^ Back to Top

นิทรรศการ "Oscillation"

นิทรรศการ "Oscillation"

นิทรรศการ "Oscillation" ผลงานโดย อานนท์ นงค์เยาว์ (Arnont Nongyao), เถกิง พัฒโนภาษ (Takerng Pattanopas), สเตฟานี โพเวลล์ (Stephanie Powell), เออิจิ ซูมิ (Eiji Sumi) และ ฮิโรชิ มิยาตะ (Hiroshi Miyata) จัดแสดงระหว่างวันที่ 13 พฤษภาคม - 18 มิถุนายน 2559 และจะมีพิธีเปิดในวันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม 2559 เวลา 18.45 น. ณ หอศิลปวิทยนิทรรศน์ สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Oscillation

ศิลปิน: อานนท์ นงค์เยาว์, เถกิง พัฒโนภาษ, สเตฟานี โพเวลล์ และเออิจิ ซูมิ กับ ฮิโรชิ มิยาตะ
ภัณฑารักษ์: วุธ ลีโน

ณ หอศิลปวิทยนิทรรศน์ สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แสดงงาน 13 พฤษภาคม - 18 มิถุนายน 2559

วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม 2559
การเสวนาโดยศิลปินและภัณฑารักษ์: 17.00-18.30 น.
พิธีเปิดนิทรรศการ: 18.45-20.30 น.

Oscillation พิจารณาการเลื่อนไหลไปมาระหว่างจุดอ้างอิงและความคิดอันมากมายอย่างไม่หยุดนิ่ง อันเป็นภาวะที่ความหมายถูกสร้างขึ้นและผลิตซ้ำ นิทรรศการนำเสนอสภาวะของความไม่คงที่ในฐานะสิ่งที่มีศักยภาพในการสร้าง ซึ่งทั้งท้าทายและปรับเปลี่ยนความเข้าใจของเราอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ นิทรรศการยังเปิดใจรับวิถีของการกลายเป็นและไม่เป็น รวมถึงต่อต้านเสถียรภาพและความลงรอยเพื่อนำมาซึ่งเหตุการณ์ที่อาจเกิดหรือไม่เกิดขึ้นและความเป็นไปได้อื่นๆ

Oscillation ประกอบไปด้วยผลงานใหม่ที่ทำขึ้นเพื่อนิทรรศการนี้โดยศิลปิน 5 ท่าน จากประเทศไทย ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา แนวทางที่หลากหลายของศิลปินแต่ละคนมุ่งสำรวจความซับซ้อนของสังคมร่วมสมัยที่เต็มไปด้วยความผกผัน ในขณะที่ให้ความสำคัญกับความตึงเครียดที่เกิดจากการเปลี่ยนไปมาของสภาวะ การรับรู้ และการดำรงอยู่ ผู้ชมถูกเชื้อเชิญให้เข้าร่วมสำรวจและเคลื่อนที่ไปมาระหว่างโลกคู่ขนานที่ศิลปินสร้างขึ้น

Merz Maze 2 (drag on) เป็นการทดลองที่เปี่ยมไปด้วยความทะเยอทะยานของ เถกิง พัฒโนภาษ ที่สำรวจการปะทะกันของการรับรู้ทางสายตาและประสบการณ์ทางร่างกาย ผลงานชิ้นนี้ถือเป็นก้าวใหม่ที่มีความเสี่ยงในหนทางศิลปะของเถกิง โดยเฉพาะในแง่การละทิ้งการควบคุมอย่างสูงและการทดลองอย่างดีไปสู่การเปิดรับความบังเอิญและความยุ่งเหยิง Merz Maze 2 (drag on) นำเสนอพื้นที่ภายในที่สามารถเข้าถึงแต่ไม่อาจบรรลุถึง ซึ่งสานต่อการสืบสวนการไม่อาจเข้าถึงโลกภายในที่ศิลปินดำเนินการมาแล้วอย่างยาวนาน

ด้วยอิทธิพลจากการออกแบบกล้องส่องทางเรือดำน้ำและขั้นบันได “สกาลา เรเจีย” ของ จาน ลอเรนโซ เบอร์นีนี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทางเข้าสู่วาติกัน อุโมงค์ขนาดใหญ่ของเถกิงเชื้อเชิญให้ผู้ชมเดินทางผ่านสิ่งที่ดูเป็นเส้นทางเดี่ยวแสนยาวแห่งความสับสนน่าฉงน งานจัดวางที่มีพื้นที่ด้านในที่มีเสน่ห์เย้ายวนเป็นการซ้อนชั้นและสร้างผิวสัมผัสอย่างซับซ้อนโดยอาศัยวัสดุที่คุ้นเคยกันดีในการบริโภคของมวลชนและการทำพิธีกรรมในแต่ละวัน ในงาน Merz Maze 2 (drag on) การเดินทางของร่างกายถูกผนวกเข้ากับการรับรู้ทางสายตา ในขณะที่ความตื่นเต้นก็ปะทะกับความผิดหวัง ซึ่งเป็นการตั้งคำถามต่อสัญญาของผัสสะของมนุษย์และของโลกแห่งวัตถุ

