล้วก็กลายเป็นจุดเริ่มต้นของหนทางอันยาวนานถึงหนึ่งเดือนในการสร้างชุดผลงาน ซึ่งแสดงออกมาให้เห็นถึงหนึ่งในช่วงเวลาตลอด 27 ปีของฉันอย่างเป็นรูปเป็นร่างและมีการปรับเปลี่ยนมากที่สุด

ฉันค้นพบความรักที่หายไปนานของความเรียบง่ายในการใช้ดินสอและกระดาษ มันเป็นสื่อกลางที่ฉันลงมือทำอย่างชัดเจนตั้งแต่สมัยที่ยังเรียนอยู่โรงเรียนสอนศิลปะ เพราะสามารถลบและเขียนขี้นมาใหม่ได้ ฉันพบว่า ฉันคงจะกลัวที่จะผิดหวังในการวาดภาพมากเกินไป จึงกลับรักความท้าทายในการทำเครื่องหมายอย่างถาวรด้วยปากกาหรือการตัดกระดาษมากยิ่งขี้น

แต่บางอย่างเกี่ยวกับความสามารถในการวาดโครงร่าง ไปจนถึงรายละเอียด และการวาดภาพขี้นมาใหม่เป็นสิ่งที่ฉันต้องการจริงๆ ในขณะนี้ สำหรับช่วงที่ดีในหนึ่งทศวรรษที่ฉันได้สร้างรูปแบบให้กับตัวเองในการปล่อยตัวปล่อยใจไปบนการตัดสินใจอันแน่วแน่ ซึ่งยากที่จะเปลี่ยนกลับในชีวิตของฉัน (เช่นเดียวกับการตัดกระดาษ) และตอนนี้ฉันรู้สึกสนุกเพลิดเพลินกับโอกาสที่มุ่งเน้นไปยังสิ่งที่ต้องใช้เวลาและความทุ่มเท และอาจจะต้องมีการขัดเกลาและให้คำจำกัดความใหม่ได้เช่นกัน

ชุดภาพวาดเป็นสิ่งแรกที่ช่วยบรรเทาจินตนาการของฉันเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมกับนกเหล่านั้น ซึ่งตรงกันข้ามกับจินตนาการภาพปลาตามปกติของฉัน ฉันค้นพบว่า พวกมันเป็นความสุขที่ได้วาดภาพ รูปร่างของพวกมันมีเส้นเป็นเหมือนของเหลวและมีส่วนโค้ง ประกอบกับความท้าทายของการหยิบยกในรายละเอียดอย่างซับซ้อนภายในขนของพวกมัน แต่พวกมันยังเป็นสัญลักษณ์แห่งเสรีภาพอีกด้วย พวกมันเกือบทั้งหมดมีความสามารถในการบิน พวกมันเป็นตัวแทนของสภาพจิตใจที่ฉันปรารถนาเช่นเดียวกับลักษณะสำคัญที่มองเห็นได้

ฉันย้ายไปอยู่ที่หมู่บ้านที่มีฟาร์มปลูกข้าวเล็ก ๆ ในชนบทในช่วงปลายเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ที่ที่เคยว่างร้างมานานกาลครั้งหนึ่งซึ่งฉันพักพิงอยู่นั้น บัดนี้พร้อมที่จะเปิดให้เข้าพักอีกครั้ง ด้วยการปลูกต้นไม้และพืชพันธุ์ใหม่ๆ และการนำน้ำและถังหมักขยะมาใช้ จึงมีนกหลายหลายสายพันธุ์เข้ามาอยู่อาศัยในฐานะเพื่อนบ้านของเราอีกด้วย ต่างก็เข้ามาทำรังอยู่ใต้หลังคาของโรงเก็บของแสนลับขนาดใหญ่ของเรา ซึ่งตอนนี้กลายเป็นรังของครอบครัวนกพิราบและนกกระจอกที่บินเข้าออกรังของมันแล้ว

