^ Back to Top

นิทรรศการสัญจร "อยู่รอดก็ปลอด‘ภัย’ : EARTH Manual Project"

นิทรรศการสัญจร "อยู่รอดก็ปลอด‘ภัย’ : EARTH Manual Project"

นิทรรศการสัญจร "อยู่รอดก็ปลอด‘ภัย’ : EARTH Manual Project" จัดแสดงระหว่างวันที่ 23 กรกฏาคม - 26 สิงหาคม 2559 และจะมีพิธีเปิดในวันที่ 23 กรกฏาคม 2559 เวลา 19.00 น. ณ ขัวศิลปะ : ArtBridgeChiangRai (ABCR)

EARTH MANUAL PROJECT
อยู่รอดก็ปลอด‘ภัย’

เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ร่วมกับ ขัวศิลปะ เชียงราย ภูมิใจนำเสนอ นิทรรศการสัญจร “EARTH MANUAL PROJECT อยู่รอดก็ปลอด ‘ภัย’ เปิดนิทรรศการวันที่ 23 กรกฏาคม 2559 เวลา 19.00 น. ณ ขัวศิลปะ เชียงราย

นิทรรศการนี้ได้ถูกริเริ่มขึ้น ณ เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 ภายใต้การกำกับดูแลของศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบแห่งเมืองโกเบ (KIITO) นำเสนอกระบวนการเตรียมพร้อมและรับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติแบบต่างๆ ซึ่งนิทรรศการในครั้งนั้น มีผลงานมาร่วมจัดแสดงทั้งสิ้น 23 ผลงานที่ได้ถูกคิดค้นขึ้นจากประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ไทย และประเทศญี่ปุ่น

ภายหลังจากที่ได้จัดแสดงครั้งแรกที่เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น นิทรรศการนี้ก็ได้ถูกนำมาจัดแสดงนอกประเทศ ที่พิพิธภัณฑ์อายาลา กรุงมะนิลา เมืองบาเกียว และเมืองอิโล อิโล ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศไทยที่ TCDC เชียงใหม่ และที่ขัวศิลปะเชียงราย

นับเป็นโอกาสที่ดีของชาวเชียงราย และจังหวัดใกล้เคียง ที่จะได้ร่วมชมตัวอย่างของโครงงานเกี่ยวกับภัยพิบัติจากพื้นที่เคยเกิดขึ้นจริง โดยนำเสนอทั้งหมด 12 โครงการ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้เตรียมพร้อมรับมือกับการเกิดภัยพิบัติต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ซึ่งรวมถึงการแสดงผลงานจากการสัมมนาเชิงปฎิบัติการ “อยู่อย่างไรปลอดภัยจากหมอกควัน” ของเจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ที่ร่วมจัดกับ บ. คลับครีเอทีฟ จำกัด และ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ เชียงใหม่ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกระบวนการคิดด้านการออกแบบเพื่อเตรียมพร้อมและป้องกันภัยพิบัติในท้องถิ่น โดยเฉพาะปัญหาหมอกควัน สำหรับข้อมูลเต็ม 23 โครงการที่เคยจัดนิทรรศการในประเทศญี่ปุ่นสามารถเข้าชมข้อมูลได้ที่ http://www.earthmanual.org/  

นิทรรศการจัดแสดงระหว่างวันที่ 23 กรกฏาคม - 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ณ ห้องแสดงงานชั้น 1 ขัวศิลปะ เชียงราย ผู้ที่สนใจเข้าชมนิทรรศการ ได้ที่ขัวศิลปะเชียงราย (ตรงข้ามแมคโครเชียงราย ก่อนถึงสี่แยกสนามบินแม่ฟ้าหลวง) เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 10.00-19.00 น. เข้าชมฟรี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ขัวศิลปะ 088-418- 5431, 053-166- 623 artbridge.cr@gmail.com ,www.facebook.com/artbridgechiangrai หรือติดต่อ เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ชั้น 10 อาคารเสริมมิตรทาวเวอร์ 159 ถ.สุขุมวิท 21 (อโศกมนตรี) คลองเตยเหนือ วัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทร. 0-2260- 8560-3 อีเมล wathana@jfbkk.or.th (ภาษาไทย หรือ ภาษาอังกฤษ) และ nakajima@jfbkk.or.th (ภาษาญี่ปุ่น)

.............................................

EARTH MANUAL PROJECT Exhibition

Japan Foundation, Bangkok, in partnership with Art Bridge Chiang Rai (ABCR), is proud to present the traveling exhibition “EARTH MANUAL PROJECT” at the gallery, Art Bridge Chiang Rai from 23th July to 26 August 2016.

