^ Back to Top

นิทรรศการ "A HOPE AND PEACE TO END ALL HOPE AND PEACE"

นิทรรศการ "A HOPE AND PEACE TO END ALL HOPE AND PEACE"

นิทรรศการ "A HOPE AND PEACE TO END ALL HOPE AND PEACE" ผลงานโดย Rushdi Anwar จัดแสดงระหว่างวันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 - 10 มีนาคม 2567 ณ Jim Thompson House Museum

A HOPE AND PEACE TO END ALL HOPE AND PEACE
A solo show by Rushdi Anwar

Curated by Zoe Butt
Opening 24 November 2023. On view until 10 March 2024
Jim Thompson Art Center (including a site-specific installation within Jim Thompson House Museum)
.
Rushdi Anwar’s world takes satirical delight in political irony. There is a reason for this. He is a Kurd. If there is one cultural group in this world that has repetitively endured the absurdity of foreign political strategy, it is the Kurdish community - one of the world’s oldest and largest indigenous stateless nations. Kurdish land and people have been arbitrarily divided by firstly the Ottoman Empire, followed by the British and French Empire, American-led interventions, and most recently infiltrated by ISIS.

A Hope and Peace to End All Hope and Peace is an exhibition that explores the cause and effect of arbitrary lines drawn by foreign powers in their fight to control what has historically been called the ‘Middle East’. It is an artistic exploration anchored in Anwar’s personal reflections, experiences and memories. An avid archivist of political intrigue and its popular souvenir, Anwar’s multi-media artworks are history lessons unlike any sanctioned text-book. His practice focuses on particular historical occurrence, used as lens with which to extrapolate a broader geopolitical history of recurring violence not only across the ‘Middle East’, but similarly suffered by the countless fleeing conflict globally today.

Three key subjects are central to this solo show. Firstly, the Sykes-Picot Agreement of 1916, a colonial secret pact designed by Britain and France that senselessly divided this ‘Middle East’ into a continuing oil-fuelled, chaos; secondly, the human agents that History debates as the champions of Kurdish culture and its sovereignty: from Ezidi Mirza (1600-1651), a Yazidis military hero who challenged the Ottoman Empire; from Sheikh Mahmud Barzanji (1878-1956), a much-loved 'King' and bane of the British Empire's desire to control Kurdish territory; to Hoshyar Byawelaiy, a Kurd committed to the single-handed demining of Kurdish land today. And thirdly, the mimicry of colonial methodologies of terror - from British propaganda to Saddam Hussein to ISIS campaigns – a landscape, both human and non-human, suffering mass displacement and destruction that continues to be ravaged by proxy wars and religious extremism.

The sculptures, installations, sounds and moving images in this exhibition investigate these occurrences, embracing such materials as hand-woven rugs, archival photographs and documents, brass masonry, colonial carpentry, hand-touched prints, molten-bomb utensils, filmic documentary, historical radio propaganda and more.

A Hope and Peace to End All Hope and Peace focuses on the plight of the 'Middle East' - highlighting its heroes who became villains, its friends who become foes - understanding that the colonial mechanizations that have shaped its current condition are of parallel to the history of Southeast Asia, a region that continues to endure the ramifications of the Colonial Empire and its desire to divide, conquer and exploit. This ambitious body of work will offer local Thai audiences a unique perspective onto a geography of little-known synergy to its political and cultural circumstances.
-
A HOPE AND PEACE TO END ALL HOPE AND PEACE
นิทรรศการเดี่ยวโดย รัชดี อันวาร์
.
ภัณฑารักษ์โดย โซอี บัตต์
เปิด 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 และเปิดให้เข้าชมถึง 10 มีนาคม พ.ศ. 2567
หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน (และพื้นที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน)
.
รัชดี อันวาร์ ใช้การเสียดสีเพื่อล้อเลียนความย้อนแย้งทางการเมืองผ่านผลงานศิลปะ เหตุผลที่ซ่อนอยู่ ก็เพราะรัชดีเป็นคนเคิร์ด ซึ่งหากถามว่าชนกลุ่มวัฒนธรรมใดที่ต้องเผชิญกับปัญหาและผลกระทบจากกลยุทธ์การเมืองต่างประเทศอยู่ซ้ำแล้วซ้ำเล่า คำตอบก็คือ ชนกลุ่มชาวเคิร์ด ชนชาติของชนกลุ่มน้อยและไร้รัฐที่เก่าแก่และมีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลกกลุ่มหนึ่ง ดินแดนและผู้คนของชนกลุ่มเคิร์ดถูกแบ่งแยกตามอำเภอใจอยู่หลายครั้ง ครั้งแรกโดยจักรวรรดิออตโตมัน ต่อมาโดยจักรวรรดิอังกฤษและฝรั่งเศส อีกทั้งยังมีการแทรกแซงทางทหารที่นำโดยสหรัฐอเมริกาและการแทรกซึมที่เกิดขึ้นล่าสุดโดยกลุ่ม ISIS

