^ Back to Top

นิทรรศการ "New Ramayana"

นิทรรศการ "New Ramayana"

นิทรรศการ "New Ramayana" ผลงานโดย สุรเชษฐ พกฤษวันประสุต (Surachet Prueksawunprasut) จัดแสดงระหว่างวันที่ 19 มีนาคม - 30 เมษายน 2564 และจะจัดแสดงระหว่างวันที่ 19 มีนาคม 2564 เวลา 18.00 น. ณ คาฬวิท สตูดิโอ แอนด์ แกลเลอรี่ : Kalwit Studio & Gallery

Kalwit Studio & Gallery would like to cordially invite you to join with us
"New Ramayana"

Artist : Surachet Prueksawunprasut
Opening day on Friday 19th, March 2021 at 6 pm – 9 pm
19 March - 30 April 2021
At Kalwit Studio & Gallery (Ruamrudee soi 2, BTS Ploenchit exit 4)
Gallery Hours: TUE – SUN / 10 am – 6 pm (Closed on MON) Free Entrance

รามายณะ เป็นเรื่องราวของพระรามกับทศกัณฐ์ หรือที่ทุกคนรู้จักกันในนามของ รามเกียรติ์ ด้วยความที่มีตัวละครหลากหลายเผ่าพันธุ์ มีความสัมพันธ์กันทั้งการเป็นมิตรและศัตรูที่ปรากฎอยู่ในเรื่องรามยณะนี้ เปรียบเสมือนภาพสะท้อนของสังคมมนุษย์บนโลกที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม รามายณะไม่ใช่เรื่องล้าสมัยแต่เป็นมหากาพย์ที่สะท้อนตัวตนของมนุษย์ที่ยังคงมีทั้งความรัก โลภ โกรธ หลง แม้กาลเวลาจะเปลี่ยนแปลงไปมากเพียงใดก็ตาม

คุณสุรเชษฐ พกฤษวันประสุต ได้จินตนาการถึงอนาคตที่สิ้นหวังจากการเติบโตที่บิดเบี้ยวผ่านสถาปัตยกรรมในบรรยากาศที่สิ้นหวัง ซึ่งเป็นเพียงภาพสะท้อนเปลือกนอกเท่านั้น ศิลปินเชื่อว่าจะสามารถสะท้อนถึงเนื้อในได้มากกว่า โดยการใช้รามายณะมาเป็นภาพสะท้อนที่เขาจินตนาการขึ้น และสร้างรูปแบบใหม่ให้รามายณะ ตามความงามในอุดมคติผ่านเส้น สี ที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะเขมร อินเดีย และจีน เป็นต้น เพื่อเป็นสะพานสื่อสารกับคนในอนาคตว่า “ปัจจุบันคุณจินตนาการถึงอนาคตไว้อย่างไร คำตอบนั้นอยู่ที่เวลา”

Ramayana is the story of Phra Ram and Thotsakan. Or that everyone is known as the Ramakien with a variety of characters. There is a relationship between friendly and enemy that is depicted in this Ramayana story. It is like a reflection of human society on the planet that is racial diversity. Social and cultural characteristics. The Ramayana is not an outdated story, but it is an epic reflection of human beings who still have love, greed, anger, and passion despite how much time has changed.

Mr.Surachet Prueksawunprasut imagines a hopeless future from distorted growth through architecture in a desperate atmosphere, which is only a reflection of the outer shell. The artist believed that it would be able to reflect the inner body more by using Ramayana as a reflection, that he imagined and create a new model for Ramayana, follow the ideal beauty through the color lines influenced by Khmer, Indian and Chinese arts, etc., to be a bridge to communicate with future people that “How do you imagine the future today? The answer is time”.

ประวัติศิลปิน
คุณสุรเชษฐ พกฤษวันประสุต ว/ด/ป: 21 ตุลาคม 2525
ที่อยู่: 288/93 หมู่บ้านทิพธนา ซอยเพชรเกษม 53 ถนนเพชรเกษม บางแค กทม. 10160
Facebook: surachet.phrueksawanprasut

ประวัติการศึกษาและประวัติการทำงาน
2542 เข้าศึกษาที่วิทยาลัยช่างศิลป์
2545 เข้าศึกษาที่คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2552 อาจารย์ประจำอาชีวศิลป์ เขียนภาพประกอบ อมรินทร์ สายธรรมะ
2554 อาจารย์พิเศษสถาบัน Art House
2559 - ปัจจุบัน ศิลปินอิสระ

ประวัติการแสดงงาน
2020 ร่วมแสดง “ศิลปินสู้โควิท” จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรมและศิลปะแห่งประเทศไทย
2556 การแสดงผลงานอาจารย์และนักเรียน โรงเรียนอาชีวศิลปศึกษา ณ ศูนย์การค้า Supreme Complex
2555 การแสดงผลงานอาจารย์และนักเรียน โรงเรียนอาชีวศิลปศึกษา ณ ศูนย์การค้า Supreme Complex
2554 นิทรรศการศิลปะร่วมสมัย “Supplementary food 2 nd ” ณ ศูนย์ศิลปะบ้านตึก จังหวัดเชียงใหม่
2551 นิทรรศการศิลปะนิพนธ์ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย คณะวิจิตรศิลป์ ณ
หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
2548 - การแสดงผลงานศิลปะกับสิ่งแวดล้อม ณ อ่างแก้ว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

  • การแสดงผลงานศิลปะจัดวาง “Motel Project” ณ โรงแรมท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่
  • นิทรรศการกลุ่ม “ลองดี” ณ ห้างสรรพสินค้ากาดสวนแก้ว ชั้น 5 จังหวัดเชียงใหม่
  • นิทรรศการศิลปะภาพเขียนทิวทัศน์ “ที่นา” มูลนิธิที่นา เดอะแลนด์ ณ หอศิลปศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

2546 การแสดงศิลปกรรมครบรอบ 20ปี วิจิตรศิลป์ ณ หอนิทรรศการศิลปศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
2545 นิทรรศการกลุ่ม “ลองของ” ณ Art Fund Studio มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ข่าวประชาสัมพันธ์ : Kalwit Studio&Gallery

Exhibition date: 
19 Mar 2021 - 10:00 to 30 Apr 2021 - 18:00