งาน Quark IV ของ เออิจิ ซูมิ นำเราสู่ดินแดนแห่งความตรึงใจที่สร้างความรู้สึกใกล้ชิดสิ่งที่มีขนาดเล็กที่สุดแต่บ่งชี้ถึงโลกภายนอกที่ยิ่งใหญ่ไพศาล อันได้แก่จักรวาล ชื่อผลงานชิ้นนี้กล่าวถึงอนุภาคมูลฐานที่เล็กที่สุดของสสารที่เรียกว่า “ควาร์ก” ซึ่งเป็นพื้นฐานของมวลทั้งหมดในโลกทางกายภาพ จากการทำงานประสานกันของแสง กลศาสตร์อากาศ และสารสีที่สะท้อนแสง ศิลปินสามารถจัดแจงอนุภาคขนาดเล็กที่วาบแสงและหมุนคว้างอย่างเช่นฝุ่นผงในแสงไฟ

ด้วยแรงบันดาลใจจากการบรรจบกันระหว่างศิลปะและวิทยาศาสตร์ งานเชิงกลศาสตร์ของซูมิสร้างประสบการณ์อันน่าอัศจรรย์ใจ งานจัดวาง Quark IV ถูกเติมเต็มด้วยงานเสียงที่ทำโดย ฮิโรชิ มิยาตะ ซึ่งช่วยขับเน้นความรู้สึกของการเป็นโลกอื่น ภาพอันน่าตื่นตาตื่นใจและชวนให้หลงใหลเคลิบเคลิ้มที่ลอยค้างอยู่กลางอากาศจะดำรงอยู่จนชั่วเวลาที่เครื่องกลหยุดเพื่อเริ่มทำงานใหม่ ซึ่งส่งสัญญาณให้เห็นวัฏจักรของพลังที่ซ่อนอยู่ที่ทำให้สสารเกิดขึ้น

สเตฟานี โพเวลล์ นำเสนอผลงานวิดีโอสองช่องที่ใช้ชื่อว่า After the Smoke Clears and the Dust Settles ซึ่งเป็นการสำรวจการเมืองของวัฒนธรรมพันธุ์ผสม ความคิดเกี่ยวกับเวลา และโครงสร้างอันน่าหวาดหวั่นที่รองรับสิ่งเหล่านี้อยู่ ในวิดีโอช่องหนึ่ง ร่างกายของผู้หญิงที่แบบบางถูกห้อมล้อมไปด้วยทัมเบิลวีดที่กำลังหมุนกลิ้ง ทัมเบิลวีดซึ่งเป็นพืชลักษณะแห้งชนิดหนึ่งที่กลิ้งไปตามลมและนำพาเมล็ดไปยังที่ต่างๆ และในทางพฤกษศาตร์ถูกจัดประเภทให้เป็นไดสปอร์ ถือเป็นอุปมาที่เฉียบคมสำหรับชุมชนคนพลัดถิ่น ในงานของโพเวลล์ ทัมเบิลวีดถูกฉาบด้วยแลกเกอร์สีดำ ซึ่งเป็นสุนทรียะที่เป็นที่แพร่หลายในวัฒนธรรมป๊อปอเมริกันที่มาจากการอ้างถึงผลิตภัณฑ์ “ที่เป็นเอเชีย”

ภาระของสิ่งเคลือบทางวัฒนธรรมถูกขยายใหญ่โดยวิดีโอช่องที่สองที่กำลังฉายภาพกลุ่มผู้หญิงสวมหน้ากากที่กำลังเล่นเกม “รูปปั้น” ซึ่งเป็นกระบวนการที่จบลงด้วยการทำให้ร่างกายเปราะบาง การละเล่นนี้ยังอ้างถึงแนวคิดเรื่อง “สุนทรียศาสตร์แห่งการสาบสูญ” ของนักทฤษฎีวัฒนธรรมชื่อ พอล วิริลิโอ ตามความคิดของวิริลิโอ เราให้ความสำคัญและแสวงหาความรวดเร็ว และในขณะเดียวกันกลับรู้สึกสิ้นหวังไม่อยากพลาดช่วงเวลาใดๆ งานของโพเวลล์แสดงนัยถึงความเป็นจริงที่บิดเบือนในสังคมที่เราอาศัยอยู่ ซึ่งมีการควบคุมแบบอัตโนมัติและดำเนินไปอย่างรวดเร็วมากขึ้นทุกขณะ