Originally initiated by Design and Creative Center Kobe (KIITO), EARTH MANUAL PROJECT encourages a country of frequent natural disasters, such as Indonesia, the Philippines, Japan and Thailand, to become a country of excellent disaster preparedness. The exhibition’s maiden run happened for the first time in October 2013 in Kobe, Japan, wherein 23 projects from different Asian countries showcased activities centered on disaster risk reduction and post-disaster relief and recovery. After that, it was held in Manila at Ayala Museum, Baguio and Ilio Ilio, the Philippines. Then the exhibition came to Thailand and exhibited at TCDC Chiang Mai between December 15, 2015 to April 3, 2016, and now coming to Art Bridge Chiang Rai, introducing 12 various disaster-related activities.

This exhibition is a great opportunity for all the visitors to make their own disaster preparedness manual based on the presented projects, as well as for audience to hear stories and expertise from overseas creators. For instance, as Chiang Rai was hardly hit by an earthquake at 6.3 on the Richter scale, which was the strongest earthquake ever recorded in Thailand, shaked both northern Thailand and Myanmar in the evening of May 5, 2014. Windows, walls, roads and temples all suffered from the quake. Approximately one hundred repeated shocks during the whole day were reported by the Asian Disaster Preparedness Center (ADPC) and many people were in panic, not knowing how to prepare and protect themselves from the earthquake. Thus, this EARTH MANUAL PROJECT exhibition could show case studies of disaster preparedness in each country which Chiang Rai local people could learn from their experiences including the “Core House,” project of Indonesia how to build an emergency housing as the temporary shelter before expanding it into more effective housing functions, etc.

For more information, visit EARTH MANUAL PROJECT website at http://www.earthmanual.org/?en to view all 23 projects that were firstly exhibited in Japan.

About Art Bridge Chiang Rai
In an effort to promote Chiang Rai’s burgeoning art scene, a group of local artists got together to launch the Art Bridge Project. The name of the project is in reference to their bid to connect art to the community. The space consists of a gallery, art school, a restaurant and café, a library and a souvenir shop. Displaying various pieces from local artists, the gallery also provides a platform for up and coming artists to exhibit their works.

Address 551 Moo 1 Phahonyothin Rd. T.Bandu A.Muang Chiangrai 57100
Open everyday 10.00-19.00 hrs. /Free Admission
TEL 053-166- 623 , 088-418- 5431 /artbridge.cr@gmail.com http://www.artbridgechiangrai.org/, www.facebook.com/artbridgechiangrai

Contact
The Japan Foundation, Bangkok
Persons in charge:
Ms. Haruka Nakajima (nakajima@jfbkk.or.th)
Mr. Wathana Onpanich (wathana@jfbkk.or.th)
Tel: +66-2- 260-8560- 3
10 th Floor, Serm-mit Tower, 159 Sukhumvit 21 (Asoke-montri) Rd., Wattana, Bangkok 10110

Co-organized by The Japan Foundation, Bangkok and Art Bridge Chiang Rai
as The Japan Foundation 2016 Asia Cultural Collaboration Project

In cooperation with
Design and Creative Center Kobe (KIITO) / NPO Plus Arts / CLUB CREATIVE Co., Ltd.

.............................................

