^ Back to Top

นิทรรศการ "ประสาทแดก :The Nerve that Eats Itself"

นิทรรศการ "ประสาทแดก :The Nerve that Eats Itself"

นิทรรศการ "ประสาทแดก :The Nerve that Eats Itself" ผลงานโดย เถกิง พัฒโนภาษ (Takerng Pattanopas) จัดแสดงระหว่างวันที่ 10 พฤศจิกายน - 28 ธันวาคม 2561 ณ แกลเลอรี่เว่อร์ : Gallery VER

The Nerve that Eats Itself ประสาทแดก
By Be Takerng Pattanopas
Venue: Gallery VER
From: 10th November - 28 December 2018
opening reception: 10 November 2018 from 6 pm onwards

แกลเลอรี VER ยินดีเสนอนิทรรศการประติมากรรมและงานวาดเส้น โดย เถกิง พัฒโนภาษ ที่ใช้เวลาสรรค์สร้างกว่าสองปี. นี่นับเป็นนิทรรศการเดี่ยวครั้งที่ 5 ตั้งแต่แสดงเดี่ยวครั้งแรกในประเทศอังกฤษเมื่อปี 2541 และหลังจากแสดงในหลายนิทรรศการกลุ่มทั้งในกรุงเทพและต่างประเทศ.

เราล้วนตกอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงต่อสงครามและมหันตภัยธรรมชาติ. ผลงานใน The Nerve that Eats Itself ประสาทแดก เป็นซีรี่ส์ของประติมากรรมติดผนัง ซึ่งเสนอทางออกที่เข้าไปแตะส่วนลึกของใจ เข้าไปถึงแกนของเซล. มหาโกลาหล แต่งานเหล่านี้กลับพาเรากลับมารับพลังอ่อนโยน จากรูปทรงซับซ้อนคล้ายรูปแบบของพลังต่างๆในธรรมชาติ ตั้งแต่อนุภาคไปจนถึงเอกภพ. และหากให้เวลาเพ่งพินิจนานพอ ผู้ชมก็อาจถูกโน้มใจให้ได้สัมผัสความสงบอันหาได้ยากยิ่ง ณ นาทีนี้.

แบนราบแผ่กว้างไร้กรอบ, หลอมรวมผิวตื้นเป็นเนื้อเดียวกับความลึก. เมื่ออยู่เบื้องหน้างานเหล่านี้ สิ่งที่เราเห็น คือภาพขยายจากกล้องจุลทรรศน์ สลับไปมากับภาพภูมิประเทศพิลึกและใหญ่จนทำให้เราตัวลีบเล็ก. ประติมากรรมเหล่านี้ ‘กระเทือน’สายตา, ดูคล้ายโครงกระดูก หรือหนามแหลม, เบียดเสียดก่อตัวเป็นรูปซับซ้อน คล้ายโครงข่ายเนตเวิร์ค, เซลมนุษย์, เซลประสาท, หรือชิ้นส่วนจากใต้ทะเลลึก. แต่เมื่อรับแสงส่องก็ระยิบระยับ จนงานขนาดใหญ่ดูราวไร้มวลไร้น้ำหนัก. กลไกรับรู้กลับกลอกที่ว่านี้เป็นแกนในงานศิลปะของเถกิง: ระหว่างความเป็นวัตถุ กับ อวัตถุ, ระหว่างสิ่งคุ้นเคย กับ สิ่งลี้ลับ. ภาพของพลังงานที่มองไม่เห็น ประจักษ์ต่อตา.

ชื่อของนิทรรศการ โยงใยไปถึงแนวคิดที่ว่า สรรพสิ่งย่อมดับสูญ หรือความจริงที่ชีวิตของเราล้วนจบลงด้วยความว่างเปล่า. The Nerve that Eats Itself ประสาทแดก แสดงถึงวุฒิภาวะของศิลปินที่่เพียรค้นสร้างภาษาศิลปะเพื่อสำแดงประเด็นเหล่านี้ให้ปรากฏ. ทุกสิ่งล้วนขยับขับเคลื่อนไปสู่สภาวะอันไร้ขอบเขต.