เฉกเช่นเดียวกับเทคโนโลยีภาพและเสียง พัฒนาการทางสังคมและการเมืองมุ่งที่จะหาความกระจ่างและ “ความมั่นคง” ในฐานะที่เป็นภาพความก้าวหน้าที่เป็นที่โปรดปราน ความสนใจของ อานนท์ นงค์เยาว์ นั้นอยู่ขั้วตรงข้าม งานวิดีโอและเสียงอินเทอร์แอคทีฟของเขาเป็นปฏิปักษ์ต่อความมุ่งมาดปรารถนาดังกล่าว ด้วยลักษณะดูทีเล่นทีจริงและมีไหวพริบ ผลงาน UnStoberry (this is not stoberry) นำเสนอและขัดขวางการถ่ายทอดสัญญาณสดและการฉายวิดีโอภาพผู้ชมโดยการทำให้ภาพสั่นไหว เบลอ และเปลี่ยนสภาพ

ในขณะเดียวกัน การถ่ายทอดสดสัญญาณวิทยุก็ดึงดูดความสนในของผู้มาชมนิทรรศการ แต่การถ่ายทอดก็ถูกขัดจังหวะทันทีที่ปฏิสัมพันธ์กับผู้ชมกำลังจะเกิดขึ้น ผลงาน UnStoberry ของอานนท์เผยความเป็นไปได้อื่นๆ ที่ความปรารถนาต่อ “ความมั่นคง” ตัดขาดออกไปอย่างได้ผล งานชิ้นนี้ทำหน้าที่เป็นเหมือน “เครื่องสร้างความสั่นคลอน” ที่ยอมให้เกิด “ตำหนิ” ที่ไม่เป็นที่ต้องการ หรือตัวตนที่เป็นไปได้ในแบบต่างๆ สิ่งที่คงที่คือส่วนเกินที่ควบคุมไม่ได้ และการปฏิเสธที่จะถูกบันทึกภาพและถ่ายทอด

******************************************

เกี่ยวกับศิลปิน

ฮิโรชิ มิยาตะ (เกิดปี 2510 ที่ประเทศญี่ปุ่น) มีภูมิหลังทางด้านดนตรี การทำงานของเขาเกี่ยวข้องกับเสียงที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์ เขาทำงานเป็นนักประพันธ์เพลง นักออกแบบเสียง และอาจารย์อิสระ ในปัจจุบันเขาสร้างเสียงให้กับรายการโทรทัศน์สากลและรัฐวิสาหกิจของญี่ปุ่น ในขณะที่ก็รับงานด้านเสียงในประเทศไทยด้วย มิยาตะสำเร็จการศึกษาจาก University of Washington ที่เมืองซีแอตเทิล

อานนท์ นงค์เยาว์ (เกิดปี 2522 ที่ประเทศไทย) ทำงานกับสื่อที่หลากหลาย อาทิ เสียง วิดีโอ และงานจัดวาง โดยมักเป็นงานเฉพาะพื้นที่และงานในพื้นที่สาธารณะ การทำงานด้านเสียงของเขาสำรวจวิถีของการฟังและการได้ยินในฐานะที่เป็นเหตุการณ์ทางสังคมและการอาศัยการควบคุม อานนท์เป็น Co-Director ของ Chiang Mai Collective (CMC) ซึ่งเป็นเครือข่ายเปิดของศิลปินและผู้ที่ทำงานด้านเสียงที่มีความสร้างสรรค์ในจังหวัดเชียงใหม่ อานนท์จบการศึกษาหลักสูตรศิลปบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เถกิง พัฒโนภาษ (เกิดปี 2508 ที่ประเทศไทย) ทำงานศิลปะที่ข้องเกี่ยวกับความคิดเรื่องพื้นที่ แสง ร่างกายมนุษย์ และความสัมพันธ์ระหว่างสามสิ่งนี้ สื่อที่เขาใช้ครอบคลุมตั้งแต่ภาพวาด ภาพเขียน ประติมากรรม และงานจัดวาง ไปจนถึงงานเสียง วิดีโอ และแสงไฟ และในขณะเดียวกันก็พยายามลบเส้นแบ่งระหว่างสื่อต่างๆ เขาเป็นผู้อำนวยการ CommDe (หลักสูตรนานาชาติด้านการออกแบบนิเทศศิลป์) ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เถกิงจบปริญญาโทจาก University of Wales ที่คาร์ดิฟฟ์ และปริญญาเอกจาก Cheltenham & Gloucester CHE ที่สหราชอาณาจักร

