^ Back to Top

นิทรรศการ "เป็นเช่นอื่น อยู่ภายใน : Otherwise Inside"

นิทรรศการ "เป็นเช่นอื่น อยู่ภายใน : Otherwise Inside"

นิทรรศการ "เป็นเช่นอื่น อยู่ภายใน : Otherwise Inside" ผลงานโดย สมัคร กอเซ็ม (Samak Kosem) จัดแสดงระหว่างวันที่ 19 กรกฎาคม - 16 สิงหาคม 2561 และจะมีพิธีเปิดในวันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม 2561 เวลา 19.00 น. ณ WTF Gallery and Cafe

Otherwise Inside
Examining a Queer World in the Muslim Deep South

นิทรรศการศิลปะร่วมสมัยโดยสมัคร กอเซ็ม
“เป็นเช่นอื่น อยู่ภายใน”
สำรวจโลกของเควียร์ในสังคมมุสลิมสามจังหวัดภาคใต้
19 กรกฎาคม - 16 สิงหาคม 2561
งานเปิด วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม 2561 เวลา 19.00น.

“ปอแนใต้ปอเนาะ” เป็นชุดภาพถ่ายที่มาจากงานวิจัยภาคสนามทางมานุษยวิทยาที่พยายามทำความเข้าใจถึงความเป็นเควียร์ในสังคมมุสลิมสามจังหวัดชายแดนใต้ของไทย ซึ่งประเด็นเกี่ยวกับเพศสภาพที่หลากหลายเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนที่จะนำเอามาพูดคุย รวมถึงเกย์มุสลิมที่ไม่สามารถเปิดเผยอัตลักษณ์ทางเพศของตัวเองได้ ชุดภาพถ่ายนี้จึงเน้นเรื่องของตัวตนและการนำเสนอภาพแทนของการเป็นเกย์ท่ามกลางบริบทของกระแสรากฐานนิยมอิสลามในพื้นที่ โดยภาพถ่ายส่วนใหญ่ถูกถ่ายขึ้นในงานวิจัยภาคสนามของสมัคร์ในช่วงปี พ.ศ.2560

สมัคร์เติบโตและเรียนหนังสือในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม หรือที่เรียกว่า “ปอเนาะ” เขามักถูกล้อเลียนอยู่เสมอว่าเป็น “ปอแน” (ในภาษามลายู) หรือ “กะเทย” (ในภาษาไทย) ซึ่งเป็นคำเรียกที่ค่อนข้างแย่สำหรับเกย์หรือกับบุคคลข้ามเพศ สมัคร์เคยมีเพื่อนสนิทคนหนึ่งชื่อ “วาลัด” ที่ต่างก็ต้องเผชิญกับการใช้คำพูดล้อเลียนต่างๆ นานา แต่เธอเป็นคนที่กล้าคนหนึ่งที่กล้าแสดงอัตลักษณ์กะเทยของตัวเอง ถึงแม้ว่าเธอจะแต่งสาวไปเที่ยวบาร์กัน เธอกลับยังคงยึดการปฏิบัติทางศาสนาอย่างเคร่งครัดตามที่พ่อแม่ขอร้องไว้ ดังนั้นเธอจึงยังคงเป็นในสิ่งที่เธอต้องการเป็นได้ วาลัดละหมาดครบห้าเวลาต่อวัน ปกติเธอแต่งตัวด้วยชุดมุสลิมแบบอาหรับเวลาไปมัสยิดแล้วค่อยกลับมาเปลี่ยนชุดไปเที่ยว ใส่รองเท้าส้นสูงและกระโปรงสั้นลายเสือไปเที่ยวข้างนอก

ผู้คนที่โรงเรียนมักจะพูดกันอยู่เสมอว่า พวกเขานั้นผิดปกติ ผิดเพศ พระเจ้าจึงไม่เคยยอมรับการละหมาดของพวกเขา แต่พอตกดึกคนพวกนั้นก็ยังมาสะกิดตอนดึกเพื่อมาระบายความใคร่ด้วย เรื่องต่างๆ นี้จึงทำให้เขามีความคิดในการทำชุดภาพถ่ายชื่อ คู่มือละหมาด โดยให้เกย์มุสลิมเป็นแบบในการแสดงอากัปกริยาท่าทางเพื่อสอนการละหมาดเหมือนที่มีอยู่ทั่วไป เพื่อหวังให้ใครก็ตามที่มักตัดสินพวกเขาด้วยวาทกรรมทางศาสนาอยู่บ่อยๆ ให้เคารพพวกเขาในฐานะศาสนิกคนหนึ่งอย่างเท่าเทียมและปล่อยให้การตัดสินต่างๆ เป็นหน้าที่ของพระเจ้าเท่านั้น