ผลงานที่จัดแสดง

1. จิชิน อิท์สึโมะ (Jishin ITSUMO) / บุมเป โยะริฟุจิ (Bunpei Yorifuji), เอ็นพีโอ พลัส อาร์ตสฺ  (NPO Plus Arts) (ญี่ปุ่น)
โครงการนี้เป็นโครงการป้องกันภัยพิบัติโดยอาศัยการออกแบบกราฟฟิก เปิดตัวโดยผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ (นักออกแบบ) ชื่อ บุมเป โยะริฟุจิ (Bunpei Yorifuji)ในนามของเอ็นพีโอ พลัส อาร์ตสฺ (NPO Plus Arts) และประเทศญี่ปุ่น โครงการนี้มุ่งหมายที่จะสนับสนุนการฝึกอบรมการป้องกันภัยพิบัติในญี่ปุ่น โดยให้ความรู้แก่ประชาชนผ่านเครื่องมือต่าง ๆ เช่น บทเรียนจากภัยพิบัติซึ่งได้จากการเก็บข้อมูลจากผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮัน ชิน-อะวะจิ ที่มีจำนวนผู้ประสบภัยมากกว่า 6,400 ราย ตลอดจนความรู้และเทคนิคที่จำเป็นในการป้องกันภัยพิบัติสำหรับพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ทั้งหมดนี้นำเสนอด้วยภาพประกอบที่เข้าใจง่าย โดยสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์อย่างยิ่งคือสื่อการสอนเรื่องการป้องกันภัยพิบัติเหล่านี้ใช้ภาพ วาดประกอบชุดเดียวกันทั้งหมด ตั้งแต่คู่มือการป้องกันภัยพิบัติ ผ้าเช็ดหน้าป้องกันภัยพิบัติผืนใหญ่ ไปจนถึงสิ่งของอื่นๆในลักษณะเดียวกัน สื่อการสอนทั้งหมดนี้จะเปลี่ยนสีไปตามสีประจำองค์กรที่นำไปใช้ ส่วนเนื้อหาข้อมูลการป้องกันภัยพิบัตินั้นพัฒนาขึ้นจากการแบ่งปันข้อมูลร่วมกัน (ปัจจุบัน โตเกียว แก๊ส และโตเกียว เมโทร มุจิ กลุ่มมิตซุย ฟุโดซัง และบริษัทอื่นๆ มากกว่า 10 บริษัทต่างก็ใช้คู่มือป้องกันภัยพิบัติฉบับเดียวกัน)

2. อิซะ! คะเอะรุ คาราวาน! (Iza! Kaeru Caravan!) / เอ็นพีโอ พลัส อาร์ตสฺ (NPO Plus Arts) (ญี่ปุ่น)
นี่คือโครงการให้ความรู้เรื่องการป้องกันภัยพิบัติในญี่ปุ่นของเอ็นพีโอ พลัส อาร์ตสฺ (NPO Plus Arts) ในรูปแบบใหม่ซึ่งพัฒนาขึ้นที่เมืองโกเบในปี พ.ศ. 2548 โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้สามารถเรียนรู้และได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินในเวลาเดียวกัน เนื้อหาความรู้และเทคนิคการป้องกันภัยพิบัติของโครงการได้จากคำบอกเล่าของผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิน-อะวะจิ จำนวน 167 คน ซึ่งนับว่าเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ยิ่งสำหรับผู้ที่อยู่ในพื้นที่ได้รับผลกระทบ กิจกรรมอยู่ในรูปแบบของการถามคำถามและเกมต่างๆ เพื่อช่วยให้เรียนรู้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการป้องกันภัยพิบัติได้ด้วยวิธีที่สนุก จนพัฒนาเป็นโครงการที่มีคุณค่าและมีเอกลักษณ์ โครงการนี้ใช้ “กบ” เป็นตัวการ์ตูนสัญลักษณ์ เพื่อสร้างบรรยากาศดึงดูดให้เด็ก ๆ สนใจฝึกฝนการป้องกันภัยพิบัติ ซึ่งเป็นเรื่องยากโดยเฉพาะในเด็กเล็ก

ยิ่งไปกว่านั้น โครงการนี้ยังได้ขยายไปยังประเทศอื่นๆ โดยปัจจุบันมีโครงการนี้เกิดขึ้นใน 15 ประเทศทั่วโลก เริ่มจากประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ตุรกี อเมริกากลาง ชิลี ฯลฯ และได้มีการปรับโครงการให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่

โดยแทนที่จะนำโครงการของญี่ปุ่นไปใช้ในประเทศและภูมิภาคต่าง ๆ เลย ก็ได้มีการปรับแก่นเนื้อหาเพื่อให้เหมาะสมกับการป้องกันภัยพิบัติที่มักเกิดขึ้นในภูมิภาคนั้นๆ และพัฒนาโครงการให้เหมาะตามสภาพแวดล้อมของแต่ละสังคม ทั้งยังปรับเปลี่ยนตัวการ์ตูนสัญลักษณ์จากกบให้เป็นสัตว์ชนิดอื่นตามที่เด็กในพื้นที่นั้นๆ ชื่นชอบ ดังนั้น หนึ่งในสิ่งที่น่าสนใจของโครงการให้ความรู้ด้านการป้องกันภัยพิบัติแบบคาราวานกบ นี้ คือการพัฒนาเนื้อหาและรูปแบบโดยปรับเปลี่ยนตามสภาพภูมิภาคท้องถิ่น เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะของประเทศและภูมิภาคนั้นๆ

