นิทรรศการ "nostalgia for unity"
นิทรรศการ "nostalgia for unity" ผลงานโดย กรกฤต อรุณานนท์ชัย (Korakrit Arunanondchai) จัดแสดงระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม - 31 ตุลาคม 2567 ณ บางกอก คุนส์ฮาเลอ : Bangkok Kunsthalle
"nostalgia for unity"
31 พฤษภาคม 2567 - 31 ตุลาคม 2567
นิทรรศการโดย กรกฤต อรุณานนท์ชัย
ที่ บางกอก คุนส์ฮาเลอ
.
เมื่อเราหวนคิดถึงความฝัน ความทรงจำ และภาพยนตร์ จะเห็นได้ว่าประสบการณ์เหล่านี้มีความคล้ายคลึงกันอย่างมาก ในส่วนที่เหลื่อมซ้อนกันนี้เองคือเหตุผลที่กรกฤต อรุณานนท์ชัย สนใจที่จะสร้างภาพเคลื่อนไหว ผลงานของเขาบันทึกประสบการณ์ชีวิตที่หลากหลายมาเชื่อมโยงกัน เพื่อให้ความสัมพันธ์เหล่านั้นสามารถไปไกลได้มากกว่าสิ่งที่เป็นอยู่ สำหรับกรกฤต เวลาคือแก่นและวัตถุดิบของผลงาน ศิลปินมองว่าเวลาถูกยื้อไว้ และเราสามารถรับรู้เวลานั้นได้ผ่านกาย ทั้งในฐานะปัจเจกบุคคลและสังคม
.
นิทรรศการ "nostalgia for unity" เผยให้เห็นจุดเปลี่ยนของแนวทางการสร้างสรรค์ผลงาน โดยกรกฤตได้ใช้พื้นที่เว้นว่างเพื่อใช้เป็นสื่อสำคัญของนิทรรศการ ผลงานชิ้นนี้เป็นทั้งงานจิตรกรรม ภาพยนตร์ เวทีแสดง และบทภาพยนตร์ที่กระตุ้นให้ผู้ชมสัมผัสถึงการไม่มีอยู่ ศิลปินมองว่าสิ่งไร้ตัวตนที่สิงอยู่ในผลงานชิ้นนี้คือ นกฟีนิกซ์ บทภาพยนตร์นี้ทำหน้าที่เป็นเส้นกั้นระหว่างสิ่งที่ได้รับการยินยอมกับสิ่งที่กล่าวถึงไม่ได้ ระหว่างหลายเส้นเวลาที่ต่างกัน ระหว่างผู้คนกับสิ่งที่เรามองไม่เห็น แต่เราอยากเชื่อว่าสิ่งนั้นมีอยู่จริง ถ้อยคำเหล่านี้เป็นพลังงานที่มอบชีวิตกลับคืนสู่เถ้าธุลี (ภาพนิ่งวิดีโอ: พสิษฐ์ ตันเดชานุรัตน์. เอื้อเฟื้อภาพโดยศิลปิน)
.
——————————————————
.
"nostalgia for unity"
May 31 – October 31, 2024
An exhibition by Korakrit Arunanondchai
At Bangkok Kunsthalle
.
There is a strong similarity between how one recalls a dream, a memory and a film. Within this overlap is where Korakrit Arunanondchai forms his filmic compositions. Here, the possibility of different registers of lived experiences can combine with each other to go beyond themselves. Time is a primary subject and material for Arunanondchai. For him, time is held and experienced through the body, both as an individual and as a collective.In this exhibition "nostalgia for unity", negative space is the primary medium for the artist. The installation is a painting, a film, a stage and a script that activates absences: the absent figure in this work is a Phoenix. The script for the film acts as a threshold between what is permitted and what cannot be addressed, between different timescales and between people and things we cannot see, but want to believe they exist. These words are the portal to give life back to the ashes. (Video still: Pasit Tandaechanurat. Image courtesy of the Artists)