นิทรรศการศิลปะ “เผชิญหน้า: สามภวังค์”
นิทรรศการศิลปะ “เผชิญหน้า: สามภวังค์” (Confrontation: Three Elements of Life) ผลงานโดย ประดิษฐ์ ตั้งประสาทวงศ์ (Pradit Tungprasartwong) จัดแสดงระหว่างวันที่ 20 ธันวาคม 2556 - 8 กุมภาพันธ์ 2557 และจะมีพิธีเปิดในวันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม 2556 เวลา 18.15-20.30 น. ณ หอศิลปวิทยนิทรรศน์ สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เผชิญหน้า: สามภวังค์
โดย ประดิษฐ์ ตั้งประสาทวงศ์
ณ หอศิลปวิทยนิทรรศน์ สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แสดงงาน 20 ธันวาคม 2556 - 8 กุมภาพันธ์ 2557
พิธีเปิดนิทรรศการ: วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม 2556 เวลา 18.15-20.30 น.ประดิษฐ์ ตั้งประสาทวงศ์ ศิลปินผู้นำเสนอการควบรวมระหว่างผลงานสามมิติ (Sculpture) และสองมิติ (Painting) ที่เรียกว่า “Combine Painting” (ปรากฏขึ้นครั้งแรกในศิลปะตะวันตกราวกลางศตวรรษที่ 20) ได้ใช้วัตถุและวัสดุต่างๆ ในชีวิตประจำวันหรือที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะเจาะจง มาผสมผสานกับผลงานจิตรกรรมเพื่อสื่อสารความคิดของตนเอง
ประดิษฐ์ศึกษาทางด้านประติมากรรมในระดับปริญญาตรี และระดับปริญญาโทย้ายมาศึกษาสาขาจิตรกรรมที่มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยปัจุบันเป็นอาจารย์ประจำวิทยาลัยช่างศิลป ลาดกระบัง ประสบการณ์การศึกษาในลักษณะดังกล่าวทำให้ศิลปินมองเห็นแนวทางการผสมผสานความเป็นไปได้ของสองลักษณะในการนำเสนอผลงานทัศนศิลป์
“Combine Painting” ของประดิษฐ์เริ่มพัฒนาอย่างชัดเจน ในปี พ.ศ. 2545 ผ่านผลงานชุด “คิดถึงยาย”และ “การงานคือการปฏิบัติธรรม” ในปีถัดมาผลงาน “ในห้วงคำนึง” ประดิษฐ์เลือกใช้วัตถุที่มีความสัมพันธ์กับภาพผลงานจิตรกรรมเหมือนจริง เปรียบเทียบกับการขยายมิติการรับรู้ของผู้ชมผ่านการเชื่อมโยงภาพจิตรกรรมที่นำหน้าที่การเป็นตัวแทนของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (Representative) และวัสดุที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของตัวมันเอง (Non-representative) อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ประดิษฐ์นำเสนอหาใช่สิ่งแปลกใหม่ต่อวงการศิลปะ แต่กลับตอกย้ำให้เห็นถึงการเชื่อมโยงวัตถุปกติ (Ordinary Object) ที่สามารถเรียกร้องให้ผู้ชมเข้าสู่ปรากฏการณ์การซับซ้อนทางสุนทรียศาสตร์ ความคิด และการตีความ ความสัมพันธ์ต่อแบบ ซึ่งทั้งหมดแฝงกลิ่นอายเอกลักษณ์ศิลปะสื่อผสมแบบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นิทรรศการ “เผชิญหน้า: สามภวังค์” นำเสนอประสบการณ์ มุมมอง และปรัชญาของชีวิตที่มนุษย์ต้องเผชิญผ่านอุปมาอุปมัยสามสภาวะที่ศิลปินขมวดปมได้แก่ ๑.กิเลส (Kilesa: Anxiety, Fear, Anger, Jealousy, Desire, Depression, etc.) ๒.สัจธรรม (Truth) และ ๓.ความลังเล (Irresolution/Vacillation) ซึ่งอยู่บนพื้นฐานปรัชญาพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากประสบการณ์ตรงที่ศิลปินนำหลักการทางพุทธศาสนามาบำบัดอาการป่วยที่เกิดจากความผิดปกติเคมีในสมอง “เผชิญหน้า: สามภวังค์” จึงเป็นการแลกเปลี่ยนมุมมองที่ศิลปินมองเห็นและประจักษ์ต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน ผู้ชมจะสัมผัสสภาวะจำลองทั้งสาม ที่ศิลปินสร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ชมตระหนักถึงการมีชีวิตและตั้งคำถามต่อการมีชีวิตในปัจจุบันที่ไม่ว่าเชื้อชาติใด ชนชั้นใด ต้องล้วนเผชิญกับสภาวะดังกล่าว
เหนือสิ่งอื่นใด นิทรรศการครั้งนี้ยังเป็นการขยายประตูของศิลปะร่วมสมัยไทยกระแสหลัก ในการตีความหมายของศิลปะร่วมสมัย ทั้งทางด้านการแสดงออกและแง่มุมทางแนวคิด ที่อาศัยการกฎเกณฑ์พื้นถิ่นและขนบดั้งเดิมในการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์
**********
หอศิลปวิทยนิทรรศน์
ชั้น 7 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพ 10330
โทรศัพท์: 02-218-2965 โทรสาร: 02-218-2907
อีเมล์: info.artcenterchula@gmail.com
www.car.chula.ac.th/art
Facebook: The Art Center - Chula
เปิดทำการ จันทร์-ศุกร์: 9.00-19.00 น. เสาร์: 9.00-16.00 น.
ปิดวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์..................................
Confrontation: Three Elements of Life
By Pradit Tungprasartwong
At The Art Center, Office of Academic Resources, Chulalongkorn University
On display from December 20, 2013 - February 8, 2014
Opening Reception: Friday December 20, 2013, 6.15pm-8.30pmPradit Tungprasartwong’s art is a combination of three-dimensional work (sculpture) and two-dimensional work (painting), creating what is known as “combine painting” (which first emerged in Western art in the mid 20th century). The artist adds daily-life and specifically-made objects and materials to his paintings to convey his messages.
With a BFA in sculpture, Pradit shifted to painting for his MFA at Silpakorn. Today, he is a teacher at the College of Fine Arts Ladkrabang. His education allows him to see possibilities in combining the two genres to create his art.
Pradit began to seriously develop his combine paintings in 2002, starting with “Thinking of My Grandmother” and “Work Is Dharma Practice”. For “In My Recollection” in the following year, he chose objects that correlated with the realistic painting to expand the perception of the viewer, linking the representative painting to the non-representative objects. Even though what he presented was not new in the art scene, he excelled at emphasizing how ordinary objects were able to invite the viewer to enter into a complex esthetic, thinking, and interpreting experience conceived with the Southeast Asian mixed-media flair.
The exhibition “Confrontation: Three Elements of Life” introduces life experiences and philosophy based on three human states: (1) kilesa—anxiety, fear, anger, jealousy, desire, depression, etc., (2) the truth, and (3) irresolution/vacillation. These concepts are based on Buddhism and reflect how the artist has personally applied Buddhist teachings to heal the chemical imbalance in his brain. Therefore, “Confrontation: Three Elements of Life” creates a dialogue about what the artist sees and experiences and the three states the artist constructed for the viewer to perceive. It raises awareness and begs questions about life and living that all humans, regardless of their nationality or class, can understand.
Above all, this exhibition expands the definition of Thai mainstream contemporary art, artistic expressions and ideas by reexamining local settings and the traditional way of art making.
**********
The Art Center
7th Floor, Office of Academic Resources, Chulalongkorn University
Phyathai Rd, Pathumwan, Bangkok 10330
Tel: 02-218-2965, Fax: 02-218-2907
Email: info.artcenterchula@gmail.com
www.car.chula.ac.th/art
Facebook: The Art Center - Chula
Monday-Friday 9am-7pm, Saturday 9am-4pm
Closed on Sunday & Public Holidays