3. Red Bear Survival Camp (เร็ด แบร์ เซอร์ไววัล แค็มป์ - ค่ายรู้รอดหมีแดง) /เอ็นพีโอ พลัส อาร์ตสฺ (NPO Plus Arts) (ญี่ปุ่น)
นี่ก็เป็นอีกโครงการหนึ่งของเอ็นพีโอ พลัส อาร์ตสฺ ซึ่งประกอบด้วยอาสาสมัครจากแผนกดับเพลิงของเมืองโกเบและอาสาสมัครรายอื่นๆ ที่ร่วมกันพัฒนาโครงการค่ายรู้รอดขึ้นมาหลังจากเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ทางตะวัน ออกของญี่ปุ่นเมื่อปีพ.ศ. 2554

“อิซะ! คะเอะรุ  คาราวาน!” (Iza! Kaeru Caravan!) เป็นโครงการสอนวิธีบำบัดรักษาทางการแพทย์ เช่น การดูแลพยาบาลผู้บาดเจ็บในช่วงเกิดภัยพิบัติ เทคนิคการขนย้ายผู้บาดเจ็บ และวิธีการดับไฟที่เกิดหลังจากภัยพิบัติ กล่าวได้ว่า “ค่ายรู้รอดหมีแดง” เป็นโปรแกรมที่สอนให้เยาวชนมีความรู้และทักษะในการเอาตัวรอด อันจะช่วยให้รอดชีวิตจากภัยพิบัติ โดยส่วนหนึ่งของโปรแกรมยังมีการสอนผูกเงื่อน ก่อไฟ และกิจกรรมอื่น ๆ อีกด้วย ลักษณะเด่นที่สุดของโครงการนี้คือระบบกิจกรรมทดสอบที่ใช้ “เข็มตราทักษะ” โดยเด็กๆ จะได้เรียนรู้ ฝึกฝน และสัมผัสสถานการณ์ที่ไม่เคยประสบมาก่อน ผ่านการสอนทักษะเฉพาะต่างๆ เช่น การผูกเงื่อน ก่อนที่พวกเขาจะเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อทดสอบทักษะความชำนาญเหล่านั้น ยกตัวอย่างเช่น หากเด็กสามารถปฏิบัติภารกิจ “ผูกเงื่อน 3 แบบภายใน 1 นาที” ได้สำเร็จ ก็จะได้รับ “เข็มตราทักษะ” ที่เตรียมไว้สำหรับโปรแกรมทดสอบทักษะแต่ละโปรแกรม

นับตั้งแต่พัฒนาโครงการค่ายรู้รอดขึ้นที่เมืองโกเบเมื่อปีพ.ศ. 2554 ขอบข่ายกิจกรรมในโครงการนี้ก็เผยแพร่ไปยังต่างประเทศ และยังได้มีการนำไปใช้จริงในพื้นที่ต่างๆ ในญี่ปุ่นที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ เช่น เมืองอิวะกิ จังหวัดฟุกุชิมะ และจังหวัดมิยากิ ผลงานจากโครงการนี้ยังถูกจัดแสดงในประเทศไทยและชิลี  น่าสังเกตว่าโปรแกรมการสร้างประสบการณ์สำหรับเด็กนี้ ถูกพัฒนาขึ้นให้สอดคล้องตามลักษณะเฉพาะของประเทศและภูมิภาคที่โครงการค่าย รู้รอดได้ขยายไปถึง นอกจากนี้ยังมีการสร้างระบบเข็มตราใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงสิ่งที่ท้องถิ่นต่าง ๆ เรียกว่าเป็น “เข็มตราทักษะท้องถิ่น” ด้วย

4. ท่วมได้...ออกแบบได้ (Design for Flood) / ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ประเทศไทย)
โครงการนี้เป็นการวิจัยและประกวดแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในยามฉุกเฉิน ซึ่งจัดขึ้นโดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ในปี พ.ศ. 2554 หลังจากเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ทางภาคเหนือของประเทศไทยและกรุงเทพฯ โดยธีมของโครงการนี้คือเรื่องของภัยพิบัติน้ำท่วม

กิจกรรมนี้ใช้วิธีการวิจัยและการประกวดเพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างแนวคิดใหม่ๆ สำหรับสิ่งของที่ใช้ในภาวะฉุกเฉิน เช่น “สุขาลอยน้ำ ป้ายฉุกเฉินยามน้ำท่วม และชุดโต๊ะเก้าอี้โรงเรียนลอยน้ำ” เป็นต้น แนวคิดใหม่ที่มีเอกลักษณ์อย่างยิ่งนี้ได้รับการคัดสรรมานำเสนอพร้อมกับแบบจำลอง โดยเจ้าหน้าที่ของศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบซึ่งเป็นผู้สนับสนุนกิจกรรม ได้ร่วมกับองค์กรด้านการออกแบบและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในประเทศไทยที่มีการเรียนการสอนวิชาด้านการออกแบบ ดำเนินการสัมภาษณ์ผู้ประสบภัยพิบัติ ก่อนจะรวบรวมข้อมูลที่ได้ และจัดแบ่งประเภทสิ่งของที่ใช้ในสภาวะฉุกเฉินซึ่งออกแบบขึ้นตามความต้องการของผู้ประสบภัยโดยเฉพาะ

นอกจากนี้ภาพวาดและข้อมูลที่เกี่ยวกับสิ่งของที่ใช้ในสภาวะฉุกเฉินตลอดจนแนวความคิดต่าง ๆจากกิจกรรมนี้ ยังได้รับการเผยแพร่ทางเว็บไซต์ของศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ นับว่าน่าสนใจมากที่ปัจจุบันไม่ว่าใครก็ใช้ความคิดจากกิจกรรมนี้ได้

หากมีการตั้งศูนย์การออกแบบในลักษณะนี้ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกในอนาคต โครงการนี้ก็จะให้ได้รับข้อเสนอแนะมากมาย และอาจกลายเป็นรูปแบบการประกวดสิ่งของที่ใช้ในสภาวะฉุกเฉินโดยมีภัยพิบัติเป็นธีม

5. โครงการโรงเรียนภูมิอากาศ (Climate School Project) / ดาคีลา (Dakila) (ฟิลิปปินส์)
โครงการให้ความรู้และสร้างความตระหนักรู้แก่สาธารณชนเรื่องความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศนี้ พัฒนาขึ้นโดยกลุ่มดาคีลา กลุ่มอาสาสมัครซึ่งประกอบด้วยศิลปิน นักออกแบบ และนักสร้างสรรค์ชาวฟิลิปปินส์ โครงการนี้มีความสำคัญในฐานะที่เป็นความพยายามรับมือกับภัยพิบัติ ด้วยการอบรมและให้ความรู้โดยเน้นน้ำหนักไปที่การป้องกัน โดยรับมือกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ในฐานะตัวการที่ทำให้เกิดภัยพิบัติ

กลุ่มอาสาสมัครดาคีลาพัฒนาโครงการสร้างความตระหนักรู้แก่สาธารณชนหลากหลายรูปแบบ ด้วยแนวความคิดที่กล่าวมาข้างต้น เช่น โครงการความร่วมมือของนักสร้างสรรค์ที่มีความคุ้นเคยในประเด็นปัญหาดังกล่าว ซึ่งเกิดเป็นโครงการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะจากขยะ และโครงการที่ดึงดูดผู้คนให้หันมาสนใจประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยอาศัยดนตรีและศิลปะแขนงอื่นๆ

6. จิตวิญญาณชาวฟิลิปปินส์ต้านภัยน้ำ / พิพิธภัณฑ์อายาลา (ฟิลิปปินส์)
โครงการนี้ริเริ่มโดยพิพิธภัณฑ์อายาลา เมื่อครั้งที่กรุงมะนิลาเมืองหลวงของฟิลิปปินส์ประสบภัยน้ำท่วมจากไต้ฝุ่นหมายเลข 11 ในเดือนสิงหาคม ปีพ.ศ. 2555 เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์อายาลาเกิดความคิดที่จะบำรุงขวัญชาวมะนิลาผู้ประสบความทุกข์ยากจากภัยน้ำท่วม โดยโพสต์ข้อความให้กำลังใจว่า “จิตวิญญาณชาวฟิลิปปินส์ต้านภัยน้ำ” (The Filipino Spirit is Waterproof) ลงในทวิตเตอร์ เชิญชวนให้ผู้คนมาร่วมกันสร้างสรรค์ภาพประกอบข้อความดังกล่าว ต่อมาผลงานภาพประกอบต่างๆ ที่มีผู้ร่วมโพสต์อย่างต่อเนื่องจึงถูกนำมาจัดทำเป็นโปสเตอร์ และมีการเผยแพร่ต่อในอินเตอร์เน็ต จนเกิดเป็นความเคลื่อนไหวครั้งใหญ่

