นิทรรศการ "พิศเมืองเพชร: ผ่านสายตาสถาปัตย์ฯ ศิลปากร"
นิทรรศการ "พิศเมืองเพชร: ผ่านสายตาสถาปัตย์ฯ ศิลปากร" จัดโดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และ ฝ่ายนิทรรศการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร จัดแสดงระหว่างวันที่ 9 กุมภาพันธ์ - 9 มีนาคม 2559 และจะมีพิธีเปิดในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 17.00 น. ณ ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น 7 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร : bacc
พิศเมืองเพชร: ผ่านสายตาสถาปัตย์ฯ ศิลปากร
วันที่ : 09 กุมภาพันธ์ - 09 มีนาคม 2559
สถานที่: ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น 7
จัดโดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และ ฝ่ายนิทรรศการ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
สนับสนุนโดย บริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท มิตซูบิชิ เอลเลเวเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
พิธีเปิด 9 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 17.00 น. ณ ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น 7สงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พ.ศ. 2310 ได้สร้างความเสียหายให้กับบ้านเมืองวัดวาอาราม ศิลปวัฒนธรรมกรุงศรีอยุธยาแทบจะถูกทำลายสิ้นไปพร้อมๆกับไฟสงคราม แต่เมืองเพชรที่อุดมด้วยศิลปวัฒนธรรมที่มีความรุ่งเรืองตั้งแต่สมัยกรุง ศรีอยุธยาตอนต้นนั้นได้รอดพ้นจากการทำลายของสงครามเสียกรุงครั้งนั้น จนมีผู้กล่าวว่า “เพชรบุรี คือ อยุธยาที่ยังมีลมหายใจ”
ในนิทรรศการนี้ท่านจะได้ชมกระบวนการเรียนรู้ของคณาจารย์ และนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ตลอดจนศิลปิน นักออกแบบ จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ศึกษาผ่านงานต้นแบบชั้นครูของเมืองเพชร ด้วยกระบวนการต่างๆทั้งผลงานภาพถ่ายวิถีชีวิตและวัฒนธรรม ผลงานศิลปะการวิจัยภาคสนาม ที่เก็บรายละเอียดความงดงามของสถาปัตยกรรมเมืองเพชร ด้วยการเขียนแบบ และหุ่นจำลองขนาดใหญ่ที่แสดงรายละเอียดที่งดงามขององค์ประกอบสถาปัตยกรรม ผลงานการเก็บข้อมูลเชิงอนุรักษ์แบบ ‘Vernadoc’ ตลอดจนการศึกษาศิลปะต้นแบบที่ผู้คนอาจมองข้าม อย่างลวดลายจิตรกรรมฝาผนัง ของวัดในเมืองเพชร และนำมาประยุกต์ให้เป็นศิลปะสร้างสรรค์อย่างน่าภูมิใจของกลุ่มแรงบันดาลไทย และผลงานคุณกรกต อารมณ์ดี ที่ประยุกต์ภูมิปัญญาพื้นบ้าน การผูกไม้ไผ่ให้เป็นงานศิลปะสมัยใหม่ที่ยังคงกลิ่นอายของความเป็นไทย ซึ่งในงานนี้ท่านจะได้เห็นโครงสร้างไม้ไผ่ที่ถูกออกแบบให้ยึดโยงเป็นส่วน หนึ่งอยู่ในพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการอย่างน่าตื่นตาตื่นใจ
แนวทางการเรียนรู้และเข้าใจ อดีต ปัจจุบัน อย่างถ่องแท้ และพัฒนาต่อยอดจากสิ่งเหล่านั้นให้เป็นงานสร้างสรรค์ต่างๆ นับเป็นการต่อลมหายใจของศิลปวัฒนธรรมไทยที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง