^ Back to Top

นิทรรศการ “อู่จิ้น : Wu Jin : 無盡”

นิทรรศการ “อู่จิ้น : Wu Jin : 無盡”

นิทรรศการถาพถ่าย “อู่จิ้น : Wu Jin : 無盡” ผลงานโดยช่างภาพชาวไต้หวัน เคอซี่เจี่ย (Ko Si Chi) จัดแสดงระหว่างวันที่ 11 กันยายน - 18 ตุลาคม 2558 และจะมีพิธีเปิดในวันที่ 11 กันยายน 2558 เวลา 19.00 น. ณ Adler Subhashok Gallery : แอดเลอร์ ศุภโชค แกลอรี่

“Wu Jin"「凝視 無盡」 By Ko Si-Chi An Exhibition of Timelessness
Opening reception: September 11th 2015, 7:00 pm
Exhibition Duration: September 11th 2015 – October 18th 2015
Place: Adler Subhashok gallery

Mr. Ko Si-Chi, born in 1929, is known as the first master of modern Taiwanese photography. His supreme technique, coupled with artistic sensitivity, places him in a pivotal position in the establishment of a photographic aesthetic in Taiwan. Nobel Prize winner in Literature, Gao Xingjian, describes his photography as a painting. Poet, Ya Xian, feels his photography is a poem. Writer, Gerrit Henry, interprets “his art are studies in contrasts- almost, we might say, visual oxymorons, even the fabled ‘conjunction of opposites.’ They are both different and commanding, sere yetsensuous, earthy and supernal.”

This exhibition “Wu Jin” in Adler Subhashok Gallery is the first solo exhibition of Mr. Ko in Bangkok, exhibiting most of Mr. Ko’s classical work, combining his 50 years’ experience accumulated by the beliefs and views he has encountered. He is a man always on the move, never stopping. He keeps travelling, keeps shooting: feeling like a passenger without a destination . A famous writer once described his work by saying, “when raw nature is presented before us in such detail, time, again, is frozen and moments are made eternal.”

Some of his works represents moments in still life, yet his works are not void of emotional content. Between moments of reality and the view through the lens, Mr. Ko injects the life into the image through his artistic perspective, not only by connecting them to his personal experience but also by further exploring the perspective of his subjects. This is something we need in modern society; the ability to have conversations with nature, to chat with silence, and to speak with destiny. As a passenger without destination he allows his heart to feel every step of the journey. When viewing his art, time is frozen, as is your breath. You don’t know when and where you are; it takes you to another space, an infinite plane of existence, with no beginning or end. This is his beauty, this is his aesthetic identity.

His works have a magnetic ability to pull energy from within us, turning our emotions inside-out. You can not only feel his soul but also see your own reflected in his work. Being birthed from this moment, the viewer engages in a new energy. Now, it’s not only related to the aesthetic beauty but it also calls upon the universal undercurrents in the qualities of our senses. Form, lines, and colors are frozen and merged together within this mood. His artwork titled “Presence of Venus” (This piece was in Christie’s Taiwan Spring auctions, 2000', and been sold at the highest price among all photography works.) is his favorite work. The piece gives the viewer a strong feeling that is difficult to articulate. Finding the division between nature and the extensions of human nature, we are lost in our endeavor. Interlocked in the silence of being, we are left with a feeling of calm. When presented with an enticing sea of tranquility and ever expanding depth, we feel on the edge of a cliff, stranded between the world of humans and the universe without limitations. It provides a feeling of comfort in a moment of suspended reality.

“Wu Jin”「無盡」means timelessness in Chinese. It describes Mr. Ko’s current status; keep walking, keep shooting, freeze the time, cross time and space, step over the beauty, stand far above the unworldliness, this name is also inspirited from the “Endless Light” in Vimalakirti Sutra-Buddha Chapter, “Endless light is like a light of thousands lights, brings light to the dark and illuminates to eternity.” Adler Subhashok Gallery hopes this exhibition can be that illuminating light in the souls of all those able to witness it.

