นิทรรศการภาพถ่าย “Escape”
นิทรรศการภาพถ่าย “Escape” ผลงานโดย มาร์เซโล วอน ชวาท์ซ (Marcelo Von Schwartz) จัดแสดงระหว่างวันที่ 7 ตุลาคม - 4 พฤศจิกายน 2560 ณ RMA institute : อาเอ็มเอ อินสติติว
RMA Institute ภูมิใจเสนอ
“Escape”
นิทรรศการ ภาพถ่าย โดย มาร์เซโล วอน ชวาท์ซ
ภัณฑารักษ์ : โอยา ไอดิน
จัดแสดงในวันที่ 7 ตุลาคม - 4 พฤศจิกายน 2560
เปิดนิทรรศการเวลา 18:00 น. - 22:00 น.ภาพจากขอบเขตที่เป็นไปไม่ได้
มาร์เซโล วอน ชวาท์ซ เป็นสถาปนิกชาวอาร์เจนติน่า, ผู้กำกับและศิลปินช่างภาพ
มุมมองงานของเขาบุกเบิกความเป็นไปได้ของภาพถ่าย ในการใช้ภาพแสดงถึงความรู้สึกของผู้มองต่อสถานที่ในโลกคู่ขนานที่นำไปสู่มิติที่ 5 ภาพของเขาเป็นเป็นภาพสามมิติและอ้างอิงถึงสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง, อนาคต, มุมมองที่หลอกหลอนประสาท ซึ่งจะสนับสนุนผู้มองในการที่จะค้นหาสิ่งที่อยู่ภายใต้พื้นผิวผ่านความคิดที่ซ่อนอยู่
การใช้ภาพถ่ายแทนการวาดภาพ ทำให้วอน ชวาทซ์สามารถแสดงสิ่งที่ไม่มีอยู่จริงด้วยสิ่งที่เป็นรูปธรรมที่มีอยู่จริง ซึ่งเป็นการสร้างความขัดแย้ง ซึ่งถือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของงานศิลปะของเขา
ขอบเขต เป็นหัวข้อสำคัญที่พูดถึงในทฤษฏีทางวัฒนธรรมในของวันนี้ แต่ทว่าส่วนใหญ่ได้อ้างอิงถึงขอบเขตในแนวคิดของนิวตัน แต่ตัวงานจากจินตนาการของวอน ชวาท์ซใช้มุมมองของสถาปัตยกรรมแบบบรรยาย(narrative architecture) เหมือนปิราเนซิ (Giovanni Battista Piranesi) ซึ่งแสดงถึง “จินตนาการ และ สิ่งสมมุติ ”
ด้วย “Escape” วอน ชวาท์ซ ได้บุกเบิกการเล่าเรื่องด้วยภาพผ่านทางขอบเขตที่เป็นไปไม่ได้เหล่านี้ สานต่อแนวคิดเก่าแก่ของสถาปนิกนักคิด จากสมัยลีโอนาร์โดไปจนถึงปิราเนซิสู่การทดลองของอาร์คิแกรม(Archigram) และเลบเบียส วูดส์ (Lebbeus Woods)
งานของวอน ชวาท์ซยังมีแรงบันดาลใจมาจากการเล่าเรื่องแบบคอร์เค ลุยส์ บอร์เคส(Jorge Luis Borges) ตามที่บอร์เคสเคยกล่าวไว้ครั้งหนึ่งว่า “จิตใจเป็นผู้ฝันแต่โลกนี้คือฝันของจิตใจ” หรือ “The mind was dreaming but the world was its dream”โอยา ไอดิน
ภัณฑารักษ์ตามที่ Ansel Adams เคยได้กล่าวไว้ว่า “คุณไม่ได้ถ่ายภาพ, คุณสร้างมันขึ้นมาต่างหาก”
การถ่ายภาพก็ถือเป็น ”ชิ้นส่วนของความจริง” ตั้งแต่วินาทีแรกที่มันเกิดขึ้นมา ถึงขนาดที่ว่ามันแทนที่ดวงตาของเราในการแสดงสิ่งที่เราสามารถไปสัมผัสได้ด้วยตัวเอง. ถ้ามองข้ามมุมมองส่วนบุคคล ในถานะ ”ความจริง” รูปภาพสามารถแสดงมุมมองจากอีกด้านหนึ่งของความเป็นจริง.
เหมือนกับที่เราอาจจะระแวงกันอยู่ รูปภาพคือ “สิ่งสะท้อนของความจริง” เพราะความจริงไม่ได้มีแค่หนึ่งเดียว ยังมีความลับอื่นๆอีกมากมายซ่อนอยู่รอบๆตัวเรา. ถึงเราจะคิดว่าสามารถอธิบายโลกนี้ได้ด้วยภาพถ่าย ถ้าอย่างนั้นแล้วโลกอื่นๆล่ะ?