ข้อความพร้อมภาพประกอบนี้ได้รับการเผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์และสื่อต่างๆ ซึ่งส่งผลให้เกิดการปรึกษาหารือในเรื่องปัญหาโครงสร้างหลักของประเทศฟิลิปปินส์ และกระตุ้นให้เกิดแนวคิดในการสร้างมาตรการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ในยามเกิดอุทกภัย โครงการนี้ทำให้ผู้คนรู้สึกถึงความเป็นไปได้ในการเผยแพร่ความรู้ด้านการป้องกันภัยพิบัติโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นเครื่องมือ

7. Paper Partition System 4 (ระบบกั้นห้องด้วยกระดาษ 4 / ชิเกรุ บัง (Shigeru Ban) (ญี่ปุ่น)
นี่เป็นโครงการที่เป็นแบบอย่างในการผลิตระบบกั้นห้องสำหรับสถานพักพิง ซึ่งประเทศญี่ปุ่นภาคภูมิใจนำเสนอต่อประชาคมโลก

คณะทำงานซึ่งมีสถาปนิกชื่อดังระดับโลก ชิเกรุ บัง (Shigeru Ban) เป็นแกนนำได้พัฒนาระบบกั้นห้องที่นับว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ โดยใช้ท่อกระดาษและแผ่นกระดาษที่แข็งแรง

ระบบที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อนนี้ทำให้ไม่ว่าใครก็สามารถติดตั้งได้อย่างง่ายดาย ระบบที่นำเสนอในนิทรรศการปัจจุบันเป็นระบบที่พัฒนาออกมาเป็นรุ่นที่ 4 แล้ว โดยชิเกรุ บังใช้ระบบท่อกระดาษ ซึ่งเขาได้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สำหรับที่พักพิงของผู้ลี้ภัยสงครามกลางเมืองในรวันดาเมื่อ ปีพ.ศ. 2537, ผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิน-อะวะจิ, ภัยแผ่นดินไหวชุเอะสึในนีกะตะ, ภัยที่เกาะสุมาตราจากเหตุแผ่นดินไหวใต้ทะเลหลวง และภัยแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ทางภาคตะวันออกของญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมีการนำไปใช้ในบางพื้นที่ซึ่งเกิดภัยพิบัติขนาดใหญ่ในบริเวณใกล้เคียง นวัตกรรมระบบกั้นห้องนี้มีการปรับปรุงพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนไม่เพียงเป็นแค่ระบบเพื่อเป็นที่พักพิงในยามคับขันเท่านั้น หากยังสามารถอยู่อาศัยได้จริงอีกด้วย

หลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ทางภาคตะวันออกของญี่ปุ่น คณะทำงานของชิเกรุ บัง รีบรุดไปเยือนพื้นที่ประสบภัยและได้มอบชุดระบบกั้นห้องจำนวนราว 1,800 ชุดให้แก่สถานพักพิงกว่า 50 แห่ง

8. รู้สู้! Flood (รู้สู้น้ำท่วม) / ธวัชชัย แสงธรรมชัย, เกรียงไกร วชิรธรรมพร, ณัฐพร บุญประกอบ, วรรธนะ รุจิโรจน์สกุล (ประเทศไทย)
ในช่วงปลายปี พ.ศ.2554 อาสาสมัครนิสิตเก่าคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รวมตัวกันและริเริ่มโครงการให้ข้อมูลความรู้เรื่องสภาวะน้ำท่วมและการควบคุมน้ำ ท่วมด้วยแอนิเมชั่น เพื่อเผยแพร่ข้อมูลที่แม่นยำและทันต่อเหตุการณ์ในช่วงอุทกภัยครั้งใหญ่ที่ไหลบ่ามาจากภาคเหนือของประเทศไทย และลงมาท่วมกรุงเทพฯ ด้วย

ข้อมูลสถานการณ์น้ำท่วมที่เผยแพร่สู่สาธารณชนผ่านทางสื่อมวลชน เช่น โทรทัศน์ เป็นข้อมูลที่มีความซับซ้อน และในช่วงดังกล่าวก็เกิดความระส่ำระสายขึ้นในหมู่ประชาชน อาสาสมัครเหล่านี้จึงรวมตัวกันจัดตั้งเป็นกลุ่มและดำเนินการออกสำรวจเพื่อหาข้อมูลที่แม่นยำโดยลงพื้นที่ด้วยตนเอง แล้วนำข้อมูลมาผลิตเป็นแอนิเมชั่นที่ไม่ว่าใครก็สามารถเข้าใจได้ง่าย ผลงานเหล่านี้ได้ออกเผยแพร่ทางยูทูปรวมถึงสื่อสาธารณะของรัฐ ผลก็คือชาวกรุงเทพฯ จำนวนมากได้รับข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องน้ำท่วมได้ทันท่วงทีจากภาพเคลื่อนไหวดังกล่าว ซึ่งถูกนำมาใช้ในฐานะแหล่งข้อมูลที่มีคุณค่าและเชื่อถือได้ท่ามกลางความสับสนในช่วงอุทกภัย

