นิทรรศการ “เกรงใจในดีไซน์”
นิทรรศการผลงาน “เกรงใจในดีไซน์ : Considerateness in Design” จัดแสดงระหว่างวันที่ 19 - 31 กรกฎาคม 2560 และจะมีพิธีเปิดในวันพุธที่ 19 กรกฎาคม 2560 เวลา 17.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการ 2 ชั้น 2 หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน : Rajdumnern Contemporary Art Center
สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย และคณะมัณฑนศิลป์ ขอเชิญร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดนิทรรศการผลงาน "เกรงใจในดีไซน์" ในวันพุธที่ 19 กรกฎาคม 2560 เวลา 17.00 น. กล่าวปาฐกถาพิเศษ โดยศาสตราจารย์เกียรติคุณ คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ และนายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่ากระทรวงวัฒนธรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการ ณ ห้องปฏิบัติการ 2 ชั้น 2 หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน เขตพระนคร กรุงเทพฯ
ทั้งนี้ นิทรรศการผลงาน "เกรงใจในดีไซน์" จะจัดแสดง ณ ห้องปฏิบัติการ 2 ชั้น 2 หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน ระหว่างวันที่ 19 - 31 กรกฎาคม 2560 เป็นต้นไป
นิทรรศการ " ความเกรงใจในดีไซน์ "
จากวลีคุ้นเคยติดปากของคำว่า “เกรงใจ ไม่เป็นไร อะไรก็ได้” ภูมิปัญญาที่ถูกปลูกฝังอยู่ในพฤติกรรม คำพูด ประเพณีวิถีชีวิต จิตวิญญาณของคนไทยตั้งแต่สมัย ปู่ย่า ตายาย ที่ได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น จนกลายเป็นแบบอย่างวัฒนธรรมการแสดงออกถึงลักษณะนิสัยใจคอและการกระทำของคนไทย รวมไปถึงรูปแบบงานศิลปะ สถาปัตยกรรม ข้าวของเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพ โดยนัยยะของถ้อยวลีแต่ละคำดังกล่าวที่ฟังดูเรียบง่าย แต่มักแฝงไว้ซึ่งนัยยะทางวัฒนธรรมประจำชาติของคนไทย ไม่ว่าจะเป็นความโอบอ้อมอารี มีน้ำใจ ถ้อยทีถ้อยอาศัย เอาใจเขามาใส่ใจเรา อ่อนน้อม ถ่อมตน และการประนีประนอมยอมรับปรับตัวให้กลมกลืนไปกับบริบทของธรรมชาติ สภาพแวดล้อม และสังคมในรูปแบบวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงจาก วิธีความเกรงใจ สู่ เกรงใจในดีไซน์
ขณะที่ความเกรงใจที่อยู่ในสายเลือดของคนไทยในอดีต กระทั่งปัจจุบันที่กำลังเลือนหายไปกับกระแสโลกาภิวัตน์และวัฒนธรรมนำเข้าหลากหลาย ก่อเกิดแนวคิดสืบสานและสร้างสรรค์ในงานศิลปะและการออกแบบสาขาต่างๆ จากบรรดาเหล่าศิลปินและนักออกแบบหลายท่านที่ต่างมองเห็นคุณค่าความงาม ด้วยการถอดความหมายในมุมมองต่างๆไม่ว่าจะเป็น การเคารพสิทธิ การรู้จักสถานะ การมีระยะห่าง ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อสร้างเอกลักษณ์และการดำรงอยู่ของรูปแบบประเพณี วิถีชีวิต วัฒนธรรมให้ดำเนินไปตามครรลองของชีวิตอย่างพินิจ พิจารณา และละเมียดละไม กับวิถีแบบไทยๆร่วมสมัย จนกลายเป็นที่มาของผลงานสร้างสรรค์ในลักษณะต่างๆกัน เช่น เก้าอี้ แจกัน พรม โคมไฟ ภาพถ่าย เข็มกลัด ฯลฯ รวมไปถึงผลงานจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม จากศิลปินแห่งชาติและนักออกแบบแห่งปีที่ให้เกียรติส่งผลงานที่แฝงไว้ด้วยนัยยะของความเกรงใจเข้าร่วมแสดงในนิทรรศการ เกรงใจในดีไซน์ มาในโอกาสนี้
Exhibition “Considerateness in Design”
The catch phrases of “Be considerate…That’s all right…Anything whatever” are the indoctrinated wisdom in the behaviors, utterances, traditions, ways of life and spirits of Thai people which had been continuously inherited from the ancestry to the next generation. As a result, it became the archetype of expressive culture through the disposition and deed including the styles of architectural art and appliances in the professions. Although the significance of above-mentioned phrases are simple but also connote with the characteristics of Thai cultural identities; generosity, kindness, mutual dependence, thoughtfulness, respect, humbleness, compromise, adaptation with the contexts of nature, environment and society in the living pattern of sufficiency economy.
From Mode of Considerateness
To Considerateness in DesignEven though Thais in the previous times had the considerateness in one’s blood, on the other hand, the considerateness has been gradually evaporating in the trend of globalization and several cultural assimilations. All of them originated the conservative and creative concepts in the works of design arts through several fields, many artists and designers recognized and approached in the aesthetic value with various interpretations under the differential viewpoints; observance of rights, self-perception, wide berth and etc. so as to introspectively build up the specific characteristics and existences of traditions, livelihoods and cultures in harmony with trends of Thai contemporary living. They are an origin of several dissimilar styles of creative works such as chairs, vases, carpets, lamps, photographs, brooches and etc. In addition, the national artists and designers of the year conferred on joining their paintings, sculptures and architectural works which connoted with the meaning of considerateness in the exhibition “Considerateness in Design”.