ในระหว่างการพักผ่อนจากการวาดภาพอย่างจริงจังของฉัน ฉันกลับพบว่า ตัวเองกำลังเฝ้าสังเกตอย่างตั้งอกตั้งใจว่า ชีวิตของนกประเภทไหนที่เข้ามาอยู่อาศัยในบริเวณเดียวกันกับฉันด้วย ฉันเริ่มที่จะเฝ้าดูนกในช่วงระหว่างเวลาเข้าเรียนในตอนเช้าและตอนบ่าย โดยเฝ้ามองดูทุ่งข้าวและการปรากฎตัวเพียงระยะเวลาสั้นๆ ของบรรดานกทั้งหลายที่บินจากต้นนี้ไปต้นนั้น ฉันจะพยายามที่จดจำรูปร่างลักษณะทางกายภาพของนก แล้วไปค้นหาชื่อของพวกมัน ซึ่งดูเหมือนว่า มีนกกะปูด นกกางเขนบ้าน นกกระเรียน นกและไก่กลุ่มเล็กๆ อยู่มากมายในหมู่บ้านแห่งนี้ โดยทั้งหมดนี้ได้กลายมาเป็นหัวข้อที่สำคัญในองค์ประกอบการภาพวาดในแต่ละวันของฉัน

เครื่องประดับศีรษะในแต่ละภาพวาดถูกนำมาวิจัยในตอนแรกจากมรดกทางญี่ปุ่นของฉันโดยใช้ทรงผมแบบไมโกะ เกอิชา และหมวกนักรบซามูไร ทันทีที่ก้าวออกมาจากความเคยชินเดิมๆ ที่ทำอยู่ของฉัน ฉันก็เริ่มค้นหาแรงบันดาลใจจากการออกแบบของไทย, อินเดีย, ยูเครนและการออกแบบในยุคสมัยกลาง เครื่องประดับศีรษะแต่ละอันที่เลือกไว้มีส่วนสำคัญมากในการทำให้ส่วนที่ขาดหายไปขององค์ประกอบเสร็จสมบูรณ์ และต้องมีการกระตุ้นที่มองเห็นได้

การนำทุกองค์ประกอบภาพที่มองเห็นได้เหล่านี้มาใช้ ฉันจบลงด้วยการหมกมุ่นตัวเองอยู่กับในรูปแบบการวาดภาพในแต่ละวัน โดยเริ่มต้นทุกวัน ณ เวลา 9 นาฬิกา ด้วยการวาดใบหน้าแล้วตามด้วยเครื่องประดับศีรษะ ต่อด้วยนก และสิ้นสุดลงในตอนเที่ยงวัน ซึ่งฉันรู้สึกพึงพอใจกับชิ้นงานที่ทำเสร็จในครึ่งวันนี้ สูญญากาศของพลังงานความคิดสร้างสรรค์นั้นช่างเสพติดและสุขสบาย มันช่วยผ่อนคลายความวิตกกังวลที่เข้ามาอยู่ภายในจิตวิญญาณที่เกี่ยวกับปัญหาหลายอย่างของฉัน มันได้ให้ช่องทางสำหรับฉันที่จะเชื่อมต่อการเดินทางในการแสดงความซื่อสัตย์ต่อตัวเอง ดังที่จะเห็นได้อย่างชัดเจนบนภาพวาดด้วยเช่นกัน รูปลำตัวของแต่ละภาพวาดวาดขี้นโดยปราศจากเสื้อผ้า ปล่อยให้เห็นร่องรอยของความเปลือยเปล่าในรูปแบบเงาของท่อนบนและไหล่เปลือย ฉันเองก็ไม่รู้ว่าก่อนว่า ฉันได้ปลุกความรู้สึกอันเปราะบางที่เปิดเผยให้เห็นถึงผิวเปลือยและอารมณ์สดๆ จากภาพแต่ละภาพ ฉันรู้สึกสบายใจมากขี้นเรื่อยๆ ที่จะเผชิญหน้ากับตัวตนของฉันเอง ซึ่งต่อมาก็ได้แปลไปเป็นผลงานทางดินสอบนกระดาษ ภาพวาดนี้ได้กลายมาเป็นการแสดงให้เห็นถึงการเดินทางไกลเพื่อค้นหาตัวตนที่แท้จริง ซึ่งฉันได้ทำหายไว้ที่ไหนสักแห่งในระหว่างหัวใจที่แตกสลายและสภาพจิตใจที่หายไป

