นิทรรศการ "การคืนชีพ : Reanimation"
นิทรรศการ "การคืนชีพ : Reanimation" โดย กลุ่มศิลปินนัวโรว์ อาร์ตสเปซ ร่วมกับ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง จัดแสดงระหว่างวันที่ 1 - 31 สิงหาคม 2561 และจะมีพิธีเปิดใน ณ ห้องนิทรรศการพิเศษ ชั้น 2 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี
พิธีเปิดนิทรรศการ
"Reanimation การคืนชีพ" โดย กลุ่มศิลปินนัวโรว์ อาร์ตสเปซ
ร่วมมือกับ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง
จัดแสดง ณ ห้องนิทรรศการพิเศษ ชั้น 2 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานีพิธีเปิดนิทรรศการ : วันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม 2561 เวลา 08.30 – 12.00 น.
เสวนาและอภิปรายงานศิลปิน : วันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม 2561 เวลา 10.00 – 12.00 น.
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติด้านศิลปะ : 17 – 18 สิงหาคม 2561 เวลา 08.30 – 15.00 น.
ระยะเวลานิทรรศการ 1 – 31 สิงหาคม 2561 เวลา 09.00 – 16.00 น.นิทรรศการนี้คือหนึ่งในนิทรรศการของ นัวโรว์อาร์ตสเปซ โดยมีเป้าหมายที่จะตั้งคำถามกับอัตลักษณ์ของ อุดรธานี ผ่านการสำรวจรูปแบบต่างๆ ความเป็นตัวตนของอุดรธานีได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง จากอิทธิพลทั้งภายในและภายนอก
ซึ่งหนึ่งในอัตลักษณ์ดังกล่าวที่ซึ่งมีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันดี คงไม่ผิดถ้าจะขอกล่าวว่าคงจะไม่มีใครไม่รู้จัก แหล่งมรดกโลกบ้านเชียง ที่ซึ่ง มีความสำคัญอย่างมากในเรื่องงานโบราณคดี วัฒนธรรมและเครื่องปั้นดินเผายุคก่อนประวัติศาสตร์ ที่ซึ่งถูกค้นพบในช่วงต้นยุค 60s ซึ่งการขุดค้นอย่างเป็นทางการไม่ได้เกิดขึ้นทันทีในปีนั้น แต่เกิดในปี พ.ศ. 2515 โดยกรมศิลปากรและมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย อย่างไรก็ตาม ตัวบ้านเชียงก็หลีกหนีไม่พ้นที่จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและเป็นเรื่องเป็นราว อาจเป็นเพราะ การท่องเที่ยว, ตลาดสินค้า, เศรษกิจ และ การพัฒนาเมือง ของจังหวัดนิทรรศการ การคืนชีพ ชวนเชิญผู้ชมไปค้นหา การเปลี่ยนแปลงของอัตลักษณ์ดังกล่าว ผ่านมุมมองศิลปะ หลากหลายเทคนิค ดังเช่น จิตรกรรม, ภาพพิมพ์, ประติมากรรม, วีดีโอ และ สื่อผสม จากศิลปินทั้ง 8 ท่าน ซึ่งได้แก่
อัมรินทร์ บุพศิริ, ปณชัย ชัยจิรรัตน์, ตฤณภัทร ชัยสิทธิศักดิ์, ธิดารัตน์ ชุ่มจังหรีด, ประวีณ เปียงชมภู, สันติ สีดาราช, จิรวัฒน์ เอื้อสังคมเศรษฐ์ และ ปุญญิศา ศิลปรัศมีนอกจากนิทรรศการศิลปะร่วมสมัยจากศิลปินทั้ง 8 ท่านแล้ว ทางกลุ่มนัวโรว์ยังมีกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ( Workshop ) การทำเครื่องปั้นดินเผา ผ่าน 2 สาขาความรู้และวัฒนธรรมจาก 2 วิทยากร ได้แก่ ศิลปินชาวญี่ปุ่น เอริกะ ฟูจิวาระ ผู้มีประสบการณ์ และเชี่ยวชาญในงานเซรามิก และคุณป้าวงเดือน ชมภู เป็นช่างปั้นเครื่องปั้นดินเผาท้องถิ่น จากบ้านคำอ้อ โดยจะจัดกิจกรรมภาคปฏิบัติให้กับนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป โดยกิจกรรมทั้ง 2 รอบ จะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 17 - 18 สิงหาคม และผลลัพธ์จากกิจกรรมนี้ จะถูกคัดเลือกนำไปจัดแสดงต่อในเดือนกันยายน โดย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง
(จะมีการเปิดให้ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม workshop ฟรี :โปรดติดตามโพสของเพจเรา)REANIMATION : Exhibition and Workshops by NOIR ROW ART SPACE
Collaborating with Ban Chiang National Museum
Displaying at the museum exhibition galleryExhibition : 01 – 31 August 2018 Time : 09.00 - 16.00
Opening event : 04 August 2018 Time : 08.30 – 12.00
Artist talk : 04 August 2018 Time : 10.00 – 12.00
Workshop : 17 & 18 August 2018 Time : 08.30 - 15.00This is one of Noir Row Art Space Exhibitions which aims to question identities of Udon Thani. Through various form of observations, the character of Udon Thani has been changing with times by the influence of so many factors internally and externally.
One of the city well-known identities is Ban Chiang the world heritage site which acknowledged for its archaeological significance, pre-historic culture and pottery. The site was first discovered in the early 1960s while a professional excavation took place later in 1972 officially. Nonetheless, the Ban Chiang itself has been changing dramatically as a community because of the tourism sector, the market demands, city economy and its urbanization.
REANIMATION Exhibition is exploring these Ban Chiang changing identities through art approach ranging from painting , print-making , sculpture , video and mixed media. Participant artists are as follow Amarin Buppasiri, Panachai Chaijirarat, Trinnapat Chaisitthisak, Thidarat Chumjungreed, Praween Piangchoompu, Santi Seedarach, Jirawut Ueasungkomsate and Punyisa SinraparatsameeIn additional of showing art works, we are arranging 2 pottery workshops: The first one by Wongduen Chompoo a local potter with her expertise in using paddle and clay anvil as Ban Chiang traditional technique. The second one by Miss Erika Fujiwara ,a Japanese potter with professional and extensive experiences and skills in ceramic art. Both workshops are open to the public which will occur on 17 & 18 August 2018 respectively. Works produced from these workshops will be chosen to exhibit in September by the museum.
(Workshop Registration : to be announced in our page)