เกี่ยวกับศิลปิน
เถกิง พัฒโนภาษ ทำงานศิลปะในกรุงเทพ เป็นคนที่สองที่จบปริญญาเอกทางประติมากรรม โดยเป็นศิษย์ของ Professor Andrew Stonyer แห่ง Cheltenham & Gloucester CHE ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นคนแรกของโลก. เถกิง เคยแสดงนิทรรศการเดี่ยวมาหลายครั้งแล้ว เช่น What I Don’t Know That I Know (2556) ที่ H Gallery, กรุงเทพ; Compulsive Orders (2554) ที่ Tally Beck Contemporary นิวยอร์ค; Permanent Flux (2552) ที่ GMT+7 บรัสเซลส์; และ Interior Horizons (2551) ที่ Catherine Schubert Fine Art, กรุงเทพ. อินสตอลเลชั่น GAP the Mind (2555) ได้รับเลือกให้แสดงใน i Light Marina Bay 2012 ที่สิงคโปร์; เถกิงเคยนิทรรศการกลุ่มมากครั้ง เช่น Oscillations (2559), ที่หอศิลป์วิทยนิทรรศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี Lyno Vuth เป็นภัณฑารักษ์; Monologue Dialogue MD4 (2560) ที่ the Koppel Project ลอนดอน; Monologue Dialogue MD3 (2557) ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพฯ (BACC); Gentle Matter (2556) ที่ Richard Koh Fine Arts, สิงคโปร์; Unspeaking Engagements (2553) at Lancaster Gallery, โคเวนทรี อังกฤษ; From Surface to Origin: journeys through recent art from India and Thailand (2551) ที่ Gallery Soulflower in กรุงเทพ; และ Prana: Art, Light, Space (2550) ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพฯ.

-------------------------

Gallery VER is very pleased to announce an exhibition of sculptures and drawings by Be Takerng Pattanopas. This is his fifth solo exhibition since 1998; and he has been included in many exhibitions internationally.

We are all under the threat of wars and natural catastrophes. The Nerve That Eats Itself are a series of sculptures that attempt to offer consolation in touching the core of viewers’ bodies and minds. However chaotic the compositions may seem, viewers can sense various forms of energy from the subatomic to cosmic. By taking time to slowly contemplate these works, viewers may discover a rare experience of inner peace.

These sculptures are expansive, wall-bound, and meld surface and depth. And they disorient our sense of scale, challenging our perception to oscillate between a sense of microscopic views rendered large or strangely detailed landscapes that render us small. Visceral, web-like, skeletal and bristling, these intricately shaped forms suggest networks: human cells, neurons, and also perhaps the minutiae of underwater worlds. But their denseness is also relieved by the play of light and the works can appear weightless. This shifting perception is the core of Be Takerng’s practice: between the material and immaterial and recognition and the unknown. Energy made visible.

The title refers to ideas of gradual disappearance or the profound insight of our existence: all ends as nothing. The Nerve that Eats Itself represents a maturity in the artist’s pursuit of an artistic language acute to this interest. All moves and shifts towards an ethereal infinitude.

About artist
Be Takerng Pattanopas is based in Bangkok. A graduate from Chulalongkorn University, University of Wales, Cardiff, and later Cheltenham & Gloucester CHE with a PhD in sculpture. His recent solo exhibitions include What I Don’t Know That I Know (2013) at H Gallery, Bangkok; Compulsive Orders (2011) at Tally Beck Contemporary in New York City; Permanent Flux (2009) at GMT+7 in Brussels; and Interior Horizons (2008) at Catherine Schubert Fine Art in Bangkok. His largest installation to date, GAP the Mind (2012) was commissioned for i Light Marina Bay 2012 in Singapore; recent group exhibitions include Oscillations (2016), curated by Lyno Vuth at the Art Center of Chulalongkorn University, Bangkok; Monologue Dialogue MD4 (2017) at the Koppel Project in London; Monologue Dialogue MD3 (2014) at the Bangkok Art and Culture Center (BACC); Gentle Matter (2013) at Richard Koh Fine Arts, Singapore; Unspeaking Engagements (2010) at Lancaster Gallery, Coventry School of Art and Design, Coventry, England; From Surface to Origin: journeys through recent art from India and Thailand (2008) at Gallery Soulflower in Bangkok;and Prana: Art, Light, Space (2007) at Chulalongkorn University Art Center, Bangkok.

Exhibition date: 
10 Nov 2018 - 12:00 to 28 Dec 2018 - 18:00