รูปภาพสามารถยืนยันในความจริงบางส่วน และผมชอบที่จะใช้ความสามารถนี้เพื่อที่จะแสดงถึงความจริงที่เป็นนามธรรมอันเต็มด้วยความเป็นปัจเจก วังวน ภาพสะท้อน ความสับสน และความลึกลับ ที่บางครั้งแสดงออกอยู่ภายในสิ่งที่เต็มไปด้วยความซื่อไร้มารยา แต่สร้างด้วยพลังที่เต็มไปด้วยการภาพสัญลักษณ์ซับซ้อน
สำหรับผมตัวรูปภาพคือจุดเริ่มต้น ผมทำงานกับภาพที่ผมถ่ายโดย จะพยายามเลือกเล่นกับภาพที่สามารถนำไปเชื่อมโยงกับการมองเห็นที่เป็นภาพนามธรรม ซึ่งในการเดินทางสู่การแปลงจินตนาการสู่ความเป็นรูปธรรม ผมสร้างมันขึ้นมาใหม่ด้วยการเลือกใช้สัญลักษณ์ทรงเลขาคณิต ยืดออกหรือจัดวางส่วนประกอบบางส่วนใหม่ในรูปแบบที่ซับซ้อน และจะไปจบในรูปที่แทบจะไม่เหมือนรูปต้นฉบับ ผมอยากจะเรียกกระบวนการนี้ว่า ‘การเปลี่ยนแปลงของภาพ’ในชุดของการเลื่อนไหลของภาพนี้ ผมทำงานใต้แนวคิด “Escape”
*note Escape ทางออก การหลบหนี หลุดรอด(Escape) เป็นความปรารถนาที่เรารู้สึกในบางจุดของชีวิต ในรูปนามธรรมคือความรู้สึกส่วนตัวที่เราต้องการการตอบสนอง ยกตัวอย่างเช่น ความต้องการบางอย่าของผม, ความรู้สึกบางอย่าง, การที่รู้สึกบางอย่างต่อบางสถานที่และการตอบสนองนั้นๆ
และเหนือความรู้สึกหนักใจนั้น คือความคิดที่ว่าไม่มีทางออกที่แท้จริง
มาร์เซโล วอน ซวาท์ซ, กรุงเทพฯ, 2017.
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ :(RMA Institute) 081 490 4085(เมืองไทย), 082 458 4455(กฤตทัช), 238rma@gmail.com
________________________________________________________________
RMA Institute presents
‘Escape’
Photography Exhibition by Marcelo Von Schwartz
Curated by Oya Aydin
The exhibition on 7th October - 4th November 2017
6:00pm - 10:00pmImages from Impossible Spaces
RMA Institute Gallery is proud to present the exhibition "Escape" by Marcelo Von Schwartz.
Marcelo Von Schwartz is an Argentinian architect, Film Director and Art Photographer.
His works on view explores the photography's ability to describe the sense of places in the parallel world towards Fifth Dimension. His images are Three Dimensional and references to non existing, futuristic, psychedelic spaces, encouraging viewer to discover what is under the surface through hidden meaning.
Away from illustration, the use of photography helps Von Schwartz to show non-existing spaces with objectivity, using this contradiction as an essential element in his art.
As space is a central topic in cultural theory today, though in most cases theory assumes Newtonian absolute space. Von Schwartz's works of imagination are in perspective with narrative architecture... Like Piranesi's works, they are "Imagination and Imaginery".
Through Escape, Von Schwartz explores photographic narrative to represent these impossible spaces, resuming a long tradition of visionary architects from Leonardo and Piranesi to the experiments of Archigram and Lebbeus Woods.
Von Schwartz's works also have an influence of Jorge Luis Borges narrative... As Borges said once, "The mind was dreaming but the world was its dream".
Oya Aydin
Curator“You don’t take a photograph, you make it” as Ansel Adams used to say.
Since the moment it was born, photography was considered a “piece of reality”. In a way, it replaces our eyes to show us things we could personally reach. As “real things”. But putting aside this idea of objectivity, photography also could show us another views from another realities.
Photography is the “image of the truth”. But as we suspect, there’s not only one truth. Many others secret ones, hidden, are surrounding us. We have the idea we can explain the world with photographs. But what about another worlds?
Photographs give us a proof of some reality fact. And I like to use this power as a proof to show other subjective realities filled with esoterica, labyrinths, mirrors and mysterious images sometimes presented under an apparent naiveté, but with the power to create a complex symbolic landscape.
I work with photographs I take. But for me the picture itself is just the starting point. I try to play with the picture with the purpose to connect with some subjective visions. In the journey to transform this objectivity in an inner vision, I re-compose it using a geometric matrix, extruding it or re-ordering some selected elements according to some complex patterns, ending with a picture almost non-related with the original one. I like to call this process ‘Photomorphosis”.
In this series of Photomorphosis I worked with the idea of Escape.
Escape is a wish we all feel in some moment of our lives. As a subjective, personal feeling it looks like seeking for a subjective response. Here are some of my wishes, some of my feelings. The way I feel some places and their responses.
And beyond those troubled feelings, the suspect that there is no real escape.
MVS, Bangkok, 2017.CONTACT: (RMA Institute) 081 490 4085, 082 458 4455. 238rma@gmail.com