สเตฟานี โพเวลล์ (เกิดปี 2515 ที่ประเทศญี่ปุ่น) เกิดในฐานทัพเรืออเมริกันที่ประเทศญี่ปุ่น และต่อมาย้ายไปยังสหรัฐอเมริกา เธอทำงานกับสื่อหลายชนิด เช่น ภาพถ่าย วิดีโอ ประติมากรรม แสงไฟ และงานจัดวาง ประเด็นเรื่องการก่อร่างสร้างตัวของวัฒนธรรมและการบริโภคที่เกี่ยวเนื่องกับชุมชนเอเชียน-อเมริกันเป็นใจความหลักในผลงานของเธอ ขณะนี้เธอเป็นอาจารย์อยู่ที่ Pratt Institute นครนิวยอร์ก เธอได้รับปริญญาศิลปมหาบัณฑิตจาก School of the Art Institute of Chicago

เออิจิ ซูมิ (เกิดปี 2513 ที่ประเทศญี่ปุ่น) ย้ายไปพำนักที่นิวยอร์กในปี 2536 ที่ซึ่งเขาประกอบอาชีพด้านศิลปะและการออกแบบ งานของเขาส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยแสงไฟ ประติมากรรม และงานจัดวาง โดยมักเป็นการแสวงหาประสบการณ์ที่สร้างการมีส่วนร่วมที่เกิดจากการประสานกันของศิลปะและวิทยาศาสตร์ ปัจจุบันเขาใช้ชีวิตอยู่ที่กรุงเทพฯ และเป็นอาจารย์ประจำ CommDe ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซูมิจบการศึกษาด้านอุตสาหกรรมสัมพันธ์จาก Rikkyo University กรุงโตเกียว

วุธ ลีโน (เกิดปี 2525 ที่ประเทศกัมพูชา) เป็นศิลปิน ภัณฑารักษ์ และผู้อำนวยการฝ่ายศิลปะของ Sa Sa Art Projects ที่กรุงพนมเปญ

****************************

Oscillation

Artists: Arnont Nongyao, Be Takerng Pattanopas, Stephanie Powell,
and Eiji Sumi with Hiroshi Miyata
Curator: Vuth Lyno

At The Art Center, Office of Academic Resources, Chulalongkorn University
On Display: May 13–June 18, 2016

Friday, May 13, 2016
Artist and Curator Panel Discussion: 5:00–6:30 p.m.
Opening Reception: 6:45–8:30 p.m.

Oscillation considers a state of actively moving back and forth between multiple reference points and ideas, during which meanings are produced and reproduced. The exhibition proposes a state of non-fixity as a generative mode, through which our understandings are continuously challenged and reshaped. It embraces a journey of becoming and unbecoming, and resists stability and conformity in order to allow for contingencies and possibilities.

The exhibition presents new works specially produced for the show by five artists from Thailand, Japan and the United States, whose diverse artistic practices explore various complexities of our fluctuating contemporary societies, while attentive to the tensions caused by the continual shifting of conditions, perceptions, and states of being. The audience is invited to explore and oscillate among parallel worlds in question put forward by the artists.

Merz Maze 2 (drag on) is an ambitious experiment by Be Takerng Pattanopas, which energetically explores the collision between optical perception and bodily experience. The work marks a new risk-taking step in the artist’s practice, in particular from being usually highly controlled and well tested to being open to chance and chaos. Merz Maze 2 (drag on) presents an inner space as simultaneously accessible yet unattainable, further pushing the artist’s longstanding investigation in the inaccessibility of the inner.

Informed by the architecture of periscopes and Gian Lorenzo Bernini's Scala Regia staircase that serves as a part of the entrance to the Vatican, Takerng’ large-scale tunnel invites the audience to navigate through what appears to be a very long, single, escalating passage of mesmerising confusion. The seductive interior installation is complexly layered and textured using familiar materials popular in both daily mass consumption and ritual practice. In Merz Maze 2 (drag on), the physical journey and perceptual vision conflate, while excitement and disappointment collide, questioning the promise of our senses and of the material world.

