^ Back to Top

นิทรรศการ "The Longest Way Round is the Shortest Way Home"

นิทรรศการ "The Longest Way Round is the Shortest Way Home"

นิทรรศการ "The Longest Way Round is the Shortest Way Home" ผลงานโดย นนทวัฒน์ นำเบญจพล (Nontawat Numbenchapol) จัดแสดงระหว่างวันที่ 11 กรกฎาคม - 22 สิงหาคม 2563 ณ แกลเลอรี่ เวอร์ : Gallery VER

The Longest Way Round is the Shortest Way Home
By Nontawat Numbenchapol
Curated by Loredana Pazzini-Paracciani
Venue: Gallery VER
Date: 11.07 - 22.08.2020

'The Longest Way Round is the Shortest Way Home' เป็นการเปิดตัวนิทรรศการของผู้กำกับชาวไทย นนทวัฒน์ นำเบญจพล ที่แกลเลอรี่ เว่อร์ รวมทั้งเป็นนิทรรศการขนาดใหญ่ในแกลเลอรี่ครั้งแรกเช่นกัน

จากการตรึกตรองถึงสำนวนที่กล่าวว่าทางลัดมิใช่ทางที่ดีที่สุดเสมอไป The Longest Way Round is the Shortest Way Home สะท้อนเสียงอันซับซ้อนของชีวิตผู้อพยพย้ายถิ่นและความไม่มั่นคงเหล่านี้ บ่อยครั้งความตรากตรำที่ประสบมิได้ถูกรองรับโดยเอกสารทางราชการ ตรงข้ามกับภาพที่ภายนอกในทีแรกอาจเป็นทางลัดสู่ชีวิตกว่า แต่กระบวนการข้ามเขตแดน โดยเฉพาะระหว่างเมียนมาร์สู่ประเทศไทยใน The Longest Way Round is the Shortest Way Home เผยให้เห็นว่านั่นไม่ใช่ทางเลือกที่ยั่งยืนเลย เพราะเมื่อถูกทำให้ไร้ความสำคัญอย่างเป็นระบบแล้ว ผู้อพยพมักไม่เหลือตัวเลือกอื่นนอกจากอิสรภาพอันจำกัด หรือจะต้องกลับบ้านเกิดไป

จากการมุ่งเน้นไปที่แรงงานชาวไทใหญ่ในเชียงใหม่ ขอบเขตการศึกษาด้านชาติพันธุ์ใน 'The Longest Way Round is the Shortest Way Home' ได้รวมการสังเกตของนนทวัฒน์และการวิจัยในพื้นที่ ผ่านฟุตเทจที่เป็นเอกลักษณ์ภายในประเทศเมียนมาร์ เพื่อติดตามการเดินทางของเด็กหนุ่มคนหนึ่งระหว่างที่เขากลับสู่หมู่บ้านในรัฐฉานเพื่อเยี่ยมเยียนครอบครัว หลังจากที่ไม่ได้กลับมาเป็นเวลาหกปี และทำเอกสารประจำตัวประชาชนอันจำเป็นอย่างยิ่งของเขา

ฟุตเทจของนนทวัฒน์ที่ถ่ายทำโดยไร้ทีมงานติดตาม ได้ทำหน้าที่ในการรวบรวมเอาบันทึกภาพภาคพื้นสนามซึ่งเผยให้เห็นมุมมองถึงชีวิตพลัดถิ่นของตัวเอก ตั้งแต่ความเจ็บปวดจากการทอดทิ้งบ้านเกิด ไปจนถึงความคาดหวังในการโอบรับชีวิตใหม่เมื่อได้ข้ามชายแดนไป ในขณะเดียวกัน ฟุตเทจเหล่านี้ก็ได้จุดคำถามที่กว้างกว่าของการเป็นและไม่เป็นส่วนหนึ่งของบ้านเกิดของตน และความหมายของอัตลักษณ์ทางสังคม หรือแม้กระทั่งการสร้างตัวตนก็ตาม