สำหรับภาพวาดสุดท้ายในชุดซีรีย์นี้ โดยรวมแล้วมีความยากมากที่สุดที่จะทำให้เสร็จสมบูรณ์ - สาเหตุหลักเป็นเพราะฉันรู้อยู่แล้วว่า มันจะเป็นการวาดครั้งสุดท้าย โดยปราศจากสิ่งที่ทำให้ไขว้เขวของเครื่องประดับศีรษะอันสวยงาม ตัวฉันเองได้เข้ามาอยู่ในสภาพทางอารมณ์ที่เป็นปัจจุบันมากที่สุดของฉัน ผมของฉันถูกตัดออกสั้นหลังจากการแวะไปที่ร้านทำผมอย่างไม่ได้ตั้งใจเมื่อ 3 เดือนก่อนหน้านี้ ฉันวาดใบหน้าเสร็จก่อนเป็นอันดับแรกและยังไม่มั่นใจว่า ควรจะใช้นกตัวไหนประดับบนศีรษะของเธอ ฉันทิ้งภาพวาดไว้ค้างคืน

วันรุ่งขึ้นฉันรู้เลยว่า วิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้กระบรวนการการระบายทางอารมณ์นี้สำเร็จก็คือ การกลับไปการวาดภาพในครั้งแรก และกลับไปยังนกพิราบ - นกที่วาดไว้ในครั้งแรก ในลักษณะที่เกาะอยู่บนหัวที่เปลือยเปล่า ปีกที่กางออกและพร้อมที่จะบินออกไป และแล้วการวาดภาพครั้งที่ 10 และครั้งสุดท้ายของฉันในชุดนี้ก็เสร็จสมบูรณ์ ฉันได้กู้คืนความเชื่อของตัวเองที่ฉันคิดว่า ฉันได้ทำมันหายไปในความกลัวของอดีตที่ผ่านมาและความวิตกกังวลของอนาคต ฉันยังรู้สึกได้ถึง ความรู้สึกโล่งอกที่ล้นหลามและความผิดหวังที่ดูเหมือนจะจบสิ้นแล้ว แต่ฉันก็พอใจในสิ่งที่สร้างขึ้นมา ภาพวาดชุดซีรี่ย์นี้ได้ดึงเอาสิ่งที่ดีที่สุดในตัวฉันออกมา ฉันไม่เคยรู้สึกพร้อมอย่างนี้มาก่อนสำหรับบทถัดไปในงานศิลปะและในชีวิตของฉัน

“Drawing out the best in me”
By Elysha Rei Australian visual artist
Drawing out the best in me – Elysha Rei
It all started with a deadline. An internationally recognised art prize for drawing had given me the task of returning to the long lost medium of drawing, and taking a break away from my usual paper cutting work. I had been creatively thirsty for months now, procrastinating my ideas with the likes of moving, study and projects. Now I finally had the perfect excuse to start making art again.

I drew a woman’s face, modelling my own, yet not intending to depict it. Using my face was convenient – I had unlimited access to it. Conforming to my historically Japanese aesthetic I knew a Maiko Geisha hairstyle would adorn this face perfectly. The pigeon on her head was inspired by the family of birds living around my house. Nestling the bird in amongst the undulating folds of her hair just seemed to finish the piece perfectly.

A few days later I started to draw again – once more with the process of face, headdress and bird. No deadline this time, but instead just honouring the pure instinct to channel the visual ideas that had overstayed their residence in the back of my mind. The second drawing was again using my face, but concentrated more on the detail this time. I became a little more honest about my facial features and in doing so created a drawing that brought me a step closer to the true likeness of it. And so began the beginning of a month long journey into creating a series of works that ultimately portrayed one of the most formative and transitional periods of my 27 years.