งานชุดนี้ของสมัคร์ที่ต้องการพัฒนาให้เป็นโครงร่างงานวิจัยในระดับปริญญาเอกของเขาเอง เขาจึงเน้นทำงานในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในช่วงตั้งแต่ต้นปี พ.ศ.2560 โดยเขาฝึกการถ่ายรูปจากงานภาคสนาม เขาเริ่มจากการถ่ายภาพในชุดแรกๆ เพื่อทำความเข้าใจวัยรุ่นนักศึกษาเกย์ที่ยอมให้สมัคร์ได้ไปถ่ายทอดตัวตนของพวกเขา

ภาพถ่ายของสมัคร์ยังคงเน้นถึงการปฏิบัติของนักเรียนมุสลิมผู้ชายที่ “เล่นเพื่อน” ซึ่งเป็นคำที่ใช้อธิบายกิจกรรมทางเพศเดียวกันในกลุ่มเพื่อนที่พวกเขามองว่าไม่ได้แสดงถึงการเป็นเกย์ ในทางเดียวกันพวกเขาสร้างความรู้สึกถึง “ความเป็นพี่น้องกัน” โดยที่ไม่ได้ไปกระทบข้อกำหนดทางศาสนา มุสลิมชายวัยรุ่นหลายๆ คนมีมุมมองต่อการตีความการปฏิบัติของศาสนาที่เกี่ยวข้องกับร่างกายที่ทำให้พวกเขารู้สึกผิดน้อยลงเมื่อมาเกี่ยวข้องแรงปรารถนาทางเพศของพวกเขา ภาพถ่ายจึงสะท้อนถึงการนิยามที่คลุมเคลือของความสัมพันธ์ระหว่างผู้ชายด้วยกันภายในกรอบที่เกิดขึ้นในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม

การผลิตสร้าง “โบรมานส์” วัฒนธรรมรุ่นพี่รุ่นน้องที่เอื้อให้เพศวิถีลื่นไหลและนิยามไปหลายรูปแบบ ภาพถ่ายจึงนำเสนอในเชิงวิธีวิทยาแบบชาติพันธุ์วรรณาเชิงสะท้อนย้อนคิด จากประวัติชีวิตของตัวผู้ศึกษาเอง งานภาพชุดนี้จึงมีส่วนสำคัญต่อการรื้อฟื้นเอาความทรงจำทางเพศขึ้นมาเพื่อตอบคำถามประเด็นเรื่อง “รักร่วมเพศในศาสนาอิสลาม” การตีตราบาป การสำนึกผิด การกดทับอารมณ์ความใคร่ และการสูญเสียตัวตนจากการถูกนิยามทางศาสนาโดยเฉพาะเรื่องร่างกายและเพศสภาพ โดยเฉพาะวิธีการที่ศาสนาเข้ามาจัดการกับร่างกายและเพศสภาพจากการตีความจากตัวบทหลักการ ทั้งจากในคัมภีร์และคำสอนอิสลาม ร่างกายกับเพศสภาพที่ถูกสร้างบรรทัดฐาน ท้ายที่สุดกลายเป็นเพียง “พวกผิดเพศที่ถูกสาปแช่ง” และการถูกผลิดซ้ำด้วยความคิดขั้วตรงข้ามจากวาทกรรมทางศาสนาว่าด้วยร่างกาย การใช้คำอธิบายที่ตีความเรื่องความสัมพันธ์ทางเพศของผู้ปฏิบัติการ การเปิดเสียงให้เล่าเรื่องที่สังคมมุสลิมมักไม่ยอมรับว่าเกิดขึ้น มีตัวตน และถูกทำให้เป็นความพร่าเลือนเมื่อเอ่ยถึงเพศที่สามในบริบทของศาสนาอิสลาม และต้องการเสนอถึงความลักลั่น ยอกย้อนของความคิดรากฐานนิยมอิสลามต่อเรื่องเพศสภาพในสังคมไทย

สมัคร์ กอเซ็ม
พ.ศ.2527, กรุงเทพฯ

สมัคร์ทำงานในด้านมานุษยวิทยาเชิงทัศนาและงานวิจัยของเขาที่กำลังทำอยู่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เน้นเรื่องสังคมวัฒนธรรมของชาวมุสลิมและประเด็นด้านอมนุษย์ เขาใช้ภาพถ่ายและชาติพันธุ์วรรณาศิลปะในฐานะวิธีวิทยาเพื่อที่จะสะท้อนมุมมองในงานศึกษาของเขา สมัคร์สนใจประเด็นเควียร์ศึกษา เน้นเรื่องกลุ่มรักร่วมเพศในศาสนาอิสลาม เพื่อเข้าใจถึงข้อจำกัดต่อมุมมองด้านเพศสภาพในพื้นที่ เขาจบการศึกษาปริญญาตรีและโททางด้านมานุษยวิทยาวัฒนธรรมจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ งานศึกษาของเขาส่วนใหญ่ตีพิมพ์ในหนังสือและวารสารทางวิชาการ