นิทรรศการ A Hope and Peace to End All Hope and Peace สำรวจสาเหตุและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเส้นพรมแดนที่ถูกเขียนแบ่งตามใจชอบโดยเหล่ามหาอำนาจต่างชาติที่สู้รบกันเพื่อช่วงชิงอำนาจในการปกครองภูมิภาคที่เรียกขานกันมานมนานว่า 'ตะวันออกกลาง' ผ่านผลงานศิลปะที่ก่อร่างสร้างจากมุมมอง ประสบการณ์ และความทรงจำของรัชดี ผู้ชื่นชอบการสะสมรวบรวมและบันทึกข้อมูลและผลลัพธ์ที่เกิดจากกลอุบายทางการเมืองดังกล่าว ผลงานการจัดวางสื่อผสมของรัชดีจึงเป็นเหมือนบทเรียนวิชาประวัติศาสตร์ที่แตกต่างจากตำราเรียนที่รัฐหรือสถาบันการศึกษาโดยทั่วไปอนุมัติใช้สอน โดยเขาเลือกใช้สถานที่หรือเหตุการณ์หนึ่งเป็นพิเศษเพื่อทำหน้าที่เป็นเลนส์สำรวจล้วงลึกถึงความเป็นมาในทางภูมิรัฐศาสตร์ของความรุนแรงที่เกิดขึ้นทั่วทั้งภูมิภาคแห่งนี้อยู่ซ้ำแล้วซ้ำเล่า รวมถึงสถานการณ์ผู้ลี้ภัยพลัดถิ่นที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นในปัจจุบันด้วย

นิทรรศการนี้เป็นนิทรรศการเดี่ยวที่นำเสนอเรื่องราวสำคัญทางประวัติศาสตร์สามเรื่องด้วยกัน เรื่องแรกเป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อตกลงไซกส์-ปิโกต์ พ.ศ. 2459 ซึ่งเป็นเอกสารที่ประเทศอาณานิคม ได้แก่ อังกฤษกับฝรั่งเศส จัดทำขึ้นมาเพื่อแบ่งภูมิภาค 'ตะวันออกกลาง' แห่งนี้ออกเป็นเขตพื้นที่ต่างๆ อย่างไร้ซึ่งตรรกะอันสมเหตุสมผล จนก่อเกิดเป็นความโกลาหลขัดแย้งเพื่อแย่งชิงทรัพยากรเชื้อเพลิงจนกระทั่งทุกวันนี้ เรื่องที่สองเกี่ยวกับบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์และเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในด้านการสนับสนุนวัฒนธรรมและการต่อสู้เพื่ออำนาจอธิปไตยของชาวเคิร์ด ไม่ว่าจะเป็น ชีค มาห์มุด บาร์ซานจิ (พ.ศ. 2421-2499) 'กษัตริย์' ที่ชาวเคิร์ดรักและเทิดทูน ผู้ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นขวากหนามสำคัญของจักรวรรดิอังกฤษที่ต้องการเข้ามาปกครองดินแดนของชาวเคิร์ด ไปจนถึง โหชยาร์ ไบยาเวลาย ชาวเคิร์ดที่มุ่งมั่นเก็บกู้ทุ่นระเบิดให้สิ้นซากไปจากดินแดนของชนกลุ่มเคิร์ดปัจจุบัน และเรื่องที่สาม การเลียนแบบวิธีการสร้างความหวาดกลัวในยุคอาณานิคม อย่างการโฆษณาชวนเชื่อที่อังกฤษนำมาใช้ การกดขี่ในยุคซัดดัม ฮุสเซน ไปจนถึงการก่อการร้ายของกลุ่ม ISIS ที่ล้วนส่งผลทำให้ภูมิทัศน์แห่งนี้ ทั้งผู้คนและพื้นที่ ต้องเผชิญกับความทุกข์ทรมานขนานใหญ่ ทั้งจากการพลัดถิ่นฐานของผู้คนจำนวนมากและจากการถูกพังทลายจนย่อยยับของสภาพบ้านเมืองและโครงสร้างสำคัญ ซึ่งยังคงถูกบ่อนทำลายอยู่เรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน ทั้งโดยสงครามตัวแทนของชาติมหาอำนาจและแนวคิดสุดโต่งทางศาสนา

ทั้งงานประติมากรรม การจัดวาง เสียง และภาพเคลื่อนไหวที่นำเสนอในนิทรรศการนี้ต่างทำหน้าที่สำรวจเหตุการณ์ทางประวัติศาตร์ ผ่านสื่อวัสดุที่ศิลปินนำมาใช้สร้างสรรค์ผลงาน อย่างผืนพรมทอมือ ภาพถ่ายและเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ งานสำริด งานช่างไม้ในยุคอาณานิคม ภาพพิมพ์มือ อุปกรณ์ที่ใช้หล่อหลอมลูกระเบิด สารคดีภาพยนตร์ ข้อความโฆษณาชวนเชื่อที่เผยแพร่ทางวิทยุในอดีตและสื่ออื่นๆ อีกมากมาย

นิทรรศการนี้ มุ่งนำเสนอสถานการณ์ความยากลำบากที่ 'ตะวันออกกลาง' ต้องประสบ ผ่านเรื่องราวของวีรบุรุษที่กลายเป็นผู้ร้ายและมิตรสหายที่กลายเป็นศัตรู และการสำรวจเพื่อให้เข้าใจถึงกลไกที่ประเทศอาณานิคมนำมาใช้ ที่ส่งผลทำให้เกิดสถานการณ์ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นคู่ขนานกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภูมิภาคที่ยังคงเผชิญกับผลกระทบและความปรารถนาที่จะแบ่งแยก พิชิต และแสวงหาผลประโยชน์ของจักรวรรดิอาณานิคม ผลงานศิลปะที่เปี่ยมด้วยความคิดสร้างสรรค์พร้อมมอบมุมมองที่ไม่เหมือนใครเพื่อให้ผู้รับชมชาวไทย

Artist: 
Exhibition date: 
24 Nov 2023 - 10:00 to 10 Mar 2024 - 18:00