^ Back to Top

นิทรรศการ "Don’t Cry At Work"

นิทรรศการ "Don’t Cry At Work"

นิทรรศการ "Don’t Cry At Work" ผลงานโดย พิชชาภา หวังประเสริฐกุล (Pitchapa Wangprasertkul) จัดแสดงระหว่างวันที่ 27 มกราคม - 24 มีนาคม 2567 และจะมีพิธีเปิดในวันที่ 27 มกราคม 2567 เวลา 17.00 น. ณ แกลเลอรี่ เวอร์ : Gallery VER

Don’t Cry At Work

By Pitchapa Wangprasertkul
Venue: Gallery VER Project Room
Date: 27/01 - 24/03/2024
Opening Reception: 27 January 2024 with performance at 17:00 onward

"Choose a job you love, and you will never have to work a day in your life."
– Confucius

"เลือกทำงานที่รัก แล้วคุณจะไม่ต้องทำงานอีกเลย..."
– ขงจื๊อ

เมื่อมองผิวเผิน ความรักในการงานดูเหมือนจะเป็นสูตรสำเร็จที่จะแก้ทุกปัญหาชีวิต แต่ในทางกลับกัน ก็อาจกลายเป็นม่านที่ปกปิดความจริงอันโหดร้ายของที่ทำงาน เพราะสุดท้ายแล้วระบบทุนนิยมนั้นเจริญเติบโตด้วยผลผลิต ไม่มีพื้นที่เหลือให้ความเจ็บปวด ความเครียด และความกดดันทางจิตใจที่มักก่อขึ้น แม้แต่จากทุนเอง ด้วยแรงผลักดันจากความหลงใหลและทัศนคติเชิงบวก พนักงานจึงถูกชักชวนให้มองความลำบากเหล่านี้เป็นเพียงอุปสรรคเล็กน้อยบนเส้นทางสู่การพัฒนาตนเอง ซึ่งผู้ที่มีความเก่งกาจและทะเยอทะยานจะสามารถเอาชนะได้อย่างง่ายดาย ภาระในการรักษาสภาพแวดล้อมการทำงานที่ราบรื่นและเป็นบวกอยู่เสมอจึงตกอยู่บนบ่าของแต่ละบุคคล การดูแลตนเองจึงกลายเป็นเครื่องมือให้พนักงานกลับเข้าสู่วงจรอันเหนื่อยล้า พร้อมกับการได้รื้อฟื้นความกระตือรือร้นกลับคืนมา เกิดเป็นวังวนแห่งการแสดงถึงการทำงานอย่างไร้จุดจบ

คำสัญญาอันล่อใจของการค้นพบความสุขจากการทำงานผลักดันให้เกิดแรงปรารถนาอันไม่รู้จบในการพัฒนาตนเอง แต่เมื่อแพสชั่นนั้นลุกโชนเจิดจ้าที่สุดในที่ทำงาน เส้นแบ่งของชีวิตก็กลับเลือนลาง บิดเบี้ยวไป ตั้งแต่ทักษะไปจนถึงทัศนคติเชิงบวก งานเรียกร้องการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ทั้งเวลา พลังงาน และอารมณ์ ทิ้งให้แรงงานหลายคนหมดแรงเมื่อพ้นจากขอบเขตของที่ทำงาน จนแทบไม่มีเรี่ยวแรงเหลือให้กับเรื่องอื่นๆ ที่ตัวเองต้องการอย่างแท้จริง

"Don’t Cry at Work" นิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกโดย พิชชาภา หวังประเสริฐกุล เก็บซ่อนความเศร้าไว้ใต้น้ำตาเทียน จากผลลัพธ์การเผชิญหน้าระหว่างตัวตน บทบาทในฐานะศิลปิน และงานประจำ เศษโมเสกสะท้อนภาพลักษณ์ซับซ้อนของใบหน้าพนักงาน ร้อยเรียงเป็นโถงแห่งตัวตนอันบิดเบี้ยวและวิปลาส ผ่านการแสดงสดแบบต่อเนื่อง (Durational Performance) ตลอดระยะเวลาของนิทรรศการ พิชชาภาตั้งคำถามถึงตัวตนของเธอในฐานะคนทำงาน ภายใต้ระบบที่บีบคั้นด้วยข้อเรียกร้องในการพัฒนาตนเองอันไม่หยุดหย่อน และหน้าที่ผูกมัด ได้ผลักภาระให้แต่ละคนต้องแบกความรับผิดชอบจัดการอารมณ์ของตนเอง มิเช่นนั้นก็อาจถูกผลักให้ออกจากวงสังคม

On the surface, loving your job seems like a cure-all. Yet, it can also become a veil, obscuring the harsh realities of the workplace. Capitalism, after all, thrives on productivity, leaving little room for acknowledging the pain, stress, and mental strain it often inflicts. Fueled by passion and a positive attitude, workers are encouraged to see these struggles as mere hurdles on the path to self-improvement, easily surmounted by the capable and ambitious. The burden of maintaining a seamless, positive work environment falls solely on the individual, with self-care becoming a tool for workers to return to the grind with renewed enthusiasm, perpetuating an endless cycle of performance.

The alluring promise of finding happiness in work fuels a relentless drive for self-improvement. But when passion burns brightest in the workplace, the boundaries of life can blur and distort. From skill set to a positive mindset, work demands a constant investment of time, energy, and emotion, leaving many drained and depleted outside its walls with almost no energy left for what they truly desire.

Cloaking sorrow behind the waxes of candle tears, "Don’t Cry at Work" by Pitchapa Wangprasertkul is a first solo exhibition resulting from her confrontation between the individual self, the role of an artist, and her professional career. Mosaic fragments of complex identities reflected on employee cards dangling the hall of distorted self and warped identities. Featuring durational performances that spans through the exhibition period, Pitchapa questions the identity of herself as a worker in a system where relentless demands for self-improvement and unwavering duty burden individuals with the responsibility of managing their own emotions only to avoid being ostracized from the societal circle.

Exhibition date: 
27 Jan 2024 - 12:00 to 24 Mar 2024 - 18:00