^ Back to Top

นิทรรศการ "งู - กิน - หาง : Ouroboros"

นิทรรศการ "งู - กิน - หาง : Ouroboros"

นิทรรศการ "งู - กิน - หาง : Ouroboros" ผลงานโดย ต่อวงศ์ วุฒิวงศ์ (Torwong Wutthiwong), พรภพ สิทธิรักษ์ (Phornphop Sittirak), ประเสริฐ ยอดแก้ว (Prasert Yodkaew) และ สาธิต รักษาศรี (Satit Raksasri) จัดแสดงระหว่างวันที่ 9 กุมภาพันธ์ - 9 มีนาคม 2561 และจะมีพิธีเปิดในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 18.00 น. ณ Bridge Art Space

Opening on 9 February 2018 at 5P.M.
Exhibition until 9 March 2018
at Bridge Art Space,
Charoen Krung, Bangkok

Artist: 
Torwong Wutthiwong
Phornphop Sittirak
Prasert Yodkaew 
Satit Raksasri

Ngu - Kin - Hang
“Snatch the babies from mother snake” is a traditional Thai folk game that originated in 1932. This game imitates the behavior of animals and is a popular game to play in festive environments. Players are divided into 2 teams. One is the side of the father snake, and the other is the mother and her babies, holding on to the mother in a line, forming a tail. The father then tries to catch the babies and the mother tries to defend them. Once a baby has been snatched, the baby is out of the game. The game continues until the last baby is snatched.

Ouroboros
The ouroboros is a symbol of the cycle of birth and rebirth, destruction and growth, and the cyclical nature of reality, that has been an important part of many different mythologies.

Bridge Art Space presents an exhibition of 4 Thai artists in a cycle of communication without words, conveying messages through work that derives from memories that always end up in a circle.

Torwong Wutthiwong aims to turn bits and pieces into keepsakes that tell stories that trigger thoughts of the past.

The reality and everyday life of Phornphop Sittirak is taken as inspiration to create work. With the pieces "Still - life" in 2018 and “Daily Life Sound And Image 2018”, Sittirak talks about lives manipulated and stuck in the notion of propaganda that can’t be avoided or escaped.

Prasert Yodkaew's “Nightmare” is difficult to envision. It shows that nightmares are easier for us to recollect than other kinds of dreams. His work tells a story of feeling trapped, and other emotions and thoughts.

This art work of Satit Raksasri is called “No One, Sound Of Silence”. With this piece he questions the solitude and quiet voices of people in particular places, and the obstacles that mean that even if you scream at the top of your lungs, you are still not heard.

งู - กิน - หาง
นิทรรศการจัดแสดงตั้งแต่วันที่ 9 ก.พ. - 9 มี.ค. 2018 
พิธีเปิดนิทรรศการวันที่ 9 ก.พ. 2018 เวลา 18.00 น. 
สถานที่ Bridge art space เจริญกรุง กทม

ศิลปิน
ต่อวงศ์ วุฒิวงศ์ 
พรภพ สิทธิรักษ์ 
ประเสริฐ ยอดแก้ว 
สาธิต รักษาศรี

"งูกินหาง" เป็นการละเล่นพื้นเมืองเริ่มขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2475 การเล่นงูกินหางเป็นการเล่นเลียนแบบชีวิตสัตว์ คือเลียนแบบลักษณะ ท่าทางของงูที่มีลำตัวยาวเลื้อยคดไปคดมา นิยมเล่นในงานเทศกาล งานประจำปีต่างๆ วิธีการเล่นจะแบ่ง ผู้เล่นเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายที่ 1 จะต้องเป็น "พ่องู" ฝ่ายที่ 2 "แม่งู" ที่เหลือเป็น “ลูกงู” ซึ่งผู้เล่นเป็นลูกงูจะต้อง เกาะเอวผู้เล่นเป็นแม่งู พ่องูก็จะไล่จับลูกงูจากปลายแถว ฝ่ายแม่งูจะต้องกางมือเพื่อป้องกันลูก หากลูกงูตัวใดถูกพ่องูดึงจนหลุด ออกจากแถวไป ก็จะต้องออกจากการเล่น ผู้เล่นที่เหลือก็เริ่มเล่นกันอีก จนกว่าลูกงูจะถูกจับจนหมด
Ouroboros คือสัญลักษณ์ของวัฏจักรการเกิด และการขึ้นเกิดใหม่ การทำลาย และการเติบโตขึ้น และลักษณะของวัฏจักร ของธรรมชาติในความเป็นจรืง เกิดขึ้นจริง ซึ่งถือเป็นที่ส่วนสำคัญของที่ชี้ให้เห็นถึงหลายความแตกต่างในตำนาน

Bridge art space นำเสนอ นิทรรศการกลุ่มของศิลปินไทย 4 คน การล้อมวงคุยกันแบบที่ไม่จำเป็นต้องเอยความคิดเห็นใดๆ ออกมาเป็นประโยคเพื่อบอกเล่าเรื่องราว หรือตั้งคำถามซึ่งกันและกัน ทุกคำตอบส่งออกมาเป็นผลงานที่ออกมาจากภาพจำของแต่ละคนและบ่งบอกถึงการเดินวนอยู่ในวัฏจักร (cycle) หรือวงโคจรที่หมุนวนไป และวนกลับมาอีกครั้งซ้ำๆ อย่างไม่ไปถึงไหนเลยอยู่บ่อยครั้ง และมันก็ยังคงต้องดำเนินต่อไปอย่างหดหู่อยู่แบบนั้น

ต่อวงศ์ วุฒิวงศ์ การประกอบสร้างวัตถุขึ้นเพื่อทำเป็นของ "ที่ระลึก" เพื่อระลึกถึงความทรงจำและภาพเหตุการณ์เก่าๆ ให้ของที่ระลึกนั้น ทำหน้าที่บอกเล่าเรื่องราวและกระตุ้นเตือนความทรงจำในอดีต กระทั่งทบทวนถึงปัจจุบัน ความเป็นจริงและชีวิตจริง ในชีวิตประจำวันของ

พรภพ สิทธิรักษ์ นั้นได้ถูกสรรสร้างออกมาเป็นผลงานที่ส่งผ่านมาจากข้าวของ เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของเขา ในชิ้นงานที่ชื่อว่า "Still - life" in 2018 และ "Daily life sound and image 2018 บอกถึงการใช้ชีวิตที่ถูกครอบและติดอยู่ใน Propaganda ที่ไม่สามารถหลบหลีกหรือมีปากเสียงใดๆ

"ฝันร้าย"ของ ประเสริฐ ยอดแก้ว ยากที่จะอธิบายถึงความชัดเจนในความฝัน แต่หากถ้าเป็นฝันร้ายแล้วนั้นเรามักจะจำมันได้ดี การติดอยู่ในนั้นของเขานอกจากความหวาดกลัวแล้วนั้นเค้ายัง มองเห็นและทบทวนถึงหลายสิ่งหลายอย่างที่แสดงออกมาทางความรู้สึก และข้อเท็จจริงที่อาจจะไม่เป็นความจริง

สำหรับผลงาน ของ สาธิต รักษาศรี ชุดนี้มีชื่อว่า "ไม่มีใคร เสียงแห่งความเงียบ" เขาได้ตั้งคำถามกับความเงียบในความโหวกเหวกของผู้คนในพื้นที่นั้นๆ และช่องว่างที่เกิดขึ้นซึ่งไม่ว่าจะตะโกนดังแค่ไหน ก็ไม่เคยมีใครได้ยิน

Exhibition date: 
22 Jan 2018 - 10:00 to 20:00