I rediscovered the long lost love of the simplicity in pencil and paper. It was a medium that I steered clear from since art school because of its ability to be erased and reworked. I found that I would be too frustratingly precious about drawing and instead grew to love the challenge of using permanent mark making with pen or paper cutting.

But something about the ability to sketch an outline then detail and rework a drawing was exactly what I needed right now. For the better part of a decade I created a pattern for myself of indulging in hard-fast decisions that were difficult to reverse in my life (much like paper-cutting), and now I relished the opportunity to focus on something that needed time and dedication and could also be refined and redefined.

The series of drawings was the first to relieve my fantasy about engaging with birds as oppose to my usual fish imagery. I discovered that they are a pleasure to draw. Their bodies have such fluid lines and curves, with the challenge of intricately honouring the detail within their feathers. But they are also symbols of freedom. They almost all have the ability to fly. They represented a state of mind that I was craving, as well as a visual motif.
I moved to a small rural rice farming village in late December last year. The once prolonged vacant premises I dwell in is now being settled into the rhythm of occupancy again. With the planting of new trees and plants, and the introduction of water and a compost bin, we have also welcomed many birds as our neighbours. Nesting under the roof of our large undercover hangar there is now families of pigeons and sparrows darting in and out of the place.

During my intensive drawing retreat I found myself intentionally observing which other bird life was joining me in the area. I began bird watching during the morning and afternoon school runs, observing rice fields and fleeting glimpses of creatures darting between trees. I would try to remember the physical characteristics of a bird and then look up what their names were. It turns out there are many Coucals, Oriental Magpie Wrens, Cranes, Minor Birds and Chickens in this village. These all became integral subjects of my daily drawing compositions.

The headdresses in each portrait were initially researched from my Japanese heritage using a Maiko Geisha and Samurai Warrior helmet. Stepping out of my comfort zone I then sought inspiration from Thai, Indian, Ukrainian and Medieval designs. Each headdress selected was vital in completing the missing part of the composition and had to be visually stimulating.

Utilising all these visual elements I ended up immersing myself in a daily ritual of drawing. Starting every day at 9am with a face, then the headdress, then the bird. Finishing by midday I felt so satisfied by the half day’s work. The vacuum of creativity energy was addictive and comforting. It soothed the anxiety that had settled itself within my soul about many issues. It had provided a channel for me to articulate the journey to becoming honest with myself. And this became evident within the portraits too. Each portrait’s torso was drawn without clothing, leaving a suggestion of nakedness in the shades of the décolletage and bare shoulders. Without knowing it I had evoked a sense of the vulnerability exposing bare skin and raw emotions. With each portrait I found it more and more comfortable to confront who I was and subsequently translate that into pencil on paper. The portraits became a projection of a pilgrimage to the true self I had lost somewhere between a broken heart and a lost mind.

The final drawing in the series was by far the most difficult to complete – mainly because I somehow knew it would be the last. Without the distraction of a beautiful headdress, I drew myself in my most present state. My hair was out, cut short after an impulsive visit to the salon 3 months earlier. I finished the face first and wasn’t confident on which bird should adorn her. I left the drawing overnight.

The next day I knew the best way to complete this cathartic process was to come full circle and go back to the first drawing’s bird – the pigeon. Perched on top of this naked head, wings spread and ready to take off, my 10th and last drawing in this series was complete. I had recovered a belief of self I thought was lost in the fear of the past and anxieties of the future. I also felt an overwhelming sense of relief and disappointment that it seemed to be over. But I was content at what was created. This series had literally drawn out the best in me. I have never felt more prepared for the next chapter in art and in life.

The Exhibition is open to the public from Friday 16 Jan until 17 Feb 2015 at Use space samsen road Soi Samsen18 Bangkok
Opening Friday 16 Jan 2015 at 7:00pm
https://www.facebook.com/UseSpaceBkk
Tel.081-4580116

Artist: 
Venue: 
Exhibition date: 
16 Jan 2015 - 10:00 to 17 Feb 2015 - 17:00