ผ่านประสบการณ์การรายล้อมโดยผลงานวิดีโอจัดวางและเสียง ตลอดจนถึงภาพถ่ายและผลงานสื่อผสม นิทรรศการ 'The Longest Way Round is the Shortest Way Home' มุ่งหวังที่จะเสริมสร้างบทสนทนและข้อโต้แย้งในประเด็นภายใต้การรวมกลุ่ม, แยกตัว, และการยอมรับทางสังคมทั่วชายแดนภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะเดียวกันก็วางรากฐานเพื่อการวิจัยภาคพื้นเกี่ยวกับแรงงานไทใหญ่ในเชียงใหม่ของของนนทวัฒน์ในภาพยนตร์ขนาดยาวภายใต้หัวข้อเดียวกัน

เกี่ยวกับศิลปิน
นนทวัฒน์ นำเบญจพล ทำงานในเชิงภาพยนตร์บันเทิงคดีและสารคดี ในปี 2013 เขาได้เปิดตัวสารคดีเรื่องแรก ‘ฟ้าต่ำแผ่นดินสูง’ เกี่ยวกับผู้คนในชายแดนไทย-เขมร ซึ่งได้ฉายรอบปฐมทัศน์ ณ Berlin International Film Festival ประเทศเยอรมันนี ในปีเดียวกันนั้น นนทวัฒน์ก็ได้สร้างสารคดีเรื่องใหม่ “สายน้ำติดเชื้อ” เกี่ยวกับชาวบ้านในคลิตี้ที่ได้รับผลกระทบโดยน้ำปนเปื้อตะกั่ว ‘สายน้ำติดเชื้อ’ เป็นสารคดีเรื่องแรกที่ได้รับรางวัล ‘Special Mention’ จาก Locarno Film Festival ในปี 2016 นนทวัฒน์ได้สร้างผลงานสารคดีกึ่งบันเทิงคดี #BKKY ซึ่งได้ฉายรอบปฐมทัศน์ที่ Busan International Film Festival และได้รับรางวัล Jury Award ในสาขาภาพยนตร์ขนาดยาวจาก Lesbisch Schwule Filmtage เมืองฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมันนี ตั้งแต่ปี 2016 นนทวัฒน์ได้ทำงานที่ชายแดนไทยและเมียนมาร์เพื่อสำรวจชีวิตของวัยรุ่นในค่ายทหารของรัฐฉาน จากประสบการณ์ท่ีเขาได้สร้าง ‘Soil Without Land’ ซึ่งได้ฉาย ณ เทศกาลภาพยนตร์ขนาดใหญ่ ประกอบด้วย Vision du reel เมืองนียง ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และ DMZ DOCS กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้

เกี่ยวกับภัณทารักษ์
Loredana Pazzini Paracciani เป็นภัณทารักษ์อิสระ นักเขียน และผู้บรรยายเกี่ยวกับศิลปะร่วมสมัยในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ผลงานวิจับและการทำงานในด้านภัณทารักษ์ของเธอมุ่งไปที่ประเด็นทางสังคมและการเมืองในเอเซียอาคเนย์ โดยสนับสนุนวาทกรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่ออำนาจนิยม และความไม่ยึดถือตะวันตกเป็นศูนยน์กลาง เธอคิวเรท Diaspora: Exit, Exile, Exodus of Southeast Asia ในปี 2019 ที่ MAIIAM Contemporary Art Museum และ Architectural Landscapes: SEA in the Forefront ในปี 2015 ณ Queens Museum รวมไปถึงนิทรรศการอื่นๆ เพื่อแกลเลอรี่เชิงพาณิชย์ในสหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร และในเอเซียอาคเนย์ บทควาของเธอได้ตีพิมพ์ใน Frames Cinema Journal ภายใต้ University of St Andrews สหราชอาณาจักร; Convocarte: Revista de Ciências da Arte ภายใต้ Lisbon University ประเทศปอร์ตุเกศ; และ M.A.tter Unbound ภายใต้ LASALLE College of the Arts ประเทศสิงคโปร์ เธอเป็นสมาชิกกลุ่มAssociation for Southeast Asian Studies ในสหราชอาณาจักรและ Research Network for Transcultural Practices in the Arts and Humanities ภายใต้ Berlin University Lordena และ Patrick D. Flores ได้ร่วมเป็นกองบรรนาธิการในการรวบรวมบทความของ Interlaced Journeys: Diaspora and the Contemporary in Southeast Asian Art, ตีพิมพ์ในปี 2020 โดย Osage Art Foundation ประเทศฮ่องกง

----------//----------

The Longest Way Round is the Shortest Way Home is Thai film director Nontawat Numbenchapol’s debut exhibition at Gallery VER, and his first-ever large-scale installation in an on-site gallery.