เคอซี่เจี่ย (เกิด 2472) เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะศิลปินเอกในหมู่ศิลปินช่างภาพไต้หวัน ด้วยเทคนิคขั้นสูงผนวกกับความอ่อนไหวทางศิลปะ ทำให้เขาได้มายื่นอยู่ในจุดศูนย์กลางของวงการภาพถ่าย ในไต้หวัน
เกาซิงเจี้ยน เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาบทกวี ยังเคยได้กล่าวถึงงานภาพถ่ายของเขาว่าเป็นดั่งภาพวาด ในระหว่างที่ ยาเซียน นักกวีอันโด่งดังก็ยังสัมผัสได้ถึงบทกลอนที่ซ่อนอยู่ภายในภาพถ่ายของศิลปิน
เจอริท เฮนรี่ นักเขียนและนักวิจารณ์ชาวอเมริกันได้นิยามงานของ เคอซี่เจี่ย ว่า “ศิลปะของเขาได้ศึกษาถึงขั้วอันแตกต่าง จนเราอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นความขัดแย้งอันสุนทรีย์ เป็นความลงตัวของความแตกต่าง เป็นผลงานที่ทั้งไม่เหมือนใคร และยังมีอิทธิพล มีทั้งความเข้มข้นและความอ่อนโยน สามารถสัมผัสได้ถึงความเป็นธรรมชาติและเหนือธรรมชาติในเวลาเดียวกัน”
นิทรรศการ “อู่จิ้น” ซึ่งจะจัดขึ้นที่ แอดเลอร์ ศุภโชค แกลอรี่ นั้นเป็นนิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกของ เคอซี่เจี่ย ในกรุงเทพฯ ซึ่งจะนำเสนอผลงานยุคคลาสสิคของศิลปิน รวบรวมนำเอาประสบการณ์กว่า 50 ปี มาถ่ายทอดเรื่องราวและมุมมองที่ศิลปินได้พบเจอ
เคอซี่เจี่ยไม่เคยหยุดนิ่ง เขาเดินทางตลอดเวลา ถ่ายรูปตลอดเวลา เขารู้สึกเสมอว่าเขาเป็นเหมือนผู้โดยสารที่ไร้ซึ่งจุดหมายปลายทาง เคยมีนักเขียนท่านหนึ่งกล่าวว่า “งานของเคอซี่เจี่ยแสดงให้เห็นถึงธรรมชาติอันไร้ซึ่งการปรุงแต่ง และเมื่อเราเห็นรายละเอียดที่ซ่อนอยู่ในนั้น ห้วงเวลาของเราก็จะหยุดนิ่ง แม้เพียงเศษเสี้ยววินาที ก็กลายเป็นนิรันดร์ได้”

