^ Back to Top

นิทรรศการ "อยากกลับไป แต่ใจอยากกลับมา"

นิทรรศการ "อยากกลับไป แต่ใจอยากกลับมา"

นิทรรศการ "อยากกลับไป แต่ใจอยากกลับมา" ผลงานโดย ยิ่งยศ เย็นอาคาร (Yingyod Yenarkarn) และ ธนภณ อินทร์ทอง (Tanaphon Inthong) จัดแสดงระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 20 พฤษภาคม 2560 และจะมีพิธีเปิดในวันที่ 1 เมษายน 2560 เวลา18.00 น. ณ แกลเลอรี่เว่อร์ : Gallery VER

อยากกลับไป แต่ใจอยากกลับมา
by ยิ่งยศ เย็นอาคาร , ธนภณ อินทร์ทอง
ที่ แกลอรี่ เว่อร์ (โปรเจ็ค รูม)
1st April - 20th May, 2017
Opening 1st April, 2017 6 pm.

Facts:
1. ประชากรโลกปัจจุบันเป็นผู้อพยพ (migrants) กว่า 240 ล้านคน ณ ปี 2015
2. ในปี 2016 แรงงานไทยในต่างประเทศส่งเงินกลับไทย 112,997 ล้านบาท
3. แรงงานไทยในต่างประเทศที่ทํางานแบบถูกระบบอยู่ไต้หวันเยอะที่สุด และทํางานในระบบโรงงานอุตสาหกรรมเยอะที่สุด
4. ภายใน 5 เดือนแรกของปี 2016 แรงงานไทยในไต้หวันส่งเงินกลับประเทศ 3.6 หมื่นล้านบาท

อยากกลับไปแต่ใจกลับมา
วัตถุศิลปะขนาดเล็กที่ประกอบกันเป็นนิทรรศการ อยากกลับไปแต่ใจกลับมา นี้ฟังก์ชั่นเป็นตัวแทนของข้อมูล และเป็นผลลัพธ์จากการที่สองศิลปินธนภณ อินทร์ทอง และ ยิ่งยศ เย็นอาคาร ไปเข้าร่วมโครงการศิลปินในพํานักชื่อ Taichung ASEAN Square Cultural Exchange Projectร่วมมือกับ 1095 Culture Studio และไปอยู่ประเทศไต้หวันครั้งแรกเป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งพวกเขาได้ไปคลุกคลีสนิทชิดเชื้อกับสังคมผู้อพยพแรงงานไทยในไต้หวัน ที่เมืองไถจงเมืองเหมี่ยวลี่และ ชุมชนตงไห่

ทั้งสองใช้การสังเกต การเจรจา และการเข้าอกเข้าใจเพื่อนมนุษย์เป็นเทคนิคหลักทางศิลปะ และได้ร่วมชีวิตประจําวันกับแรงงานไทยในไต้หวัน ตั้งแต่ร่วมตั้งวงดื่มเบียร์ลีโอ ไปเยี่ยมที่ห้องพักและโรงงาน ไปจนร่วมตกปลาและเก็บหน่อไม้ในวันหยุดได้รับรู้ถึงสังคมแรงงานไทยในต่างแดนที่ไม่เคยได้รู้จักมาก่อน จึงต้องการถ่ายทอดชีวิตและเรื่องราวของแต่ละคนที่ได้เจอ ศิลปินรวบรวมวัตถุเหลือใช้(found objects) ที่เก็บได้จากเมืองไถจง โดยวัสดุเหล่านี้เองก็มักมาจากส่วนประกอบของการก่อสร้างเมือง เช่น ซากกระเบื้องจากสถานีรถไฟ

วัตถุที่เก็บได้จากพื้นถนนธรรมดาถูกนํามาจัดวาง วาด และประดิษฐ์ขึ้นใหม่ กลายเป็นวัตถุศิลปะที่เป็นทั้งโมเดลตัวแทนเรื่องราวของชีวิตของพี่ๆแต่ละคน และในขณะเดียวกันก็คล้ายกับการเป็นของที่ระลึก (memento/relics)ที่มีคุณค่าต่อจิตใจ การติดตั้งผลงานกึ่งๆเสนอว่าวัตถุนี้เป็นคอลเลคชั่นความทรงจําและขนาดที่เล็กของวัตถุสุ่มเหล่านี้ยังบ่งบอกถึงความเป็นไปได้หลายอย่าง ทั้งเรื่องความเป็นส่วนตัว ตําแหน่งในสังคมหรือแม้แต่ความสะดวกสบายต่อการเคลื่อนย้ายและการอพยพ

แม้ว่าผลงานเหล่านี้เคยถูกจัดแสดงแล้วในนิทรรศการที่มีชื่อเดียวกันที่ไต้หวันแต่การนํากลับมาแสดงที่ประเทศไทยถือว่าเป็นการต่อเนื่องกระบวนการที่ยังไม่สิ้นสุดจากไต้หวันให้เสร็จด้วยเป็นการนําเรื่องราวเฉพาะบุคคลที่เกือบสูญหายกึ่งหลงทางไปด้วยความห่างไกลให้ข้ามน้ําข้ามทะเลกลับบ้านเสียที(แทนที่จะเป็นการส่งเงินกลับบ้านตามปกติของแรงงานไทยในต่างแดน)

