^ Back to Top

นิทรรศการ "de-CONSCIENTIZATION : ถอดจิต"

นิทรรศการ "de-CONSCIENTIZATION : ถอดจิต"

นิทรรศการ "de-CONSCIENTIZATION : ถอดจิต" ผลงานโดย อดิศักดิ์ ภูผา (Adisak Phupa), สิทธิกร ขาวสะอาด (Sittikorn Khawsa-ad), ชัยภัทร ยาฉาย (Chaiyapat Yachay), Yukawa Nakayasu, Qenji Yoshida, Mark Salvatus, Mayumi Hirano, Marian Barro และ Jad De Guzman จัดแสดงระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม 2564 - 5 กุมภาพันธ์ 2565 และจะมีพิธีเปิดในวันที่ 16 ธันวาคม 2564 เวลา 18.30 น. ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (วังท่าพระ)

หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากรขอเชิญร่วมเปิดนิทรรศการ de-CONSCIENTIZATION :: ถอดจิต ::
พิธีเปิดนิทรรศการวันที่ 16 ธันวาคม 2564 เวลา 18.30 น. ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (วังท่าพระ)

จัดแสดงระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม 2564 - 5 กุมภาพันธ์ 2565
วันจันทร์ถึงเสาร์ 9.00 - 18.00 น. (ปิดวันอาทิตย์และวันหยุดราชการ)

ภัณฑารักษ์รับเชิญ: เพ็ญวดี นพเกตุ มานนท์
ผู้จัด: หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร
ร่วมกับ:
หอสิน กางธ่งมหาสารคาม (หอสิน กธม)
TRA-TRAVEL
Load na Dito
Chishima Foundation for Creative Osaka (Japan)
Kyoto Art Centre (Japan)

กลุ่มและศิลปินที่เข้าร่วม:
หอสิน กางธ่งมหาสารคาม (หอสิน กธม)
- อดิศักดิ์ ภูผา
- สิทธิกร ขาวสะอาด
- ชัยภัทร ยาฉาย
TRA-TRAVEL
- Yukawa Nakayasu
- Qenji Yoshida
Load na Dito
- Mark Salvatus
- Mayumi Hirano
- Marian Barro
- Jad De Guzman

“The more the oppressed —the poor people— grasp the dominant syntax, the more they can articulate their voices and their speech in the struggle against injustice.” ~ Paulo Freire, 1996

ขณะที่เราต่างกำลังไว้อาลัยให้แก่ความอยุติธรรมซ้ำแล้วซ้ำเล่า มีเพียงความดื้อด้านและการไม่ยอมจำนนต่ออำนาจกดขี่เท่านั้น ที่จะช่วยให้เราสามารถถอดจิตสำนึกภายในตัวตน สำรวจปัญหาตามความเป็นจริง ยอมรับและกล้าเผชิญหน้ากับความปรารถนาที่แท้จริง เพื่อนำไปสู่แรงกระเพื่อมแห่งความเปลี่ยนแปลง

ร่วมสองปีอันแสนยืดเยื้อยาวนานนับตั้งแต่ปลายปีพ.ศ. 2562 ที่คนทั่วโลกต้องเผชิญกับวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ COVID-19 ซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรกที่ตลาดค้าสัตว์ป่าหรือตลาดอาหารทะเลสดที่ใหญ่ที่สุดในเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ประเทศจีน จากนั้นเมื่อ 12 ม.ค. 2563 กระทรวงสาธารณสุขของไทยได้ประกาศว่าพบผู้ติดเชื้อคนแรกนอกประเทศจีน ซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวจากอู่ฮั่น และนั่นคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้สถานการณ์การแพร่ระบาดได้ขยายไปทั่วประเทศ ส่งผลกระทบต่อคนในวงกว้างโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเปราะบางซึ่งมีทุนทางสังคมน้อยกว่ากลุ่มอื่น อาทิ คนยากจน แรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ คนไร้บ้าน และคนพิการ โอกาสในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลอันจำกัดของกลุ่มเปราะบางดังกล่าว ได้ตอกย้ำถึงความเหลื่อมล้ำด้านสาธารณสุข ความไม่เสมอภาคทางสังคม ช่องว่างระหว่างชนชั้น การขาดเสถียรภาพทางสังคม-การเมือง ภายใต้การบริหารงานของรัฐไทยและผู้นำซึ่งไร้วิสัยทัศน์ ขาดความรู้ความเข้าใจที่เป็นธรรม