เควียร์มุสลิมเป็นงานนิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกของสมัคร์ และงานชิ้นอื่นๆ ของเขาได้รับคัดเลือกให้ร่วมจัดแสดงในบางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ ที่จัดขึ้นครั้งแรกในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ.2561

บทสัมภาษณ์ของเขาล่าสุด สามารถอ่านได้ที่ : prachatai.com/journal/2018/04/76449

========

Otherwise Inside
Examining a Queer World in the Muslim Deep South
Exhibition by Samak Kosem

19 July – 16 August 2018
Opening Reception 19 July 2018, 7pm 
WTF Gallery Bangkok

“Pondan under the Pondok’ is a photography series based on my anthropological field research trying to understand queerness in the Muslim society of Thailand’s Deep South, where LGBT issues are a very sensitive topic to discuss and gay people often cannot reveal their sexual identity. This series is mainly about the self and representation of being queer amidst Islamic fundamentalism. The photographs were taken during Samak's field research in 2017.

As he grew up and studied in an Islamic school (pondok), Samak was often bullied as a ‘pondan’ (in Melayu) or ‘kratoey’ (in Thai), which are more or less derogatory terms for gay or transsexual people. Samak had a close friend called Walad who suffered the same everyday abuse but was much braver in expressing his gay identity, sometimes cross-dressing when we went to bars. Yet his parents were very devout Muslims, and as long as Walad obeyed them in certain things he was free to be he wanted. He prayed five times a day, he wore Arabic dress to the mosque, and then he changed into his going-out clothes with high-heeled boots and a leopard-print miniskirt.

People at school were forever telling them that because of their aberrations God would never accept their prayers. But they also came to their rooms for sex at night. This gave him the idea for a Muslim Prayer Book that took gay Muslims as the model for learning how to pray for other people to respect us as equals and leave the judging to God.

This also formed the basis for his field research in the Deep South Thailand in early 2017 to develop my Ph.D. proposal on homosexuality in Islam. To do that, he taught myself photography, making a first series that tried to understand young gay students, gradually winning their trust so they would allow me to capture their real selves.

Samak's photography also focuses on the practice of many male Muslim students of “len pheuan”, a term signifying same-sex sexual activities among their peers that they do not perceive as gay. In this way they create a sense of “brotherhood” without ostensibly violating religious precepts. Young Muslim men in his view interpret religious practices on bodily principles to make them feel less guilty about their sexual desire. The photos reflect this ambiguous definition of male same-sex relationships in the paradigm of Islamic schooling.

This constructed “bromance” highlights the fluidity of sexuality and its diverse dynamics. This photograph employ a reflexive ethnographic approach, drawing on his own experience from when he was twelve years old to approach sensitive questions of Muslim homosexuality through the experiences of rebellion, atonement, hidden desire and losing the self in religious discourse and textual interpretation focused on concepts of the body and sexuality in the Qur’an and Islamic morality. The photos, therefore, aim to understand socio-cultural and sexual relations by opening a space for gay Muslim voices that have long been hidden and blanked out by Islamic fundamentalism in Thailand.

Samak Kosem
Born 1984, Bangkok, Thailand

Samak Kosem works in the field of visual anthropology and his recent research in the Deep South focuses on Muslim culture and and nonhuman subjects. He uses photography and art ethnography as a methodology to reflect aspects of his studies. Samak is interested in queer studies, focusing on homosexuality in Islam to understand the limits of gender perspective in the region. He holds a BS and MA in cultural anthropology from Chiang Mai University. Most of his work has been published in books and academic journals.

Queer Muslim will be Samak's first solo photography exhibition. His other set or works are recently selected to participate in the first Bangkok Art Biennale 2018 in October 2018.

His latest interview (In Thai): prachatai.com/journal/2018/04/76449

Visitor information
WTF Café & Gallery 
7 Sukhumvit Soi 51, Wattana, Klongton-Nua, Bangkok 10110
www.wtfbangkok.com
BTS: Thonglor Opening times: Tuesday – Sunday, 4-10pm 
Free Admission

For further information please contact:
Somrak Sila, Christopher Wise
Tel: +66 (0)2 662 6246, +66 (0)89 926 5474, +66 (0)89 926 5159

Exhibition date: 
19 Jul 2018 - 17:00 to 16 Aug 2018 - 01:00