Eiji Sumi’s Quark IV takes us into a realm of fascination, one that makes us feel so close to the smallest matter yet also suggestive of the larger world beyond—the cosmos. As the title suggests, the work references to the smallest, elementary particle of atom, called a “quark”: a fundamental constituent of all things in the physical world. Through a meticulous coordination of lighting, aeromechanics, and reflective pigments, the artist orchestrates swirling, flickering fine particles like light dust.

Inspired by the intersection of art and science, Sumi’s mechanical work produces an experience of wonder. The installation of Quark IV is complemented by sound work by collaborator Hiroshi Miyata, which heightens the sense of other worldliness. Fascinating and hypnotic, the suspended spectacle only lasts until the mechanism restarts itself, signaling to the underlying cycle of forces that make matter possible.

Stephanie Powell presents a two-channel video titled After the Smoke Clears and the Dust Settles, which explores the politics of hybridised culture, notions of time, and the unsettling structures that sustain them. In one of the video channels, a frail female body is surrounded by rolling tumbleweeds. Tumbleweed, a kind of dry plant that rolls in the wind carrying and dispersing seeds and is categorised in botany as a diaspore, is a potent metaphor for diasporic communities. Here in Powell's work, the tumbleweeds are coated with black lacquer, a kitschy aesthetic in American popular culture that is derived from references to “Asian” products.

The burden of cultural coating is amplified by the second channel, which depicts a group of masked women playing a Statues game, a process that ends up leaving a body vulnerable. The game also references cultural theorist Paul Virilio’s concept of the “Aesthetics of Disappearance.” According to Virilio, we value and pursue speed, while at the same time, paradoxically are desperate not to miss a moment. Powell’s work hints at the distorted realities we live in our increasingly fast-paced automated societies.

Social and political development, like audio and visual technology, strives for clarity and “stability” as a favoured vision of advancement. Arnont Nongyao’s interest is the opposite; his interactive video and sound work defies such aspirations. Playful and witty, UnStoberry (this is not stoberry) presents and disrupts a live transmission and projection of a video portrait of the audience, making the image shaky, blurry, and transmuted.

At the same time, a live radio broadcast allures visitors, but only to be interrupted at the moment of any audience interaction. Arnont’s UnStoberry discloses other possibilities that aspirations of “stability” effectively exclude. The work functions as a “destabiliser” to allow for unwanted “defects” or multiple versions of possible selves. What is stable is an uncontrollable excess and a refusal to be captured and portrayed.

About the artists:

Hiroshi Miyata (b. 1967, Japan) has a background in music and his practice centers on computer-generated sound. He has been working as a composer, sound designer, and freelance teacher. He currently creates sound for international televisions and Japanese public enterprises, while also engages in commissioned sound projects in Thailand. Miyata graduated from the University of Washington, Seattle.

Arnont Nongyao (b. 1979, Thailand) works with various media including sound, video, and installation, often in site-specific and public spaces. His practice with sound centers on exploring modes of listening and hearing as a social situation and an exercise of control. Arnont is Co-Director of Chiang Mai Collective (CMC), an open network of innovative sound artists and practitioners in Chiang Mai. Arnont holds a BFA from Chiang Mai University.

Be Takerng Pattanopas’ (b. 1965, Thailand) artistic practice addresses the notions of space, light, human body, and relationships among them. His media spans from drawing, painting, sculpture, installation to sound, video, and light, while he also tends to blur the distinction among them. He is the Director of CommDe, the international program in communication design of Chulalongkorn University. Takerng received an MA from University of Wales, Cardiff and a PhD from Cheltenham & Gloucester CHE, the UK.

Stephanie Powell (b. 1972, Japan) was born on an American navy base in Japan then relocated to the U.S. She works with different media including photograph, video, sculpture, light and installation. The problematic of cultural construction and consumption in relation to the Asian American communities informs the core concept of her work. Powell is currently a Professor at Pratt Institute, NYC. She holds an MFA from the School of the Art Institute of Chicago.

Eiji Sumi (b. 1970, Japan) moved to New York in 1993 where he pursued his career in art and design. His work primarily consists of light, sculpture, and installation, usually pushing for an immersive experience achieved through the merging of art and science. He currently resides in Bangkok and is a lecturer at CommDe, the international program in communication design of Chulalongkorn University. Sumi holds a degree in Industrial Relation from Rikkyo University, Tokyo.

Vuth Lyno (b. 1982, Cambodia) is an artist, curator and artistic director of Sa Sa Art Projects, based in Phnom Penh.

Exhibition date: 
13 May 2016 - 09:00 to 18 Jun 2016 - 16:00