Echoing the idiom that suggests shortcuts are not, always, the best way, 'The Longest Way Round is the Shortest Way Home' reflects on the complexities of the migratory life and on its precariousness, often endeavored without legal documents. Contrary to what may have initially appeared as a shortcut to a better life, the act of crossing the border, specifically from Myanmar to Thailand in 'The Longest Way Round is the Shortest Way Home', manifests as an unsustainable choice. Systematically marginalized, immigrants often have no other options than limited freedom, or to return to the homeland.

Focusing on Shan laborers in Chiang Mai, the ethnographical framework of 'The Longest Way Round is the Shortest Way Home' incorporates Numbenchapol’s observations and on-site research by way of unique footage shot in the inlands of Myanmar to trace the journey of a young man as he returns, after six years, to his village in the Shan State to visit his family and to process his much-needed national identity documents.

Filmed alone without accompanying crew, Numbenchapol’s footage serves as a collection of visual field notes that reveal the protagonist’s views on his migratory life, the pain of leaving behind his homeland, and his expectations while embracing a new life across the border. At the same time, the footage fuels larger questions of belonging and unbelonging to one’s own homeland and on the meaning of identity, social or otherwise, in the making of an individual.

Encompassing immersive video and sound installations, as well as photography and mixed-media works, 'The Longest Way Round is the Shortest Way Home' aims to facilitate dialogues on contentions of inclusion, exclusion and societal acceptance across Southeast Asian borders, while also establishing the foundation for Numbenchapol’s ground research on Shan laborers in Chiang Mai for a feature-length film on the same topic.

About Artist
Nontawat Numbenchapol works in fiction and documentary films. In 2013, he released his first documentary, Boundary, about the people at the Thai-Cambodia border. The film premiered at Berlin International Film Festival, Germany. In the same year Numbenchapol completed his second documentary, By the River, about the Klity villagers affected by water lead contamination. By the River was the first Thai film to receive the Special Mention award from the Locarno Film Festival. In 2016 Numbenchapol created an hybrid docu-fiction #BKKY, which was premiered at Busan International Film Festival and received the Jury Award for best feature- length film from Lesbisch Schwule Filmtage Hamburg, Germany. Since 2016 Numbenchapol has been working at the border between Thailand and Myanmar investigating the life of the youngsters in the military camps of the Shan State Army. Based on that experience he produced Soil without Land which has been screened at major film festivals including Vision du reel, Nyon, Switzerland and DMZ DOCS, Seoul, South Korea. His current research is focused on displaced ethnic minorities from Myanmar to Chiang Mai.

About Curator
Loredana Pazzini-Paracciani is an independent curator, writer and lecturer of Southeast Asian contemporary art. Her research and curatorial practice revolve around critical sociopolitical issues in Southeast Asia, advocating a counter-hegemonic and non-Western-centric discourse. She curated Diaspora: Exit, Exile, Exodus of Southeast Asia (2019) at MAIIAM Contemporary Art Museum and Architectural Landscapes: SEA in the Forefront (2015) at Queens Museum, along with several exhibitions for commercial galleries in the US, UK and Southeast Asia. She has published in Frames Cinema Journal, University of St Andrews, UK; Convocarte: Revista de Ciências da Arte, Lisbon University, Portugal; and M.A.tter Unbound, LASALLE College of the Arts, Singapore, among others. She is a member of the Association for Southeast Asian Studies in UK, and Research Network for Transcultural Practices in the Arts and Humanities, Berlin University. Together with Patrick D. Flores, Loredana co-edited the anthology Interlaced Journeys: Diaspora and the Contemporary in Southeast Asian Art, published in 2020 by Osage Art Foundation, Hong Kong.

Exhibition date: 
11 Jul 2020 - 12:00 to 22 Aug 2020 - 18:00