นิทรรศการ “ข้ามทะเลดาว : across the sea of star”
นิทรรศการ “ข้ามทะเลดาว : across the sea of star” จัดแสดงระหว่างวันที่ 7 - 27 กรกฎาคม 2560 และจะมีพิธีเปิดในวันศุกร์ที่ 7 กรกฎาคม 2560 เวลา 19.00 น. ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : CMU Art Center
วันที่ : 7 - 27 กรกฎาคม 2560
สถานที่: อาคารแสดงงาน หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
จัดโดย : หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พิธีเปิดงาน : วันศุกร์ที่ 7 กรกฎาคม 2560 เวลา 19.00 น.------------------------------------
ศิลปิน
นิทรรศการ:เด่นวินัย ใจหล้า / Denwinai Jailar
กรกฤต อรุณานนท์ชัย / Korakrit Arunanondchai
อลิเซีย ฟรามีส / Alicia Framis
ธิติพร โกธรรม / Thitiporn Kotham
นิโค ด๊อกซ์ / Nico Dockx
อุบัติสัตย์ / Ubatsat
สิทธิกร ขาวสะอาด / SITTIKORN KHAWSA-AD
ระวิวงศ์ ทองอินทร์ / Rawiwong Thonginth
อเล็กซ์ วาง / Alex Wang
อรุณ ภูริทัต / Aroon Puritat
ธณภณ อินทร์ทอง / Tanaphon Inthong
จูเลีย ทาราเม่ย์ / Julie Toramaeการแสดงสด:
นีโอ ย้อนแยง / Neo Yonyang
ส่วนการทดลอง :
ยุพา มหามาตร / Yupha Mahamar
-----------------------------------------
“ข้ามทะเลดาว (across the sea of star)”
หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำเสนอนิทรรศการ “ข้ามทะเลดาว (across the sea of star)” การจัดและแสดงผลงานที่กล่าวถึง“ข้ามทะเลดาว” คือ หนทางแห่งความพยามที่จะข้ามไปยังพื้นที่ในอุดมคติที่มีต่อชีวิต ความเป็นอยู่ รวมทั้งสภาพทางกายภาพของพื้นที่ต่างๆ โดยนำแนวคิดเรื่องการพัฒนา มาคิดทบทวนและมองหาหนทาง ในการก้าวเดินต่อไปของสังคม โดยสะท้อนให้เห็นข้อจำกัดและความเป็นไปได้ ภายใต้เนื้อหาของการพัฒนา ในกระบวนการโลกาภิวัฒน์ (Globalization) นับเป็นกระบวนการที่มีปฏิกิริยาต่อกับ ความเป็นท้องถิ่นนิยม (Localism) ผลตามมาที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนคือแนวคิดแยกขั้วระหว่างความเป็นสากลกับความเฉพาะเจาะจงของท้องถิ่น ส่งผลให้เกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรม (Hybridization of Culture) ในยุคปัจเจกวิวัฒน์ สอดคล้องกับแนวคิดของ ‘Glocalization’ ที่แต่ละภูมิภาคของโลกมีอิทธิพลต่อกันในหลายมิติ มีการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน จนเกิดการผสมผสานและส่งผลต่อแนวคิดเรื่องการพัฒนา (Development) และปรากฏการณ์ทางสภาวะของสภาพสิ่งแวดล้อมในบริบทต่างๆ
ผลงานทั้งหมดในนิทรรศการเผยให้เห็น ความคิดเรื่องการพัฒนา และความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับดินแดนในอุดมคติ(Utopia) และมุมมองของศิลปินที่มีต่อการสร้างสรรค์ผลงาน ในประเด็นต่างๆ จากปัญหาในระบบทุนนิยมอุตสาหกรรม ความซับซ้อนในการดำเนินชีวิตที่มีผลมาจากความขัดแย้งทางการเมือง ที่ต้องแปรสภาพพื้นฐานของโครงสร้างทางสังคมในยุคดิจิทัลแบบ 4.0 กับความเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตผู้คนชุมชน รวมถึงประสบการณ์ วิธีคิด ตัวตนและการทบทวนความหมายในปฏิบัติการเชิงอุดมคติแบบต่างๆ ด้วยประเด็นการตั้งคำถาม หรือเล่าเรื่องถึงความเป็นไปได้ของ การพัฒนาที่ยั่งยืน หรือเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเอง (self-sufficiency) ซึ่งเป็นประเด็นหรือกระแสในสังคม โลก เป็นวิถีทางของความเป็นมนุษย์ ที่ต่อต้านการถูกครอบงำจากอำนาจเงินตราหรือทุนนิยม นิทรรศการนี้อาจเผยให้เห็นถึงการพัฒนาในด้านต่างๆ การทับซ้อนกันระหว่าง โลกอุดมคติและโลกแห่งความเป็นจริง ที่เราต่างเพียรพยามยามเพื่อจะข้ามไป ให้ถึงอีกฝากของฝั่งฝันตามเงื่อนไขต่างๆ เพื่อไม่ให้แกนกลางที่ว่างเปล่าอันเป็นสารัตถะสำคัญถูกกระทบ หากนี่คือความพยามยามวันแล้วคืนเล่า เพื่อที่จะเรียนรู้และต่อยอดไปสู่ความยั่งยืน บนฐานความคิดที่แตกต่างกัน.
นิทรรศการ “ข้ามทะเลดาว (across the sea of star)” เปิดให้เข้าชมระหว่างวันที่ 7 – 27 มิถุนายน 2560 ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งอยู่ที่ 239 ถนนนิมานเหมินทร์ ตำบลสุเทพ เมือง เชียงใหม่ ทุกวันอังคาร – วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09:00 น. ถึง 17:00 น. ชมฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
-----------------------------------------------
ติดต่อและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
ฝ่ายนิทรรศการหอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถนนนิมานเหมินทร์ ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง เชียงใหม่ 50200โทรศัพท์ 053 218 279 / 053 944 833
cmuartcenter@finearts.cmu.ac.th
www.cmuartcenter.cmu.ac.th
www.facebook.com/CMUartcenteเกี่ยวกับฝ่ายนิทรรศการ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ฝ่ายนิทรรศการ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดำเนินงานภายใต้ ศูนย์ศิลปกรรมและกิจกรรมพิเศษ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีหน้าที่จัดดำเนินการ และ สร้างสรรค์กิจกรรมทางศิลปะ กิจกรรมด้านการสร้างสรรค์ และด้านวัฒนธรรมรวมถึงการศึกษา โดยมุ่งหวังบริการวิชาการแก่สังคม โดยบูรณาการความร่วมมือทางวิชาการกับหน่วยงานภายนอก และสถาบันทางด้านศิลปะทั้งในและต่างประเทศ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาอื่นๆ ด้วยการดำเนินการเรียนรู้แลกเปลี่ยน และเป็นพื้นการพบปะกันระหว่างมุมมองแนวคิดที่หลากหลาย เพื่อกระตุ้นให้เกิดเกิดประสบการณ์การเรียนรู้และต่อยอดในการสร้างองค์ความรู้ทางการศึกษา