ผลงานบางส่วนของเคอซี่เจี่ยเผยให้เห็นถึงช่วงเวลาหนึ่งในลักษณะภาพนิ่ง หากแต่งานศิลปะของเคอซี่เจี่ย ไม่ได้เป็นเพียงแค่หลุมพรางแห่งอารมณ์ เพราะในช่วงระหว่างความเป็นจริงตรงหน้า กับสายตาที่มองผ่านเลนส์นั้น เคอซี่เจี่ยได้สูบฉีดเอาความมีชีวิตชีวาเข้าไปอยู่ในภาพถ่าย ผ่านมุมมองอันเป็นเอกลักษณ์ เขาไม่ได้เพียงแต่นำเสนอภาพถ่ายในมุมมองของตัวเอง แต่ยังเพียรพยายามที่จะวิเคราะห์สำรวจผลงานผ่านมุมมองของเป้าหมายในรูปอีกด้วย และนี่คือสิ่งที่สังคมในยุคปัจจุบันกำลังต้องการ เราควรจะมีช่วงเวลาที่ได้พูดคุยกับธรรมชาติ ได้สนทนากับความเงียบและโชคชะตาบ้าง
ในฐานะนักเดินทางอันไร้ซึ่งจุดหมาย เคอซี่เจี่ยปล่อยให้หัวใจของตัวเองสัมผัสกับทุกย่างก้าวในการออกเดินทาง ในขณะที่เรามองดูผลงานศิลปะของเคอซี่เจี่ย ห้วงเวลาดูเหมือนจะหยุดนิ่งไปพร้อมกับลมหายใจ จนลืมไปว่าเราอยู่ที่ไหน เมื่อไหร่ คล้ายกับว่าเราได้ถูกดึงดูดออกไปอีกมิติหนึ่งซึ่งมีความกว้างเป็นอนันต์ ไร้ซึ่งจุดเริ่มต้นหรือจุดจบ และนี่คือความงดงามของศิลปิน เป็นเอกลักษณ์ทางสุนทรียศาสตร์ของ เคอซี่เจี่ย
ผลงานของเคอซี่เจี่ยมีแรงดึงดูดบางอย่างที่สามารถเอาความรู้สึกที่ซ่อนเร้นภายในของเราออกมาได้ ไม่เพียงแต่เราที่สามารถสัมผัสได้ถึงจิตวิญญาณของศิลปิน แต่หากมองดูให้ดี เราจะเห็นจิตวิญญาณของเราเองสะท้อนออกมาจากผลงานของเขา เป็นดั่งพลังงานที่เกิดขึ้นในห้วงขณะหนึ่ง งานของเคอซี่เจี่ยไม่เพียงแต่พูดถึงความงามทางภายนอกเท่านั้น เพราะงานของเขายังสัมผัสเข้าไปถึงประสาทสัมผัสอันอยู่ลึกลงไปข้างในตัวเรา ทั้งรูปทรง เส้น และสีได้ถูกตราตรึงและหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวภายในความรู้สึกนี้
ผลงานชื่อ “Presence of Venus” นอกจากจะเป็นชิ้นโปรดชิ้นหนึ่งของศิลปินแล้ว ยังเป็นผลงานศิลปะภาพถ่ายที่ขึ้นชื่อว่าได้รับการประมูลไปแพงที่สุดในสาขาภาพถ่ายซึ่งถูกประมูลไปที่ Christie’s ไต้หวันในช่วงฤดูใบไม้ผลิปี 2545 ในระหว่างที่เราพยายามจะแบ่งแยกระหว่างธรรมชาติและจิตสำนึกของมนุษย์ในผลงานชุดนี้ เราก็สัมผัสได้ถึงความรู้สึกอันยากจะอธิบาย มันเป็นความรู้สึกที่สงบนิ่ง เหมือนกับว่าเราได้ถูกตราตรึงในภวังค์แห่งความเกิดขึ้นและตั้งอยู่ของตัวเรา และเมื่อเรามองดูห้วงทะเลแห่งความเงียบสงบ เราก็รู้สึกได้ถึงปลายสุดของหน้าผา คล้ายกับว่าเรากำลังยืนอยู่ตรงจุดขั้นแบ่งระหว่างโลกมนุษย์ และมิติแห่งโลกอันไร้ซึ่งขอบเขต เราสัมผัสได้ถึงความผ่อนคลายอันเกิดขึ้นมาจากการหยุดพักออกจากโลกแห่งความจริงชั่วคราว
“อู่จิ้น” 「無盡」แปลว่า “ไร้ซึ่งกาลเวลา” ในภาษาจีน นี่คือนิยามที่บ่องบอกถึงสถานะปัจจุบันของศิลปินที่ ยังคงเคลื่อนไหวต่อไป ถ่ายรูปต่อไป หยุดเวลาเอาไว้ ข้ามผ่านกาลเวลาและห้วงอากาศ ก้าวข้ามความสวยงาม ยืนอยู่เหนือการเป็นส่วนหนึ่งของโลก
ชื่อนี้ยังได้แรงบันดาลใจมาจากบทหนึ่งใน วิมลกีรติสูตร ในศาสนาพุทธอันกล่าวถึง “แสงอันไร้ซึ่งจุดจบ” ว่า “แสงอันไร้ซึ่งจุดจบนั้น เป็นเหมือนดั่งแสงสว่างนับพัน จงนำเอาแสงสว่างนั้นมาสู่ความมืด และส่องสว่างตราบนับนิรันดร์”
แอดเลอร์ ศุภโชค แกลอรี่ หวังเป็นอย่างยิ่งว่านิทรรศการนี้จะสามารถเป็นดั่งแสงอันส่องสว่างให้แก่จิตใจ ของทุกท่านที่ได้มาร่วมชมนิทรรศการนี้

The brief introduction of Ko Si Chi
Si-Chi Ko, who is an internationally renowned photographer, created his own style since the early 60s. Ko's major work focused in landscape and portrait. He set a milestone of the modern style of photography for Taiwan. Later he moved to New York, where he resided and became an active commercial / fashion photographer. Gradually, Ko doesn't only make his own name as a top photographer in New York; but also he was noted as one of the most talented Asian photographer who was based in New York. Since 1993, Si-Chi Ko has returned and settled down in Taiwan. Today, when people talk about him, they always refer to him as a master of color photography. Nevertheless, he continues contributing his passion and talent to challenge another climax for his career of photographic arts.

