^ Back to Top

นิทรรศการการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 59

นิทรรศการการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 59

นิทรรศการการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 59 โดยผลงานจะเปิดให้เข้าชมระหว่างวันที่ 4 กันยายน - 27 ตุลาคม 2556 ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น 9 โดย มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับกรมศิลปากร สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย และหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

มหาวิทยาลัย ศิลปากร ได้ดำเนินการจัดการแสดงงานศิลปกรรมแห่งชาติร่วมกับกรมศิลปากร ตั้งแต่ครั้งที่ 1 ปี 2492 โดย ศาสตราจารย์ศิลป์  พีระศรี  ปูชนียบุคคลในด้านศิลปะของชาติเป็นผู้ริเริ่มจัดขึ้น และได้นำมาแสดงให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าชม    

ในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 13 ซึ่งตรงกับปี พ.ศ. 2505 เป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระ-เจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติเป็นครั้งแรกและในการแสดง ศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 14 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานภาพฝีพระหัตถ์ให้อัญเชิญเข้าร่วมเป็นครั้งแรก และพระราชทานภาพผลงานฝีพระหัตถ์ให้อัญเชิญเข้าร่วมแสดงด้วยทุกครั้ง  และมหาวิทยาลัยก็ยังคงจัดการแสดงศิลปกรรมกรรมแห่งชาติร่วมกับกรมศิลปากรสืบ เนื่องจนกระทั่งถึงการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 14 ปี 2506 มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ย้ายสังกัดมาขึ้นอยู่กับทบวงมหาวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยศิลปากรจึงได้ดำเนินการจัดแสดงผลงานศิลปกรรมแห่งชาติ ตั้งแต่ ครั้งที่ 15 ปี 2507 แต่ยังคงมีการแสดงผลงานให้ประชาชนได้เช้าชม ณ พิพิทธภัณฑสถานแห่งชาติ  ถนนเจ้าฟ้า  กรุงเทพฯ ในเดือนกันยายนของทุกปีแจนถึงปัจจุบัน นับเป็นครั้งที่ 59 

การแสดงศิลปกรรมแห่งชาตินับเป็นกิจกรรมที่สำคัญของประเทศ ที่ส่งเสริมการสร้างสรรค์ของศิลปิน และเปิดโอกาสให้เหล่าศิลปินได้แสดงออกถึงศักยภาพในด้านศิลปะ-วัฒนธรรม ซึ่งจะเป็นประโยชน์เกื้อกูลต่อการสร้างอารยธรรมของไทยสืบไป อีกทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้ศิลปินได้ใช้แนวคิดที่เป็นอิสระของตนเอง ในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีลักษณะหลากหลาย เกิดการพัฒนาแนวทางการสร้างสรรค์ศิลปกรรมร่วมสมัยที่แตกต่างไปจากเดิม  ซึ่งจะเห็นได้จากการก้าวกระโดดของผลงานที่ส่งประกวดในแต่ละปี  ทำให้เราเล็งเห็นได้ว่าการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติเป็นโครงการหนึ่งที่ส่ง เสริมศิลปินให้ได้มีโอกาสแข่งขันกันสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมให้มีระดับสูง ถึงขั้นมาตรฐานทัดเทียมกับนานาชาติตลอดจนให้ประชาชนชาวไทยได้มีความรู้ความ เข้าใจและมีโอกาสชื่นชมความงดงามของศิลปกรรมร่วมสมัย

 

ผลงานที่นำมาแสดงเป็นผลงานที่ทางมหาวิทยาลัยได้ทำการเชิญชวนบุคคลทั่วไปให้ เข้าร่วมส่งผลงานโดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกและตัดสินผู้ทรงคุณวุฒิ และมีความสามารถมาเป็นผู้คัดเลือกและตัดสินผลงาน เพื่อเลือกสรรผลงานที่มีคุณภาพสูงที่สุดในการประกวดในครั้งนั้นๆ ในปีนี้ได้มีการคัดเลือกคณะกรรมการคัดเลือกและตัดสิน  จำนวน 9 ท่าน  ได้แก่

1. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ชลูด     นิ่มเสมอ กรรมการ

2.  ศาสตราจารย์เกียรติคุณประหยัด  พงษ์ดำ กรรมการ

3. อาจารย์ ถวัลย์     ดัชนี กรรมการ

4. ศาสตร์เมธีนนทิวรรธน์     จันทนะผะลิน กรรมการ

5. ศาสตราจารย์ เดชา   วราชุน กรรมการ

6. ศาสตราจารย์เกียรติคุณอิทธิพล    ตั้งโฉลก กรรมการ

7. ศาสตราจารย์ปรีชา   เถาทอง กรรมการ

8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมพร   รอดบุญ กรรมการ

9. รองศาสตราจารย์เข็มรัตน์   กองสุข กรรมการ

 

ในการนี้ได้เชิญชวนให้ศิลปินเข้าร่วมส่งผลงาน 4 ประเภท โดยสามารถส่งผลงานได้ประเภทละไม่เกิน 3 ชิ้น (ผลงานศิลปกรรมทุกประเภทต้องมีขนาด กว้าง ยาว สูง แต่ละด้านไม่เกิน  ๒.๘๐ เมตร รวมกรอบและฐาน)

การจัดการแสดงครั้งนี้ได้เชิญชวนให้ศิลปินสัญชาติไทยจัดส่งผลงานศิลปกรรม เข้าร่วมประกวดและแสดง โดยแบ่งประเภทของผลงานศิลปกรรมเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ประเภทจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ และสื่อประสม   โดยกำหนดรางวัลดังนี้

ประกาศนียบัตรเกียรตินิยม  อันดับ 1   เหรียญทอง   และเงินรางวัล 150,000 บาท

ประกาศนียบัตรเกียรตินิยม  อันดับ 2   เหรียญเงิน   และเงินรางวัล   100,000 บาท

ประกาศนียบัตรเกียรตินิยม  อันดับ 3   เหรียญทองแดง และเงินรางวัล  80,000 บาท

 

นอกจากนี้ยังมีรางวัลสนับสนุนของธนาคารกรุงไทย  แบ่งเป็น 2   ประเภทรางวัล  ดังนี้

รางวัลสนับสนุนโดยธนาคารกรุงไทย  รางวัลที่   1 เงินรางวัล 120,000 บาท

รางวัลสนับสนุนโดยธนาคารกรุงไทย  รางวัลที่   2 เงินรางวัล  80,000 บาท

 

และเพื่อเป็นการส่งเสริมประชาชนให้เกิดความสนใจในงานศิลปกรรมร่วมสมัย และกระตุ้นให้ศิลปินไทยมุ่งมั่นสร้างสรรค์งานศิลปะอันมีคุณค่าและให้มีความ ก้าวหน้ายิ่งขึ้น มหาวิทยาลัยศิลปากรจึงกำหนดคุณสมบัติของศิลปินผู้ที่สมควรจะได้รับเกียรติ ยกย่องให้เป็นศิลปินชั้นเยี่ยม ดังนี้   

1. ศิลปินผู้ได้รับประกาศนียบัตรเกียรตินิยม เหรียญทองครบ 3 ครั้ง ในประเภทเดียวกัน

2. ศิลปินผู้ได้รับประกาศนียบัตรเกียรตินิยม เหรียญทอง 2 ครั้ง กับเหรียญเงิน 2 ครั้ง ในประเภทเดียวกัน

ปรากฏว่ามีศิลปินผู้สนใจจัดส่งผลงานรวมทั้งสิ้น จำนวน 171  คน จากผลงานศิลปกรรม 278 ชิ้น   โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ประเภทจิตรกรรม ผลงาน 161 ชิ้น

ประเภทประติมากรรรม ผลงาน  26 ชิ้น

ประเภทภาพพิมพ์ ผลงาน  63 ชิ้น

ประเภทสื่อประสม ผลงาน  28 ชิ้น

 

ในปีนี้ไม่มีผลงานในประเภทใดได้รับรางวัลเหรียญทอง รางวัลสูงสุดที่ได้รับในปีนี้เป็นรางวัลเหรียญเงินจำนวน 6 รางวัล  รางวัลเหรียญทองแดง 8 รางวัล  และรางวัลสนับสนุนของธนาคารกรุงไทย รางวัลที่ 2 จำนวน 12 รางวัล นอกจากผลงานศิลปกรรมที่ได้รับรางวัลแล้ว  ยังมีผลงานศิลปกรรมที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมแสดงรวมทั้งสิ้นจำนวน 76  ชิ้น  

Exhibition date: 
4 Sep 2013 - 09:00 to 27 Oct 2013 - 16:00