นิทรรศการศิลปะจากโรงเรียน (2)
นิทรรศการศิลปะจากโรงเรียน (2) โดย หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ร่วมกับโรงเรียนนานาชาติเวลลิงตันคอลเลจ กรุงเทพ, โรงเรียนนานาชาติเปรมติณสูลานนท์, โรงเรียนนานาชาติ The American School of Bangkok สาขา Green Valley, โรงเรียนนานาชาติรีเจ้นท์กรุงเทพ, โรงเรียนบางกอกพัฒนา, โรงเรียนนานาชาติเคไอเอส, โรงเรียนนานาชาติบางกอก พรีแพราธอรี แอนด์ เซ็กเคินเดอรี และ โรงเรียนโรสมารี อะคาเดมี่ จัดแสดงระหว่างวันที่ 2 - 21 พฤษภาคม 2566 ณ ผนังโค้ง ชั้น 3 – 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร : bacc
นิทรรศการศิลปะจากโรงเรียน (2)
วันที่ : 02 พฤษภาคม 2566 - 21 พฤษภาคม 2566
สถานที่: ผนังโค้ง ชั้น 3 – 5
โดย หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ร่วมกับโรงเรียนนานาชาติเวลลิงตันคอลเลจ กรุงเทพ, โรงเรียนนานาชาติเปรมติณสูลานนท์, โรงเรียนนานาชาติ The American School of Bangkok สาขา Green Valley, โรงเรียนนานาชาติรีเจ้นท์กรุงเทพ, โรงเรียนบางกอกพัฒนา, โรงเรียนนานาชาติเคไอเอส, โรงเรียนนานาชาติบางกอก พรีแพราธอรี แอนด์ เซ็กเคินเดอรี และ โรงเรียนโรสมารี อะคาเดมี่สืบเนื่องจากความสำเร็จในการจัดแสดงนิทรรศการ "Thailand Art Talent – Art and Creative School Fair" ที่ได้นำเสนอผลงานศิลปะสร้างสรรค์ของนักเรียนจากโรงเรียนนานาชาติหลายแห่งในประเทศไทย ที่ศูนย์การค้าริเวอร์ซิตี้ เมื่อห้าปีที่ผ่านมา ในช่วงวันที่ 29 กันยายน - 7 ตุลาคม 2561 จึงนำมาสู่การหารือและพัฒนาต่อยอดให้เกิดการจัดแสดงต่อเนื่องที่หอศิลปกรุงเทพฯ หลังจากที่ทิ้งช่วงการจัดงานเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19
ทั้งนี้ เล็งเห็นถึงตัวอย่างการเรียนการสอนในโรงเรียนนานาชาติโดยเฉพาะหลักสูตรด้านศิลปะที่ส่งเสริมนักเรียนอย่างรอบด้าน เห็นได้จากนิทรรศการครั้งที่แล้วว่า มีการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ฝึกการค้นคว้า การสำรวจ การสร้างงาน และการเขียนความคิดสร้างสรรค์เพื่ออธิบายผลงานของตนเอง ยังส่งเสริมให้นักเรียนสามารถนำศิลปะไปเป็นฐานประสบการณ์ในอนาคตได้ ไม่ว่าจะไปทำงานสายใด ไม่ได้จำกัดเฉพาะสายอาชีพศิลปะหรืองานสร้างสรรค์เท่านั้น อาจเนื่องจากวิชาศิลปะเป็นเพียงไม่กี่วิชาในโรงเรียนที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้แสดงออกได้ นอกเหนือจากการเรียนรู้ทฤษฎีในห้องเรียน
การบ่มเพาะการเรียนรู้ศิลปะสำหรับเยาวชน นอกจากจะสร้างความตระหนักรู้ให้นักเรียนได้เข้าใจถึงคุณค่าของชีวิตวัฒนธรรมแล้ว ยังได้ถึงการเรียนรู้ในกระบวนการต่างๆ อันได้แก่ การตั้งคำถาม เข้าใจซึมซับสิ่งรอบตัว การเปิดรับความต่างหลากหลาย การสร้างบทสนทนาแลกเปลี่ยน ในเวลาเดียวกันมีการเสริมทักษะในการรับรู้และสื่อสาร
ในเร็วๆ นี้ ได้เกิดมีความสนใจในประเด็นของ ‘soft power’ อย่างกว้างขวาง ซึ่งถ้าจะมองแล้วงานศิลปะและการสร้างสรรค์คือต้นน้ำของ soft power ที่ต้องบ่มเพาะเริ่มขึ้นแต่เยาว์วัยในระดับโรงเรียนสังเกตเห็นได้ว่าเยาวชนไทยเริ่มให้ความสนใจกับศิลปะเพิ่มมากขึ้น โดยสามารถอ้างอิงได้จากข้อมูลผู้เข้าชมหอศิลปกรุงเทพฯ ที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในปี 2561 ก่อนสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 มีจำนวนผู้เข้าชมหอศิลปกรุงเทพฯ มากถึง 1.8 ล้านคน โดยมีสัดส่วนกลุ่มผู้เข้าชมชาวไทยที่มีอายุ 15 - 25 ปีมากเป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ชมหลักที่มีแนวโน้มให้ความสนใจเยี่ยมชมหอศิลปกรุงเทพฯ มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยการจัดแสดงนิทรรศการในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อตอบสนองความสนใจของนักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ นักการศึกษา และบุคคลทั่วไป ให้ได้ตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการศึกษาศิลปะในบ้านเรา ซึ่งเป็นหนึ่งในบทบาทการส่งเสริมอันสำคัญของหอศิลปกรุงเทพฯตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา หอศิลปกรุงเทพฯจึงต้องการใช้โอกาสในครั้งนี้เป็นก้าวที่สำคัญในการริเริ่มการปรับปรุงและพัฒนานโยบายทางการศึกษาที่สามารถเข้าถึงโรงเรียนและชุมชนในเมืองได้อย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้นในอนาคต
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม :
คุณเข็มอัปสร สุวรรณรัต
เจ้าหน้าที่ประสานงานเครือข่ายต่างประเทศ
โทร. 02-214-6630 ต่อ 528
Email : kemapsorn.s@bacc.or.th