Ko Si Chi has crossed over between purely artistic and commercial photography, and his works have been widely collected by major art museums in Taiwan and abroad. A definitive album of Ko's photographs—"Ko Si-Chi”—written in 2005 by the photography critic Herve Le Goff and published by the well-known French publishing company Cercle D'art, has been issued worldwide in French and English versions, adding to the prominence of art photography in Taiwan. Ko consequently was honored with the Executive Yuan's 10th National Arts and Culture Award in 2006. Ko Si Chi relies on his highly refined technical skill and artistic intuition to achieve the perfect fusion of poetry and aesthetics, and his works are suffused with contemporary sentiments and humane concern.

ประวัติ เคอซี่เจี่ย โดยสังเขป
เคอซี่เจี่ย คือศิลปินช่างภาพอันโด่งดัง ผู้ซึ่งได้สร้างสรรค์เอกลักษณ์การทำงานของตัวเอง ตั้งแต่ในยุค 60s ผลงานของเขามุ่งเน้นไปที่ภาพถ่ายทิวทัศน์และบุคคลเป็นส่วนใหญ่ เขาเป็นแบบอย่างที่ถูกนับถือเป็นอย่างมากในวงการภาพถ่ายไต้หวันในปัจจุบัน ในเวลาต่อมาเขาได้ย้ายไปอยู่นิวยอร์ค ที่ซึ่งเขาได้สร้างสรรค์ผลงานภาพถ่ายในวงการแฟชั่น และโฆษณา นอกจากเคอซี่เจี่ยจะเป็นหนึ่งในช่างภาพแถวหน้าของนิวยอร์คแล้ว เขายังถูกขนานนามว่าเป็นหนึ่งในช่างภาพจากเอเซียที่เก่งที่สุดในนิวยอร์คอีกด้วย
เคอซี่เจี่ยย้ายกลับมาอยู่ไต้หวันในปี 2536 และแม้แต่ทุกวันนี้ เมื่อมีใครกล่าวถึงเคอซี่เจี่ย ทุกคนก็ยังคงให้เกียรติเขาในฐานะผู้เชี่ยวชาญทางด้านการถ่ายภาพสี อย่างไรก็ดี ศิลปินไม่เคยหยุดนิ่ง และยังคงทุ่มเทความัต้งใจและพรสวรรค์ไปสู่การขึ้นไปถึงจุดที่สูงยิ่งขึ้นในสายอาชีพนี้

เคอซี่เจี่ยสร้างสรรค์ผลงานทั้งในเชิงวิจิตรศิลป์และผลงานโฆษณา และยังมีนักสะสมมากมายที่คอยเก็บงานของเขา รวมไปถึงพิพิธภัณฑ์ชั้นแนวหน้า ทั้งในไต้หวันและต่างประเทศอีกด้วย
อัลบั้มรวมภาพถ่ายของเขา “Ko Si-Chi” ซึ่งเขียนขึ้นในปี 2548 โดยนักวิจารณ์ภาพถ่าย Herve Le Goff และพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Cercle D’art ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย และถูกจำหน่ายทั่วโลก ในทั้งภาษาฝรั่งเศสและภาษาอังกฤษ ซึ่งทำให้วงการภาพถ่ายในไต้หวัน ถูกยอมรับมากขึ้นในระดับสากล
เคอซี่เจี่ยได้รับรางวัลมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รางวัล Executive Yuan’s 10th National arts and Culture Award ในปี 2549
ปัจจุบัน เคอซี่เจี่ย ยังคงสร้างสรรค์ผลงานผ่านเทคนิคอันละเอียดอ่อนและสัญชาติญาณศิลปิน เพื่อหลอมรวมเป็น บทกวีและสุนทรียศาสตร์ โดยยังคงความทันสมัยและเต็มไปด้วยจิตวิญญาณแห่งความเป็นมนุษย์อย่างเต็มที่

Artist: 
Exhibition date: 
11 Sep 2015 - 11:00 to 18 Oct 2015 - 18:30