โครงการนี้เป็นนวัตกรรมจากประชาชนที่พิสูจน์ให้เห็นว่าแอนิเมชั่นสามารถนำมาใช้

9. โครงการฟื้นสภาพด้วยแบบจำลอง “บ้านสูญสิ้น” (“Lost Homes” Model Restoration Project) /   โอะซะมุ สึกิฮะชิ (Osamu Tsukihashi) (ญี่ปุ่น)
โอะซะมุ สึกิฮะชิ (Osamu Tsukihashi) จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยโกเบ ริเริ่มโครงการนี้หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ทางภาคตะวันออกของญี่ปุ่น โครงการนี้ใช้แบบจำลองย่อส่วนเพื่อฟื้นสภาพเมืองต่างๆ ที่ถูกทำลายจากภัยสึนามิ

โครงการนี้เกิดจากความคิดของโอะซะมุ สึกิฮะชิ ที่เริ่มตั้งคำถามว่า จะมีทางใดที่นักศึกษานอกพื้นที่ประสบภัยจะสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้บ้าง โดยโครงการนี้มีมหาวิทยาลัยต่างๆ เข้าร่วมถึง 23 แห่งจาก 31 พื้นที่ทั่วประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ปีพ.ศ. 2554 ไปจนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2556

สิ่งที่น่าสังเกตของโครงการนี้คือ ตามธรรมดาแล้วแผนผังสำหรับการก่อสร้าง หรือที่เรียกกันว่า แบบจำลองย่อส่วนมักทำขึ้นเพื่อให้เห็นภาพของสิ่งก่อสร้างที่จะเกิดขึ้น “ในอนาคต” แต่แบบจำลองย่อส่วนของโครงการนี้ ใช้เพื่อจำลองเมืองต่าง ๆ ตามที่เคยเป็น “ในอดีต” ก่อนสิ้นสูญไปจากหายนะ

ยิ่งกว่านั้น โครงการนี้มิได้เป็นเพียงการฟื้นฟูสภาพเมืองลงในแบบจำลองเท่านั้น หากแต่การนำแบบจำลองสีขาวมายังพื้นที่ประสบภัยซึ่งได้ฟื้นฟูสภาพแล้วเพื่อนำมาจัดเวิร์กช็อป ณ ที่เกิดเหตุการณ์ โดยทาสีหลังคาบ้านจำลองแต่ละหลังตามคำบอกเล่าของผู้ประสบภัย ตลอดจนการให้พวกเขาปักธงเล็กๆ เพื่อระบุสถานที่ต่างๆ ลงในแบบจำลอง ทั้งหมดนี้ล้วนมีส่วนช่วยฟื้นความทรงจำก่อนเกิดภัยพิบัติให้แก่ผู้คน โครงการนี้เป็นที่ยกย่องกันมากทั้งในประเทศญี่ปุ่นและในต่างประเทศ

10. บ้านแกนหลัก : ชีวิตขยับขยายได้หลังธรณีพิบัติ (Core House: Extensive Live Post Earthquake) / อิคะปุตรา (Ikaputra) (อินโดนีเซีย)
นี่เป็นโครงการนวัตกรรมที่อยู่อาศัย ที่ผสมผสานลักษณะของที่พักพิงชั่วคราวและบ้านสร้างใหม่เข้าด้วยกัน โครงการริเริ่มโดย อิคาปุตรา (Ikaputra) สถาปนิกในนครยกยาการ์ตาและเป็นรองศาสตราจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยคชา มาดา หลังจากภัยแผ่นดินไหวในภาคกลางของชวา ซึ่งสร้างความหายนะแก่นครยกยาการ์ตาของอินโดนีเซียเมื่อปีพ.ศ. 2549 และทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 6,000 ราย ลักษณะเด่นของโครงการเคหะที่ชื่อว่า “บ้านแกนหลัก” (“Core House”) ซึ่งมุ่งบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยนี้ คือเรือนหลักที่จัดสร้างให้แก่ผู้ประสบภัย ซึ่งจำเป็นต้องสร้างให้มีขนาดเล็กสุดเท่าที่จะพออยู่อาศัยได้นั้น สามารถต่อเติมขยับขยายออกไปได้ในภายหลัง ตามแต่ความต้องการของผู้อยู่อาศัย ด้วยรูปแบบที่ประหยัด ใช้งานได้เหมาะสม และไม่มีปัญหาเรื่องโครงสร้าง

