นิทรรศการ "DIS/APPEAR"
นิทรรศการ "สูญหาย/ปรากฏ : DIS/APPEAR" ผลงานโดย ทวีศักดิ์ มูลสวัสดิ์ (Taweesak Molsawat) จัดแสดงระหว่างวันที่ 20 พฤศจิกายน - 26 ธันวาคม 2557 ณ ATTA Gallery
สูญหาย/ปรากฏ:ภาพคลุมเครือระหว่างสถานะทางวัฒนธรรมกับ ความจริง
“ศิลปะสื่อสารผ่านทั้งรูปธรรมและนามธรรม หากแต่เนื้อหาสาระของศิลปะ ก่อกําเนิดจากวัฒนธรรมและสังคม ดังนั้น ศิลปะจึงเป็น เครื่องมือในการตรวจสอบและกําหนดรูปแบบวัฒนธรรมและสังคมอย่างลึกซึ้งและสร้างสรรค์”
ทวีศักดิ์ มูลสวัสดิ์
ผลงานชุด “สูญหาย/ปรากฏ: ภาพคลุมเครือระหว่างสถานะทางวัฒนธรรมกับความจริง” นําเสนอมุมมองของศิลปินเกี่ยวกับ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการยึดครองและควบคุมโดยอิทธิพลทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมในระบบทุนนิยมและสังคมโลกาภิวัตน์ ศิลปะ เครื่องประดับชุดนี้เป็นการสํารวจและตั้งคําถามกับบทบาทและหน้าที่ของเครื่องประดับเดิม(เหรียญตรา)ในเชิงสัญญะและการเป็นตัวบ่งชี้ ทางวัฒนธรรมและสังคม
ศิลปินนําเสนอทวิภาวะของความย้อนแย้ง ระหว่างความตึงเครียดและความยืดหยุ่น, มายาคติและความจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชุดความคิดเดิมของวัตถุทางวัฒนธรรมกับชุดความคิดใหม่ของงานศิลปะเครื่องประดับ ผ่านการถอนรื้อประสบการณ์และความสัมพันธ์ เชื่อมโยงเดิมของสิ่งที่คุ้นเคยและเข้าใจ ประกอบสร้างขึ้นในบริบทใหม่ นําเสนอประสบการณ์การมีปฏิสัมพันธ์ใหม่ระหว่าง เครื่องประดับกับร่างกายผู้สวมใส่ในเชิงทฤษฎีและมโนคติ รวมทั้งสภาวะความย้อนแย้งและ คลุมเครือของชิ้นงาน
ผลงานศิลปะเครื่องประดับนี้ เป็นตัวกระตุ้นหรือตัวเร่งปฏิกิริยา ในการตั้งคําถามและกระตุ้นให้เกิดการแปลความหมายใหม่ รวมทั้งให้เกิดความคิด ด้วยวิธีการสื่อสารปลายเปิด ก่อให้เกิดพื้นที่ว่างทางความคิด เพื่อการค้นหาความเป็นไปได้ของคําตอบ ด้วยประสบการณ์ส่วนตัวของผู้ที่พบเห็น
ผู้ประสานงานสื่อdis/appear: Blurring Image between Cultural Hierarchy and Reality
“Art communicates through visual and non-visual means; the subject matters of art originate from culture and society; art, therefore, is an instrument to critically and creatively examine, and shape culture and society.”
Taweesak Molsawat
The work titled “dis/appear: Blurring Image between Cultural Hierarchy and Reality” reflects the artist’s point of view on the impact of economical and cultural invasion in capitalism and globalization era. This work is aimed to investigate and raise questions regarding functions and roles of jewelry, Medal, as a cultural and social signifier.
In this body of work, the artist emphasizes on the duality between tension and flexibility, illusion (cultural hierarchy) and reality, particularly the existing conceptual idea of constructed cultural object and a new conceptual idea of the work. The theoretical design framework is to create the viewers’ state of paradox and ambiguity by deconstructing the viewers’ prior experience, understanding and relationship with Medal, and reconstructing new experience, content and context through the work. With new experience of interaction between the work and wearer’s body, the artist generates the condition in which the wearer is compelled to devise a new meaning, context and state of jewelry perception in a theoretical and conceptual way.
This work is intended to be a catalyst for the promotion of questions and provoking new interpretations. The work acts as an open-ended language in a paradoxical and ambiguity world of visual and conceptual objects. This contradictory relationship, exposed by the fusion of work and body, as well as the contextual spaces that marry them, creates a conceptual empty space to permit fresh interpretations and layers of meaning from viewers’ personal perspective.