“Conscientization” หรือกระบวนการสร้างจิตสำนึกเชิงวิพากษ์ในระดับปัจเจก เพื่อนำไปสู่ความสามารถในการสะท้อนถึงและตอบโต้ต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่เราต่างถูกกดทับ ทั้งจากภาครัฐ ชนชั้นนายทุน ระบอบอุปถัมภ์ ระบอบศักดินา และลัทธิเผด็จการอำนาจนิยม ความพยายามในการสะท้อนและตอบโต้ต่อปัญหาในแบบที่ Paulo Freire (อดีตศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์และปรัชญาการศึกษา ที่มหาวิทยาลัยเรซิเฟ ประเทศบราซิล) อ้างและเรียกมันว่า “Praxis" เป็นรากฐานสำคัญในการสร้างขุมพลังให้แก่ผู้ถูกกดขี่ และนำไปสู่กระบวนการเปลี่ยนแปลง Freire กล่าวไว้ว่ามนุษย์เราล้วนมีแนวโน้มถูกครอบงำด้วยมายาคติทางสังคม ฉะนั้นกระบวนการเรียนรู้จักทำหน้าที่เชิงวิพากษ์ได้ก็ต่อเมื่อ เราสามารถเปิดโปงปัญหาที่แท้จริงและเปิดเผยความต้องการที่ตรงไปตรงมา

de-CONSCIENTIZATION :: ถอดจิต จงใจสำรวจและท้าทายผ่านการตั้งคำถามต่อจิตสำนึกและจิตไร้สำนึก ของคนในสังคม เมื่อถึงคราวต้องต่อสู้กับความหดหู่สิ้นหวัง หรือกระทั่งความเป็นความตาย เมื่อทั่วโลกกำลังเผชิญวิกฤตครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของมนุษยชาติ ‘จิต’ ของเราที่สมควรแตกต่างจากสัตว์โลกชนิดอื่นทำงานอย่างไรในเชิงวิพากษ์? สามารถตั้งคำถาม สำรวจ สะท้อนถึงรากเหง้าของปัญหา และนำมาซึ่งการสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างได้หรือไม่? การตระหนักรู้ร่วมกันจักก่อให้เกิดกระแสขบถในผู้ถูกกดขี่ได้เพียงใด?

.................................................

The Art Centre, Silpakorn University cordially invites you to the opening exhibition of de-CONSCIENTIZATION :: ถอดจิต ::
The opening is on Thursday 16 December 2021 at 6.30 pm at the Main Hall of the Art Centre, Silpakorn University (Wangthapra)

Exhibition will be on view from 16 December 2021 to 5 February 2022
Mon - Sat 9 am to 6 pm (closed on Sundays and public holidays)

Guest Curator: Penwadee Nophaket Manont
Organizer: The Art Centre, Silpakorn University
In collaboration with: Mahasarakham Mid-field Artspace (Thailand)
TRA-TRAVEL (Japan)
Load na Dito (The Philippines)
Chishima Foundation for Creative Osaka (Japan)
Kyoto Art Centre (Japan)

Participating Collective/Artist:
Mahasarakham Mid-field Artspace
- Adisak Phupa
- Sittikorn Khawsa-ad
- Chaiyapat Yachay
TRA-TRAVEL
- Yukawa Nakayasu
- Qenji Yoshida
Load na Dito
- Mark Salvatus
- Mayumi Hirano
- Marian Barro
- Jad De Guzman

“The more the oppressed —the poor people— grasp the dominant syntax, the more they can articulate their voices and their speech in the struggle against injustice.” ~ Paulo Freire, 1996

As we lament for social-injustice again and again, only persistence and unyielding to tyrannical power will allow us to unleash self-consciousness, dig into issues logically, accept and dare to face our own desires truthfully, to bring about the ripple effect of changes in our society.

It’s been two long years since the end of 2019, when people around the world have had to face the new coronavirus (COVID-19) epidemic which firstly took place at the largest wildlife market or Huanan seafood market in Wuhan, Hubei province, China. On January 12, 2020, the Ministry of Public Health, Thailand, announced the first case found outside China —a tourist from Wuhan. It became the beginning of the outbreak to spread across the country, affecting a wide range of people, particularly vulnerable populations with less social capital than others, such as the poor, informal laborers, migrant workers, homeless and disabled people. Limited access to treatment for the groups has reiterated social hiatus, public health inequality, and socio-political instability,  under the Thai state’s ministration and visionless leader, with unjustified knowledge and notion.

“Conscientization” or the process of creating critical consciousness/awareness of an individual's social reality through reflection and action, in changing the reality we are pressed against from the government, bourgeoisie, patronage system, feudalism, and authoritarian dictatorship. The attempt to critically reflect and act upon social issues as Paulo Freire —a former Professor of History and Philosophy of Education in the University of Recife, in Brazil— referred to and called it “Praxis” is the cornerstone of empowering the oppressed, generating the process of reform. According to Paulo Freire, “We all acquire social myths which have a dominant tendency, and so learning is a critical process which depends upon uncovering real problems and actual needs.”

de-CONSCIENTIZATION deliberately probes and challenges through enquiring the conscious and unconscious mind of people in society. When it's time to battle with despair, even life and death, and the world’s one of humanity's biggest crises, how does our ‘mind’ supposedly different from other creatures critically function, query, inspect, reflect upon the root of problems, to generate structural change? How can collective awareness create a rebellion wave among the oppressed?

The Art Centre Silpakorn University
31 Na Phralan Road, Phra Borommaharatchawang, Phra Nakorn
Bangkok, Thailand 10200
+662 221 3841
E-mail : su.artcentre@gmail.com
FB: Art Centre Silpakorn University
Website: www.art-centre.su.ac.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ : Art Centre Silpakorn University

Exhibition date: 
16 Dec 2021 - 09:00 to 5 Feb 2022 - 18:00