แนวคิดของโครงการสร้างเคหสถานเช่นนี้คือความเชื่อใจและให้เกียรติผู้ประสบภัยพิบัติ  ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้ประสบภัยมีอิสระในแบบของตนเอง จะสังเกตเห็นได้ว่าในช่วงเวลาต่อมา บ้านแทบทุกหลังที่จัดสร้างให้ผู้ประสบภัย มีการต่อเติมขยายไปต่าง ๆ กันตามแนวคิดของคุณอิคาปุตรา ผลคือช่วยส่งเสริมความเป็นอิสระของผู้ประสบภัยที่อาศัยอยู่ในเรือนเหล่านั้น ทำให้พวกเขามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นหลังจากภัยพิบัติ

โครงการนี้ยังนำมาอ้างอิงเป็นแนวทางในแผนการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยหลังจากเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ทางตะวันออกของญี่ปุ่น และยังนำไปใช้ในพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือด้วย

11. FLOATING WOMBS (ครรภ์ลอยน้ำ) : โครงการบำบัดด้วยศิลปะ - heARTS โดย อัลมา กินโต (Alma Quinto) (ฟิลิปปินส์)
นี่คือนิทรรศการสารคดีเกี่ยวกับกิจกรรมของอัลมา กินโต นักศิลปะบำบัดชาวฟิลิปปินส์

นับตั้งแต่เวิร์กช็อปสำหรับผู้ประสบภัยฝนตกหนักในภูมิภาคบีกอล (Bicol) เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ผู้ประสบภัยไต้ฝุ่นเซ็นดงในกากายัน เดโอโรเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และผู้ประสบภัยพิบัติอื่นๆ รูปแบบของเวิร์กช็อปศิลปะบำบัดได้พัฒนาและเข้าถึงชีวิตจิตใจของผู้ประสบภัยพายุไต้ฝุ่นและคลื่นพายุซัดฝั่งในพื้นที่ประสบภัยหลายแห่งของฟิลิปปินส์

แนวคิดของเวิร์กช็อปคือการ “ปลดปล่อย” และ “เชื่อมโยง” โดยให้ความสำคัญกับการให้ผู้ประสบภัยได้ปลดปล่อยประสบการณ์แง่ลบที่ฝังใจจาก เหตุการณ์ภัยพิบัติ และช่วยให้ผู้ประสบภัยรู้สึกเชื่อมโยงกับคนอื่นๆ โดยอาศัยเครื่องมือที่หลากหลายอย่างทัศนศิลป์ เช่น การวาดภาพ เย็บผ้า ดนตรี ละคร นาฏศิลป์ และบางครั้งมีการทำอาหารด้วย

12. อยู่อย่างไรปลอดภัยจากหมอกควัน
การจัดแสดงผลงานไอเดียสร้างสรรค์เพื่อรับมือปัญหาภัยพิบัติหมอกควันไฟป่าจากตัว แทนชาวเชียงใหม่ เกิดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC), แจแปนฟาวด์เดชั่น, เอ็นพีโอ พลัส อาร์ตสฺ และดีไซน์แอนด์ครีเอทีฟเซ็นเตอร์โกเบ (KIITO) โดยได้เปิดโอกาสให้นักออกแบบในพื้นที่ภัยพิบัติได้เรียนรู้ ร่วมคิด และออกแบบแนวทางการแก้ปัญหา ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ผ่านการเข้าร่วมเวิร์กช็อป “โครงการคู่มือโลก” (EARTH MANUAL PROJECT) ที่จะช่วยกระตุ้นความคิด ชวนให้ตั้งคำถาม และสร้างสรรค์ตัวอย่างแนวคิด งานออกแบบ หรือเครื่องมือสื่อสาร เพื่อยกระดับคุณภาพการใช้ชีวิตของคนเชียงใหม่ให้ “อยู่ รู้ และเท่าทัน” ปัญหาหมอกควันไฟป่า ภัยพิบัติใกล้ตัวที่สร้างภาวะวิกฤตให้กับ สุขภาพ สังคม และสิ่งแวดล้อมของเมืองเชียงใหม่ ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นทุกปี

ข่าวประชาสัมพันธ์ : ขัวศิลปะ : ArtBridgeChiangRai (ABCR)

Exhibition date: 
23 Jul 2016 - 10:00 to 26 Aug 2016 - 19:00