สุดท้ายแล้วนิทรรศการนี้นอกจากจะชักนําให้เราเห็นรายละเอียดยิบย่อยของชีวิตประจําวันของกลุ่มแรงงานไทยในต่างแดนที่คนที่ “บ้าน”อาจจะลืมมองไป ยังเป็นการถ่ายทอดความเป็นมนุษย์ผสมไฮบริดทางวัฒนธรรมของผู้อพยพในสังคมโลกาภิวัฒน์ที่นับวันจะยิ่งเหมือนของเหลวโอนย้ายไหลง่ายได้เป็นอย่างดีเรื่องราวของพี่ๆแรงงานไทยแสดงให้เห็นสภาวะระหว่างกลาง (in-between state) –การอยู่ในทั้งสองขั้วของวัฒนธรรมไทย-ไต้หวัน หรือไม่ใช่ทั้งสอง

แต่เป็นการสังเคราะห์วัฒนธรรมขึ้นใหม่ตามเหตุการณ์พาไป ทั้งหมดนี้แล้วสําหรับมนุษย์ปัจจุบันอาจกลายเป็นสิ่งที่ธรรมดายิ่งขึ้นๆ โดยเฉพาะในยุคที่อัตราการย้ายถิ่นฐานเพื่ออาชีพเพิ่มอย่างรวดเร็วและงานของสองศิลปินก็ราวกับตั้งคําถามว่าหากคนคนหนึ่งไม่ได้อยู่กับที่แล้วจะใช้บรรทัดฐานใดวัดความเป็นคนของพื้นที่นั้นๆ และการข้ามเส้นแบ่งพรมแดนทางการเมืองได้กําหนดชีวิตคนอย่างไรบ้าง

ดังนั้นคําที่พี่หนูกล่าว “ถึงจะอยู่ที่ไหนก็ยังเป็นคน” ก็อาจถือได้ว่าเป็นคําวิจารณ์คําร้อง คําสะท้อน และยังเป็นคําประกาศอย่างภาคภูมิใจ

ต่อป้ายช่ฎอคําว่า “แรงงานไทยในต่างแดน” ซึ่งบ่งบอกสภาวะที่น่าสับสนทางตัวตนและจิตใจของมนุษย์ทํางานยุคโลกาภิวัฒน์ ที่จริงใจที่สุดอันหนึ่งก็เป็นได้

- พอใจ อัครธนกุล

---------------------------------------

อยากกลับไป แต่ใจอยากกลับมา
by Yingyod Yenarkarn & Tanaphon Inthong
at Gallery VER (Project Room)
1st April - 20th May, 2017
Opening 1st April, 2017 6 pm.

Facts:
1. The world’s migrant population was over 240 million as of 2015.
2. Thai workers abroad sent home a total of 112,997 million Baht in 2016.
3. The highest number of authorized Thai migrant workers are in Taiwan, and most of them work in manufacturing.
4. In the first five months of 2016, Thai migrants in Taiwan sent home a total of 3.6 billion Baht.

อยากกลับไปแต่ใจกลับมา
Small art objects that together make up exhibition อยากกลับไปแต่ใจกลับมา function as a representative of data and are the result from Tanaphon Inthong and Yingyond Yenakarn's residency at Taichung ASEAN Square Cultural Exchange Project in collaboration with 1095 Culture Studio. During their first time in Taiwan, for 3 months, Inthong and Yenakarn integrated themselves into the Oversea Thai worker community in Taichung, Miaoli, and Donghai.

The two artists used observation, conversation, and empathy as their primary art techniques. They joined Thai workers in Taiwan and participated in their daily routines, chitchatted over LEO beers, visited their homes and companies, and went fishing and bamboo shoot picking on their days off. All of these collected stories would later serve as the narratives for this art project.

The pair collected found objects from Taichung. Most of them, such as a broken tile from a train station, are parts of the city construction. These ordinary objects that were simply found on the streets, were then painted, refurbished, and installed as art that depict the stories of the brothers and sisters met in Taiwan. The exhibition implicitly presents these objects as memorabilia and relics, and their small to tiny sizes, hint on the migrants’ privacy and private space, their rank in society, and the convenience of moving and migrating.

Though these works were previously shown in the exhibition of the same name in Taiwan, bringing it back to Thailand continues and completes the unfinished process, returning home the personal stories that are almost lost by the distance across the ocean.

Not only does the exhibition take us to see in small details the daily life of the often overlooked Thai workers overseas, but it also presents the characteristics of humans in the hybrid culture of migrant workers in globalized society that is becoming more and more fluid.

The stories of Inthong and Yenakarn’s worker brothers and sisters embodies the in-between state—being on both two poles of Thai-Taiwanese culture, or being in neither of them but synthesizing a new culture based on circumstances encountered.

All of this is becoming a more and more common, especially in an era where work immigration grows fastest in history, then the work by these two artists ask: If a person does not stay in one place, what are the measures that will qualify his/her locality? And how does crossing borders dictate one’s life?”

What Thai worker P Nhoo said, “wherever you are, you’re still a human,” was indeed a critique, an appeal, a reflection, and a declaration of pride within the “Oversea Thai workers” label, which genuinely addresses the confusions of identity of migrant workers in today’s globalized world.

- Pojai Akratanakul

Exhibition date: 
1 Apr 2017 - 12:00 to 20 May 2017 - 18:00